‘ฝ้าดูดซับเสียง’ ตัวช่วยสำคัญในการลดมลภาวะทางเสียงภายในอาคาร
‘ปัญหามลพิษทางเสียงภายในอาคาร’ นั้น มีความกระจัดกระจายและควบคุมได้ยากกว่า ปัญหามลพิษทางเสียงจากภายนอกอาคาร ซึ่งหมายถึงเมื่อเราต้องสัมผัสกับเสียงเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ก็จะสร้างความเป็นอยู่ที่ยากลำบากมากขึ้น และอาจเกิดส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ในระยะยาวได้ ตัวอย่างเช่น ปัญหาเสียงรบกวนจากเพื่อนบ้านที่ทะลุผ่านผนังที่อยู่ติดกัน ปัญหาของเสียงพูดคุย เสียงโทรศัพท์ หรือเสียงพิมพ์คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน หรือการกระจายของเสียงที่ดังจนเกินไปในห้องโถงขนาดใหญ่ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาในด้านการสื่อสารผิดความหมายได้ ซึ่งไม่ว่าแหล่งกำเนิดเสียงจะมาจากมนุษย์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ในอาคาร ต่างก็มีส่วนทำให้เกิดมลพิษทางเสียงภายในอาคารได้ เมื่อมีระดับของเสียงตั้งแต่ 50 ถึง 90 เดซิเบล (dB)
ซึ่งจากการศึกษาวิจัยของ องค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ‘ชาวยุโรปเกือบ 40% มักได้รับเสียงภายในอาคารเกิน 55 เดซิเบล ซึ่งเป็นระดับที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้’ เช่น รบกวนการนอนหลับ ระดับความเครียดที่สูงขึ้น และประสิทธิภาพการทำงานของสมองที่ลดลง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น อย่างอาคารอยู่อาศัยรวม สำนักงาน โรงแรม โรงเรียน หรือสนามบิน ซึ่งแม้เราจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงเสียงรบกวนนั้นได้ แต่ก็สามารถออกแบบองค์ประกอบบางอย่างในอาคาร เพื่อช่วยลดมลภาวะทางเสียงลงไปได้
นอกจากเสียงดังรบกวนที่เกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลาแล้ว อีกปัญหาหนึ่งก็คือการเกิด ‘เสียงสะท้อน’ กับพื้นที่ภายในอาคาร ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเสียงภายในห้องที่เดินทางไปทุกทิศทาง จนไปกระทบกับพื้นผิวต่างๆ เช่น พื้น ผนัง ฝ้าเพดาน และสะท้อนกลับเข้ามาในห้องอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าแหล่งกำเนิดเสียงเดิมจะหยุดลงแล้ว ซึ่งกระบวนการนี้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าพลังงานเสียงจะถูกดูดซับหรือกระจายออกไปด้านนอกในที่สุด
โดยปริมาณและลักษณะของการสะท้อน จะขึ้นอยู่กับวัสดุตกกระทบและรูปทรงของห้อง อย่างภายในห้องที่มีพื้นผิวแข็ง เช่น คอนกรีต กระจก หรือกระเบื้อง ที่คลื่นเสียงจะสามารถสะท้อนไปมาได้หลายครั้ง ทำให้เกิดเสียงสะท้อนหรือเสียงก้องเป็นเวลานาน ในทางกลับกันถ้าเป็นภายในห้องที่มีวัสดุพื้นผิวอ่อนนุ่ม และดูดซับได้ดี เช่น พรม ผ้าม่าน หรือเฟอร์นิเจอร์บุด้วยเบาะ คลื่นเสียงก็จะถูกดูดซับได้เร็วขึ้น ทำให้เสียงสะท้อนลดน้อยลง
ซึ่ง การสะท้อนเสียงนั้นมีผลกระทบอย่างมาก ต่อคุณภาพของเสียงภายในห้อง ที่อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการสื่อสาร ในสภาพแวดล้อมอย่างห้องเรียน ร้านอาหาร หรือสำนักงาน ซึ่งอาจทำให้สมาธิลดน้อยลง เพิ่มความตึงเครียดมากขึ้น สร้างผลกระทบเชิงลบต่อการเรียนรู้ หรืออาจลดถอนประสบการณ์ในการทำกิจกรรมต่างๆ ลงไปได้
โดยพื้นที่ที่นักออกแบบควรให้ความสำคัญมากที่สุด ก็คือ ‘ฝ้าเพดาน’ ซึ่งเป็นบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากเสียงมากที่สุดในห้อง เนื่องจากคลื่นเสียงจะเดินทางขึ้นไปด้านบนตามธรรมชาติ และสะท้อนกลับมาจากเพดาน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นพื้นผิวแข็งขนาดใหญ่ที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง แตกต่างจากผนังที่อาจมีหน้าต่าง ประตู หรือช่องเปิดต่างๆ ที่สามารถกระจายการส่งผ่านของคลื่นเสียงออกไปได้ นั่นทำให้ฝ้าเพดานมักจะเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดการสะท้อนเสียงที่สม่ำเสมอมากขึ้น ซึ่งปัญหานี้จะมีมากขึ้นในห้องที่มีฝ้าเพดานสูง เนื่องจากเสียงสามารถเดินทางได้ไกลขึ้น ส่งผลให้เกิดเสียงสะท้อนที่ชัดเจนและยาวนานมากขึ้น
จากการศึกษาวิจัยของ National Research Council of Canada พบว่าการติดฝ้าเพดานด้วยวัสดุดูดซับเสียง สามารถลดระยะเวลาการสะท้อนเสียงได้มากถึง 50% ในบางพื้นที่ ตัวอย่างเช่น ในสำนักงานแบบเปิดโล่งที่ติดตั้งแผ่นฝ้าเพดานดูดซับเสียง สามารถช่วยลดระดับเสียงจากสภาพแวดล้อมได้มากถึง 6 เดซิเบล ซึ่งมีผลต่อความเข้าใจในการสื่อสารที่ดีขึ้น ทำให้การออกแบบพื้นที่ภายในอาคารยุคใหม่ ต้องใส่ใจกับการวิเคราะห์ผลกระทบจากเสียง ที่มีส่วนสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายในการใช้งาน
ซึ่งหากนักออกแบบต้องการพิจารณาวัสดุฝ้าสำหรับการดูดซับเสียงที่ดี ก็ต้องใช้ค่าสัมประสิทธิ์การลดเสียงรบกวนหรือ NRC (Noise Reduction Coefficient) ที่แสดงถึงคุณสมบัติในการดูดซับเสียงภายในห้องว่าได้มากน้อยเพียงใด (ค่า NRC ยิ่งสูง ก็สามารถดูดซับเสียงได้ดี) ตัวอย่างเช่น ฝ้าในพื้นที่สำนักงานควรมีค่า NRC ที่เหมาะสม ที่ไม่น้อยกว่า 0.6 ซึ่งวัสดุฝ้าสำหรับดูดซับเสียงอย่าง Absorb+ Ceiling จาก FAMELINE มีค่า NRC ได้สูงสุดถึง 0.70 นั่นหมายความว่า เมื่อมีการรับคลื่นเสียงมา 100% ฝ้ารุ่นนี้จะสามารถดูดซับเสียงได้สูงสุดถึง 70% และปล่อยเสียงกลับออกมาแค่ 30%
จากคุณสมบัติของฝ้ากัลวาไนซ์เกรดพิเศษ ตามมาตรฐาน ASTM C 423-30a จากสถาบัน ALT และ SGS 15 S โดยคอยล์เหล็กกัลวาไนซ์เป็นเกรดพิเศษ ที่มีความหนา 0.4 มิลลิเมตร เป็นเกรด ZAM หรือ Super Dyma ที่เคลือบลงบนแผ่นทั้งหน้า-หลัง มีส่วมผสมของอลูมิเนียมอยู่ 11% และแมกนีเซียม 3% ซึ่งคุณสมบัตินี้จะทำให้ตัวแผ่นซ่อมแซมตัวเองได้ มีผิวหน้าที่ทนทาน ป้องกันการกัดกร่อน และสามารถป้องกันสนิมได้ดีกว่ากัลวาไนซ์เกรดทั่วไป 3-5 เท่า มีอายุการใช้งานยาวนาน ผ่านการเคลือบสีเกรด SuperDyma® CRP Antibacterial ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมแบบเจาะรู (Perforated) โดยทำงานร่วมกับการติดแผ่น Acoustic Sheet ที่เป็นวัสดุ Nonwovens ประกบซ้อนอยู่ด้านใน ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ และได้รับการทดสอบมาตรฐานด้านการดูดซับเสียง BS EN20 354 :1993 (ISO 354 :1985)
นอกจากนี้ วัสดุ Absorb+ Ceiling ยังเป็นแผ่นฝ้าซับเสียงที่ผลิตจากวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 95% ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและมลภาวะทางการผลิต มาพร้อมขนาดแผ่น 600 x 600 และ 600 x 1200 มิลลิเมตร มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายแบบซ่อนโครงด้วยระบบทีบาร์ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการก่อสร้างได้ดี ทนทานต่อการลามไฟ พื้นผิวบำรุงรักษาง่าย สามารถเปิด-ปิดแผ่นฝ้า เพื่อขึ้นไปซ่อมบำรุงงานระบบด้านบนได้ เหมาะสมกับการใช้งานเป็นฝ้าภายในอาคารสำนักงาน ห้องประชุม ห้องเรียน ห้องสัมมนา โรงแรม ห้างสรรพสินค้า หรือสนามบิน
ซึ่งนอกจากทำหน้าที่เป็นฝ้าเพดานซับเสียงแล้ว ฝ้ารุ่นนี้ยังมีพื้นผิวที่สามารถเพิ่มการกระจายของแสงสว่างภายในอาคารได้ดี โดยมีค่า LR (Lighting Reflection) หรือค่าการสะท้อนของแสงสูงถึง 0.86 หรือ 86% ทำให้ช่วยประหยัดพลังงานส่องสว่างได้ในเวลากลางวัน สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงาน และการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ช่วยให้ผู้ใช้งานอาคารมีสมาธิที่ดีและรู้สึกสบายตัวมากขึ้น จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม ในการช่วยปรับปรุงคุณภาพการสื่อสาร ในสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่หลากหลาย
สามารถดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่นี่: E-Brochure Absorb+ Ceiling
สามารถติดตามช่องทางอื่นๆ ได้ที่นี่:
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง