‘Carbon Footprint Organization’ กับการขับเคลื่อนสู่ ‘Corporate Sustainability’
‘Corporate Sustainability‘ หรือ ‘ความยั่งยืนในระดับองค์กร‘ คือแนวคิดในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากแนวคิดของการลดทรัพยากรที่เกินจำเป็นแล้ว ยังรวมถึงการลงทุนในนวัตกรรมที่ช่วยสร้างระบบการทำงานให้มีประสิทธภาพ หรือการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่ทำให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก เพื่อเป็นการวางรากฐานสำคัญในสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรในระยะยาว ซึ่งการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืนนั้น ต้องเริ่มต้นจากการลดรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) หรือก็คือการลดปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ (เช่น ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ หรือก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน) ที่สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งถูกปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ (ตามข้อกำหนด ISO 14040) ตลอดช่วงวัฏจักรชีวิต ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงการทำลาย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) และนำไปสู่ภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ในปัจจุบัน
ซึ่งหลากหลายองค์กรจากทั่วโลก ต้องมีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับ Carbon Footprint สำหรับองค์กร ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และหนึ่งในข้อกำหนดที่ได้รับการยอมรับอย่างสากล ก็คือ ‘Carbon Footprint Organization (CFO)‘
การประเมิน Carbon Footprint กับพันธกิจใหม่ขององค์กร
ซึ่งก็คือการประเมินผลและติดตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในกิจกรรมทั้งหมดขององค์กร เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้า เชื้อเพลิงฟอสซิล การขนส่ง และกระบวนการผลิต รวมถึงกระบวนการทางอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยการวัดค่า Carbon Footprint สามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับประเภทของกิจกรรมหรือกระบวนการที่ต้องการประเมิน ตัวอย่างเช่น การใช้อุปกรณ์ในการวัดค่าปริมาณก๊าซคาร์บอนที่ปล่อยออกมาโดยตรง การคำนวณค่าคาร์บอนตามกิจกรรม อย่างการขนส่ง การใช้พลังงาน หรือการบริโภคอาหาร การใช้แบบจำลองทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลจากการวิจัย เพื่อประเมินการปล่อยก๊าซและผลกระทบที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ยังใช้การวิเคราะห์วงจรชีวิต (Life Cycle Assessment) ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอน กับอุตสาหกรรมก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 40% ของการปล่อยทั้งหมด ซึ่งทาง FAMELINE เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ตกแต่งอาคาร และการออกแบบทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำจากอะลูมิเนียม ไม่ว่าจะเป็น แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต ฝ้าเพดานอลูมิเนียม หรือแผงบังแดด/ระแนงอลูมิเนียม ก็ได้มีการปรับเปลี่ยน พันธกิจขององค์กร (Mission): “FAMELINE เกิดมาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ตกแต่งอาคาร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และทำให้โลกน่าอยู่ยิ่งขึ้น”
ซึ่งสอดคล้องไปกับ วิสัยทัศน์ (Vision) หรือเป้าหมายในระยะยาวขององค์กร คือ “เป็นที่ยอมรับในระดับสากลในฐานะผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ตกแต่งอาคารที่มีนวัตกรรม สวยงาม ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย และสร้างความยั่งยืนให้กับโลกใบนี้” โดยแนวทางที่จะก้าวไปสู่จุดหมายนี้ได้แก่ การสร้างนวัตกรรมที่นำสมัยในระดับสากล เพื่อผลิตสินค้าที่มีความสวยงามและตอบสนองต่อการใช้งานได้ดีกว่าของเดิม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งในขั้นตอนการคัดสรรวัตถุดิบ และกระบวนการผลิตที่ต้องไม่สร้างมลภาวะเพิ่มเติม มีการปรับปรุงรูปแบบของการทำงาน เพื่อเพิ่มความสามารถของคนในองค์กรไปสู่ระดับสากล และให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของลูกค้าอยู่เสมอ
ซึ่งจากแนวทางดังกล่าว สอดคล้องไปกับหลักการของ Carbon Footprint Organization ในการอนุรักษ์ทรัพยากรและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างนวัตกรรมใหม่ของวัสดุก่อสร้าง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้งานอาคาร และสนับสนุนแนวคิดของความยั่งยืนทางสถาปัตยกรรม
ตัวอย่างเช่น กระบวนการผลิตวัสดุ Aluminium Honeycomb Panel (AHP) ที่มีลักษณะเป็นแผ่นอลูมิเนียมประกบเข้ากับไส้กลางแบบรังผึ้ง ทำให้ตัวแผ่นมีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายด้วยระบบสำเร็จรูป มีการเคลือบสีที่ได้มาตรฐาน ทำให้ผิวของแผ่นมีความเรียบเนียนสม่ำเสมอ มีการบำรุงรักษาต่ำและมีอายุการใช้งานยาวนาน ซึ่งวัสดุอลูมิเนียมนั้นสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ทำให้ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ตลอดวงจรชีวิตของการใช้งาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ Corporate Sustainability
ความยั่งยืนในทุกมิติขององค์กร
ซึ่งแนวคิดของ องค์กรที่ยั่งยืน (Corporate Sustainability) ต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ก็คือ การบริหารจัดการทรัพยากรทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการจัดการเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Economic Sustainability) เพื่อสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว ผ่านวิธีการลดการพึ่งพาทรัพยากร ที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างนวัตกรรมให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด สร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Sustainability) โดยการสนับสนุนคุณภาพชีวิตของพนักงาน ชุมชน คู่ค้า และผู้มีส่วนร่วมกับองค์กร เช่น การส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ผ่านการออกแบบพื้นที่สำนักงานที่ใส่ใจกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ เพื่อลดการใช้พลังงานในอาคาร หรือการกำหนดรูปแบบในการทำงานเป็น ‘อยู่ที่ไหนก็ทำงานได้’ (Work from Anywhere) เพื่อความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในการทำงาน รวมถึงเป็นประโยชน์ทางอ้อม ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการเดินทาง ส่วนเรื่องของการปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) ก็แสดงออกอย่างชัดเจนผ่านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่สามารถนำไปสู่การออกแบบสถาปัตยกรรมที่ช่วยลดการใช้พลังงานของอาคารลงได้
ตัวอย่างเช่น วัสดุ PV GLASS หรือแผ่นกระจกผลิตพลังงานได้ ที่ใช้งานเป็นผนังกระจกของอาคาร หรือนำไปตกแต่งพื้นที่ส่วน Skylight กันสาด หรือหลังคาจอดรถ ที่สามาถออกแบบรูปร่าง สี ขนาด ความหนา และความโปร่งแสงได้ตามความต้องการ เป็นการลดต้นทุนด้านการใช้พลังงานของอาคารได้ในระยะยาว
ซึ่งการบริหารความยั่งยืนต้องสามารถจัดการกับปัจจัยทั้ง 3 ด้านนี้ เพื่อให้เกิดความสมดุล และสามารถตอบสนองต่อความต้องการขององค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
ร่วมกันสร้างอนาคตที่ยั่งยืน เพื่อโลกที่ดีกว่า
ซึ่งการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วม ในการรับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง โดยเริ่มต้นจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างการปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้พลังงานหมุนเวียน หรือลดขั้นตอนของการทำงานบางอย่างลง เพื่อลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ร่วมกันทำให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานของสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกันกับความใส่ใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของวัสดุตกแต่งอาคาร ที่จะเป็นรากฐานของอนาคตที่ยั่งยืนกว่า และน่าอยู่ยิ่งขึ้นสำหรับคนรุ่นต่อไป ตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ของ FAMELINE
สามารถติดตามช่องทางอื่นๆ ได้ที่นี่:
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง