‘Circular Economy in Architecture’ แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนโลกสถาปัตยกรรมให้ยั่งยืน

‘เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)’ เป็นแนวคิดทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการลดของเสีย และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการออกแบบระบบที่สามารถนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งเน้นที่จะ ’ลดขยะ’ ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตและติดตั้ง และการวางแผนเพื่อนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลให้ง่ายขึ้น โดยมีสาเหตุหลักมาจากปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ที่เพิ่มมากขึ้นจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม การขนส่งและการเดินทาง โดยเฉพาะกับกระบวนการผลิตวัสดุและการก่อสร้างอาคาร (ที่มีสัดส่วนมากที่สุดประมาณ 40%) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศทั่วโลก รวมไปถึงปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาขยะล้นโลก ปัญหาเรื่องทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังเข้าสู่ภาวะขาดแคลน และปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตามราคาของวัตถุดิบและพลังงาน

ทำให้หลายหน่วยงานจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ต้องร่วมมือกันวางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต ใช้พลังงานหมุนเวียน มีการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด ในขณะเดียวกัน ก็ต้องเพิ่มมูลค่าและความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ร่วมไปกับการเร่งฟื้นฟูระบบนิเวศ เพื่อเพิ่มความสมดุลให้กับทรัพยากรอีกครั้ง

Circular Economy Model

เศรษฐกิจหมุนเวียนกับสถาปัตยกรรม: ทางออกใหม่เพื่อการออกแบบที่ยั่งยืน:

ทำให้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ถูกมาใช้ในบริบทของการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ซึ่งหมายถึงการออกแบบอาคารที่สามารถปรับเปลี่ยน ฟื้นฟู และนำวัสดุก่อสร้างกลับมาใช้งานใหม่ได้ โดยการใช้วัสดุที่ยั่งยืนและการออกแบบที่คำนึงถึงวงจรชีวิตของอาคารทั้งหมดเป็นหลัก ซึ่งแนวคิดนี้จะช่วยให้อาคารและเมืองในอนาคตมีความสมดุล ระหว่างการใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับผู้ใช้งานมากขึ้นด้วย โดยมีหลักแนวคิดสำคัญ คือ

  1. Reduce: ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้เหลือน้อยที่สุด — ลดปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการก่อสร้าง ลดพลังงานที่ใช้ในอาคาร และลดของเสียที่เกิดขึ้นตลอดอายุการใช้งานของอาคาร เช่น
    • การเลือกวัสดุที่แข็งแรงทนทานในปริมาณการผลิตที่น้อยลง (วัสดุผืนใหญ่)
    • การออกแบบอาคารให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Passive Design) อย่างการใช้แสงธรรมชาติเพื่อลดการใช้ไฟฟ้า
    • การออกแบบผนังอาคารชั้นที่สอง (Double Skin Façade) เพื่อสร้างระบบระบายอากาศตามธรรมชาติ
    • การใช้กระบวนการก่อสร้างที่ลดของเสีย อย่างระบบก่อสร้างแบบโมดูล (Modular Construction) ที่ผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปจากโรงงานเพื่อลดเศษวัสดุเหลือใช้ที่หน้างาน
  2. Reuse: การนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ แทนการทิ้งวัสดุเก่าหลังการใช้งาน โดยมีการปรับเปลี่ยนหรือใช้ซ้ำในโครงการใหม่เพื่อลดของเสียจากการก่อสร้าง เช่น
    • การออกแบบอาคารหรือการเลือกใช้วัสดุให้สามารถถอดประกอบได้ (Design for Disassembly) อย่างโครงสร้างเหล็กแบบน็อคดาวน์
    • การนำวัสดุจากอาคารเก่ามาใช้กับพื้นที่ใหม่ อย่างการใช้อิฐเก่าจากการรื้อถอน หรือใช้ไม้เก่าจากโครงสร้างอาคารเดิมมาตัดแต่งใหม่
  3. Recycle: การนำวัสดุที่หมดอายุการใช้งานแล้ว มาแปรรูปเป็นวัตถุดิบใหม่ เพื่อทดแทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสามารถนำวัสดุนั้นกลับมาใช้งานใหม่ได้ เช่น
    • การเลือกใช้วัสดุอลูมิเนียมรีไซเคิล หรือกระจกรีไซเคิล
    • การเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนจากเส้นใยธรรมชาติ หรือพลาสติกชีวภาพ ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้โดยไม่สูญเสียคุณสมบัติเดิม เพื่อช่วยทรัพยากรและพลังงานในกระบวนการผลิตใหม่
FAMELINE: Aluminium Honeycomb Panel (AHP)
FAMELINE: Terratex (Terracotta)

FAMELINE กับภารกิจสร้างสรรค์วัสดุที่เป็นมิตรต่อโลก และตอบโจทย์การใช้งาน:

โดยแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของ FAMELINE ที่สอดคล้องไปกับวิสัยทัศน์ (Vision) คือ “เป็นที่ยอมรับในระดับสากลในฐานะผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ตกแต่งอาคารที่มีนวัตกรรม สวยงาม ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย และสร้างความยั่งยืนให้กับโลกใบนี้”

โดยการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ตอบสนองต่อทั้งความสวยงามและการใช้งาน เพื่อนำไปสู่สถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน ตัวอย่างเช่น

  • การออกแบบวัสดุให้มีความทนทาน และมีอายุการใช้งานยาวนาน – วัสดุที่ผลิตจากอลูมิเนียม อย่างวัสดุ Aluminium Composite Panel (ACP), Aluminium Honeycomb Panel (AHP), ฝ้าอลูมิเนียม (Aluminium Ceiling), แผงบานเกล็ดระบายอากาศหรือระแนงบังแดดอลูมิเนียม (Aluminium Sun and Ventilation Louver) ที่สามารถเลือกนำไปใช้ตกแต่งอาคารได้ทั้งภายนอกและภายใน นอกจากนี้อลูมิเนียมยังเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้อีกด้วย
  • การเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ – แผ่นกระเบื้องดินเผา Terratex ที่ผลิตจากดินเหนียวธรรมชาติ 100% ทำให้ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 100 ปี โดยใช้การบำรุงรักษาเพียงเล็กน้อย มีการติดตั้งด้วยระบบคลิปล็อคที่ช่วยให้ผนังระบายอากาศได้ดี มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสภาพแวดล้อมโดยรอบ
  • การเลือกใช้วัสดุที่สามารถใช้ทดแทนวัสดุไม้จริง เพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ – WPC Surface ที่ผลิตจาก PVC สังเคราะห์ผสมกับเยื่อไม้ไผ่ (Bamboo Fiber) ที่มีลวดลายสวยงามเสมือนไม้จริง มีความทนทานต่อความชื้นและกันไฟลามได้ดี
  • การเลือกใช้วัสดุนวัตกรรมที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้Photovoltaic Glass (PV Glass) หรือแผ่นกระจกโซลาร์เซลล์ใสตกแต่งอาคาร ที่สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อผลิตเป็นพลังงานสะอาดที่กลับนำมาใช้งานในอาคาร และสามารถออกแบบรูปทรง สีสัน ขนาด ความหนา และความโปร่งแสงได้ตามมาตรฐานกระจกทั่วไป
FAMELINE: WPC Surface Ceiling
FAMELINE: PV Glass

แนวคิดเพื่ออนาคต: เมื่อสถาปัตยกรรมกลายเป็นจุดเริ่มของความยั่งยืน:

นอกจากนี้ ก็ยังมีแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียนอื่นๆ ที่นำไปสู่สถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนได้ ตัวอย่างเช่น แนวคิดแบบ Cradle-to-Cradle (C2C) ที่เป็นการออกแบบและการผลิต โดยใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไม่มีวันหมดอายุหรือไม่มีของเสียเหลือทิ้งเลย หรือแนวคิดแบบ Pay-Per-Lux คือโมเดลบริการระบบแสงสว่างที่คิดค่าใช้จ่ายตามปริมาณแสง (lux) ที่ใช้งานจริง แทนการซื้ออุปกรณ์ส่องสว่างแบบเดิม ช่วยคำนวนต้นทุนการใช้พลังงาน และลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ลงได้ หรืออาคารสำนักงานที่ออกแบบให้ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building) ผ่านการใช้พลังงานหมุนเวียนแบบ 100% ร่วมกับระบบกักเก็บน้ำฝนและการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งจะเห็นได้ว่า สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคาร

รวมถึงการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม ล้วนมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ FAMELINE ทั้งการเลือกใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ในการผลิตวัสดุที่มีความคงทนสูง และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มีระบบการผลิตที่สำเร็จรูปมาจากโรงงาน เพื่อช่วยลดของเสียที่หน้างาน และคำนึงถึงการใช้พลังงานที่ลดน้อยลง ตลอดอายุการใช้งานของวัสดุ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ที่ไม่เพียงแค่เสริมภาพลักษณ์ด้านความสวยงาม แต่ยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้โลกน่าอยู่ยิ่งขึ้น เพิ่มคุณภาพให้กับสังคมและผู้คนให้ยั่งยืนได้ในระยะยาว

FAMELINE: Sustainable Strategies

แหล่งอ้างอิง:

  • https://www.mainer.co.uk/latest-news-1/architects-and-circular-economy
  • https://medium.com/@archibiotik/circular-economy-in-architecture-297cb62551d
  • https://mellowdesigns.dk/sustainable-architecture-and-circular-economy/

สามารถดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่นี่:

สามารถติดตามช่องทางอื่นๆ ได้ที่นี่:


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า