เทรนด์วัสดุตกแต่งอาคาร ในปี 2025 ‘เบาแต่ทน ปรับเปลี่ยนได้ และต้องยั่งยืนขั้นสุด’

ในช่วงปี 2-3 ปีที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของวัสดุตกแต่งอาคารขึ้นมากมาย ทั้งรูปลักษณ์ที่ทันสมัยและมีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อความยืดหยุ่นในการออกแบบ แนวโน้มของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้งาน เพื่อตอบโจทย์จุดประสงค์ของการใช้งานที่แตกต่างกันในพื้นที่เดียว หรือแนวคิดของวัสดุรักษโลก ที่ส่งเสริมต่อสถาปัตยกรรมสีเขียว ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต (หลังช่วงโรคระบาด) และต้องสามารถใช้งานได้กับสภาพอากาศที่รุนแรงได้ ทำให้อุตสาหกรรมวัสดุตกแต่งต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว ในยุคที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นวาระเร่งด่วน วัสดุธรรมชาติอย่าง ไม้ ดินเหนียว วัสดุรีไซเคิล หรือวัสดุชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ จึงถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบแนวทางใหม่ๆ ของการใช้งาน เพื่อให้วัสดุตกแต่งสามารถนำกลับมาใช้งานซ้ำ หรือมีการบำรุงรักษาและปรับปรุงเพียงเล็กน้อย เพื่อช่วยลดการสร้างขยะและทรัพยากรที่เกินจำเป็น การหมุนเวียนทรัพยากร

ซึ่งข้อมูลจากเว็บไซต์ Statista ระบุว่าตลาดของวัสดุรีไซเคิลในอุตสาหกรรมก่อสร้างทั่วโลก มีมูลค่ากว่า 26.5 พันล้านดอลลาร์ และมีโอกาสจะเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ย 5.6% ต่อปี จนถึงปี 2030 ทำให้แนวโน้มของวัสดุตกแต่งอาคารในปี 2025 ก็จะสะท้อนถึงแนวคิดของโลกที่ต้องการความสมดุล ระหว่างการใช้ชีวิตของมนุษย์และการรักษาสิ่งแวดล้อม

วัสดุที่ยั่งยืนขั้นสุด (Sustainable Materials):

การเลือกใช้งานวัสดุรีไซเคิล เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการที่นำไปสู่การออกแบบที่ยั่งยืนขั้นสุด (Advanced Sustainable Design) ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ การออกแบบตกแต่งภายใน หรือการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ที่มีผลกระทบอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศของโลก ทำให้ต้องมีองค์ประกอบของวัสดุที่ยั่งยืนเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งคำว่า ‘ยั่งยืน’ ไม่ได้หมายถึงการเป็นแค่วัสดุรีไซเคิลเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นวัสดุที่ลดการปล่อยคาร์บอนในบรรยากาศ ช่วยลดทรัพยากร ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดการใช้พลังงาน โดยที่ยังตอบสนองต่อการใช้งานของอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออาจมีการเพิ่มคุณสมบัติของการผลิตพลังงานเข้ามาด้วย

อย่างวัสดุแผ่นกระจกโซลาร์เซลล์ PV Glass (Photovoltaic Glass) จาก FAMELINE ที่มีการใช้เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ฝังอยู่ภายในตัวแผ่นกระจก เพื่อทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีลักษณะการทั้งรูปแบบ Cadmium Telluride PV Glass (CdTe) ที่ใช้งานเป็นผนังกระจกของอาคาร และรูปแบบ Mono Crystalline PV Glass ที่ใช้งานในพื้นที่ส่วน Skylight หรือหลังคาจอดรถ ซึ่งทั้งสองรูปแบบสามารถใช้งานได้เทียบเท่ากับคุณสมบัติของกระจกทั่วไป ที่สามาถสร้างสรรค์รูปร่าง สีสัน ความหนา และความโปร่งแสงได้ตามความต้องการของพื้นที่ใช้งาน ซึ่งตอบโจทยวัสดุที่ยั่งยืนขั้นสุด ทั้งการผลิตพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ ช่วยประหยัดพื้นที่โดยที่ไม่ต้องมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพิ่มเติม ช่วยลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคารตามคุณสมบัติของกระจก และสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ประมาณ 90% ช่วยลดปริมาณขยะทั้งในกระบวนการก่อสร้างและการรื้อถอน

FAMELINE Cadmium Telluride PV Glass (CdTe)

วัสดุอัจฉริยะที่ปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อม (Smart & Responsive Materials):

การผสมผสานกับเทคโนโลยีกับวัสดุตกแต่ง เป็นทางเลือกที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งาน และเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานของอาคารโดยรวม ซึ่งจะเรียกวัสดุกลุ่มนี้ว่า วัสดุที่มีคุณสมบัติอัจฉริยะ และตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อม (Smart & Responsive Materials) หมายถึง วัสดุที่สามารถปรับเปลี่ยนคุณสมบัติหรือการทำงานของตัวเอง เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่างๆ ได้แบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องใช้แรงจากภายนอกมากระทำ ซึ่งวัสดุเหล่านี้ถูกพัฒนาให้มีคุณสมบัติพิเศษ ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ประหยัดพลังงาน และตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลาย นับเป็นวัสดุที่เป็นอนาคตของอุตสาหกรรมก่อสร้างและการออกแบบ เพราะช่วยให้ชีวิตของผู้ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมความยั่งยืนในระยะยาว

ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีกระจกเปลี่ยนสีได้อัตโนมัติเมื่อเจอแสงแดดที่รุนแรง (Smart Glass) และวัสดุเซ็นเซอร์ (Sensor-Based Materials) ที่ใช้งานร่วมกับระบบไฟส่องสว่างและระบบปรับอากาศ เพื่อปรับอุณหภูมิและแสงได้ตามสภาพแวดล้อม

หรือวัสดุที่ช่วยปกป้องผิวอาคารอย่างแผงกันแดดชนิดปรับมุมได้ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ผลิตจากอลูมิเนียมอัลลอยด์ชนิดฉีดขึ้นรูป (Extruded Aluminium) จาก FAMELINE เป็นลักษณะบานพับอัตโนมัติ มีให้เลือกทั้งรูปแบบแนวนอน รุ่น Folding Shutter ที่ใช้สำหรับงานผนังและแผงบังแดด สามารถปรับมุมของแผ่นได้โดยการพับแบบสองทบ หรือเลือกใช้งานเป็นบานพับแบบแนวตั้ง อย่างรุ่น Bi-Folding ซึ่งทั้งสองรุ่นใช้ระบบมอเตอร์ไฟฟ้าที่ควบคุมการทำงานได้ผ่านแอพพลิเคชั่น ช่วยปกป้องพื้นที่ภายในจากความร้อน เสียงรบกวน และความชื้น หรือเปิดออกเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศตามธรรมชาติ ช่วยลดการพึ่งพาระบบพลังงานปรับอากาศ ทำให้รูปแบบของสถาปัตยกรรม สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการของผู้ใช้งานได้ดีกว่า

FAMELINE Folding Shutter
FAMELINE Bi-Folding

วัสดุน้ำหนักเบาแต่ทนทาน (Lightweight Materials):

วัสดุตกแต่งที่น้ำหนักเบากว่า ย่อมช่วยลดภาระโครงสร้างและเพิ่มความหลากหลายในการออกแบบได้มากกว่า ซึ่งวัสดุเหล่านี้ตอบโจทย์อาคารยุคใหม่ที่ต้องการความยืดหยุ่นทางการออกแบบ ตามข้อมูลจาก International Energy Agency (IEA) ชี้ให้เห็นว่า อาคารที่ใช้วัสดุที่น้ำหนักเบา สามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 25% เมื่อเทียบกับวัสดุทั่วไป

ตัวอย่างเช่น การใช้งานวัสดุ Aluminium Honeycomb Panel หรือ AHP จาก FAMELINE ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของวัสดุตกแต่ง ที่กำลังถูกใช้งานมากขึ้นในระดับสากล ด้วยลักษณะของแผ่นอลูมิเนียมประกบกับไส้กลางแบบรังผึ้ง (Honeycomb) ทำให้มีการกระจายน้ำหนักได้อย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น มีความทนทานต่อการโค้งงอ แรงบิด และแรงอัด สามารถดูดซับพลังงานและกระจายแรงกระแทกได้ดี มีความทนทานในระยะยาว ออกแบบแผ่นได้ยาวสูงสุดถึง 6 เมตร ด้วยน้ำหนักเพียง 4.1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ช่วยสร้างสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้งาน ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัยจากยุโรป EN 13501-1 ที่มีคุณสมบัติกันไฟลาม (Fire Rating) ในระดับ Class A2 ที่จะมีการคายความร้อน ในอุณหภูมิการเผาไหม้ที่ต่ำกว่า และไฟจะดับทันทีหากไฟต้นเพลิงหมด มีความทนทานด้วยอลูมิเนียมเกรด Series 3000 รับน้ำหนักต่อแรงกดได้โดยตรง และยังทนต่อแรงลมและสภาพอากาศที่หลากหลายได้ดี ติดตั้งด้วยระบบแห้งร่วมกับโครงเหล็กหรือโครงอลูมิเนียม ส่งเสริมแนวคิดของการก่อสร้างแบบก่อสร้างแบบสำเร็จรูป (Prefabricated Construction) ที่ทำให้การก่อสร้างมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า ลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรและต้นทุนแรงงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ วัสดุอลูมิเนียมยังสามารถรีไซเคิลได้แบบ 100% และไม่มีส่วนประกอบของกัมมันตภาพรังสีหรือสารระเหย มีแนวคิดของการออกแบบที่ช่วยประหยัดพลังงาน จากคุณสมบัติการเป็นฉนวนที่ดีจากช่องว่างระหว่างแผ่นของโครงสร้างแบบรังผึ้ง ทำหน้าที่ช่วยดูดซับเสียงและป้องกันความร้อนให้กับอาคาร ซึ่งนอกจากช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ยังช่วยสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้งานอาคารได้ในระยะยาว

FAMELINE Aluminium Honeycomb Panel

เทรนด์วัสดุตกแต่งแห่งอนาคต: สมดุลระหว่างดีไซน์และความยั่งยืน:

ในภาพรวม เทรนด์วัสดุตกแต่งอาคารในปี 2025 ไม่เพียงสะท้อนถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม แต่ยังเน้นถึงความสำคัญของการรักษาสมดุลระหว่างการพัฒนาสิ่งปลูกสร้างกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม วัสดุอย่าง Sustainable Materials, Smart & Responsive Materials และ Lightweight Materials ล้วนแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการผสานประสิทธิภาพ ฟังก์ชันการใช้งาน และความยั่งยืนเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งไม่เพียงตอบโจทย์การออกแบบอาคารในยุคปัจจุบัน แต่ยังเป็นการวางรากฐานสำหรับอนาคตที่มนุษย์และสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมในวันนี้ คือการลงทุนที่คุ้มค่าและมีผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและโลกใบนี้ในระยะยาว

สามารถดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่นี่:

Aluminium Honeycomb Panel (AHP): https://online.anyflip.com/wbgdd/lkss/

PV Glass: https://online.anyflip.com/wbgdd/plls/

Smart Moveable: https://online.anyflip.com/wbgdd/dqlz/

สามารถติดตามช่องทางอื่นๆ ได้ที่นี่:


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า