‘Aluminium Honeycomb Panel’ กับวัสดุสำหรับอุตสาหกรรม
Aluminium Honeycomb Panel (AHP) หรือแผ่นอลูมิเนียมประกบแบบแซนวิช ที่มีโครงสร้างแกนกลางเป็นลักษณะของรังผึ้งหกเหลี่ยมแบบธรรมชาติ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างแผ่นมากขึ้น ส่งผลให้แผ่นอลูมิเนียมประเภทนี้มีน้ำหนักเบากว่าวัสดุอื่นๆ ในปริมาตรเดียวกัน โดยเนื้อวัสดุไม่มีกัมมันตภาพรังสีหรือสารระเหยต่างๆ ปลอดภัยต่อการใช้งาน รวมถึงคุณสมบัติในการป้องกันการกัดกร่อน มีความทนทานต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา ในพื้นที่ปิดที่มีความชื้นสูง สามารถนำไปรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมด ช่วยประหยัดทรัพยากรและลดมลภาวะจากการใช้งาน ทำให้แผงอลูมิเนียมแบบรังผึ้ง เป็นวัสดุที่ช่วยประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และถูกใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม


ออกแบบได้หลากหลายในสถาปัตยกรรม
จากน้ำหนักที่เบาลงของวัสดุ AHP ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้งานในอุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องการลดภาระต่อโครงสร้างของอาคาร แต่ยังได้เสถียรภาพด้านความแข็งแกร่งที่เท่ากันทั่วทั้งผืน สามารถออกแบบในลักษณะพื้นที่กว้างด้วยแผ่นขนาดใหญ่ และยาวต่อเนื่องกันตลอดแนวได้แบบไร้รอยต่อ ทำให้อาคารมีความเรียบหรู ทันสมัย โดยใช้งานได้ทั้งเป็น วัสดุปิดผิวอาคาร (Cladding), วัสดุเปลือกอาคาร (Façade), ครีบอาคาร (Fin) หรือใช้งานเป็นฝ้าเพดานขนาดใหญ่ (Mega+ Ceiling) ซึ่งเป็นการผลิตชิ้นส่วนออกจากโรงงาน และนำมาประกอบติดตั้งที่หน้างานด้วยระบบแห้ง ช่วยลดการเชื่อมต่อโดยการใช้วัสดุอุดรอยต่อ ที่อาจเสื่อมสภาพลงได้จากสภาวะอากาศที่แปรปรวน ช่วยลดจำนวนแรงงาน ทำให้สามารถก่อสร้างได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ


สำหรับงานภายในอาคาร วัสดุ AHP ยังมีคุณสมบัติด้านการป้องกันเสียงและดูดซับเสียง โดยลดการสะท้อนของเสียงรอบๆ ห้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร รวมถึงได้มาตรฐานด้านการป้องกันอัคคีภัยในระดับสากล สำหรับการก่อสร้างอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ ด้วย คุณสมบัติกันไฟลาม (Fire Rating) ในระดับ Class A2 ที่จะมีการคายความร้อน ในอุณหภูมิการเผาไหม้และควันพิษที่ต่ำกว่า และไฟจะดับทันทีหากไฟต้นเพลิงหมด สร้างความปลอดภัยของผู้ใช้งานอาคารและสภาพแวดล้อมโดยรอบ และยังเพิ่มความโดดเด่นให้กับงานออกแบบ ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามหลากหลาย เหมาะสมกับการใช้งานในอาคารประเภท ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า โรงพยาบาล โรงแรม สถานีรถไฟฟ้า หรืออาคารพักอาศัย
ซึ่งจากความแข็งแกร่งและพื้นผิวที่เรียบสม่ำเสมอของวัสดุ AHP ทำให้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกับการออกแบบเป็นองค์ประกอบอื่นๆ ภายในอาคารด้วยเช่นกัน

ทนทานสำหรับการขนส่งทางบก
จากสภาวะทางเศรษฐกิจและทรัพยากรทางธรรมชาติ ทำให้ในอุตสาหกรรมการขนส่งสมัยใหม่ ย่อมต้องการใช้งานวัสดุที่ช่วยลดต้นทุนได้และมีความยั่งยืน สามารถรีไซเคิลกลับมาใช้งานใหม่ได้ ซึ่งวัสดุ AHP ก็เป็นวัสดุที่ นิยมนำมาใช้ห่อหุ้มภายในรถบรรทุกขนาดใหญ่ ใช้ทำพื้น ผนัง ประตู ภายในตู้รถไฟ ผนังภายในห้องจัดเก็บ หรือห้องโดยสารของรถบรรทุก ซึ่งต้องมีคุณสมบัติด้านความแข็งแรง น้ำหนักเบา และความทนทาน
ยกตัวอย่างเช่น การนำมาประกอบเป็นตู้บรรทุกสินค้า ด้วยคุณสมบัติที่เบา ทำให้ช่วยเพิ่มความเร็วในการขนส่ง และเพิ่มปริมาณในการบรรทุกได้ และด้วยโครงสร้างรังผึ้งที่แข็งแรงรองรับสภาพการใช้งานที่สมบุกสมบันของยานพาหนะขนส่ง นอกจากนี้ยังเป็นวัสดุที่กันไฟได้ดี สร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน ทำให้เหมาะสมกับยานพาหนะสำหรับการขนส่งสาธารณะ และระบบขนส่งสินค้า เช่น รถบรรทุก รถไฟความเร็วสูง หรือตกแต่งภายในรถโดยสาร ตู้โดยสาร รถครัวเคลื่อนที่ (Food Truck) หรือรถบ้าน เป็นต้น


ทนทานต่อการกัดกร่อนทางน้ำ
วัสดุ AHP มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการต่อเรือมาอย่างยาวนาน เพราะนอกจากน้ำหนักที่เบา ทนทานต่อความชื้น และแข็งแรงพอสำหรับแรงกระแทกจากคลื่นน้ำแล้ว ยังเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางทะเลที่มีการกัดกร่อนสูง มีคุณสมบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ไม่มีสารพิษปนเปื้อนลงในทะเล จึงมัก ถูกใช้งานเป็นส่วนประกอบหลักของเรือสำราญ เรือยอร์ช เรือข้ามฟาก เรือเร็ว เรือชายฝั่ง เรือลาดตระเวน เรือชูชีพยามชายฝั่ง รวมไปถึงเรือที่ต้องรับน้ำหนักมาก อย่างเรือบรรทุกสินค้า หรือเรือรบ
เนื่องจากน้ำหนักที่เบาลง ทำให้เรือสามารถเพิ่มความเร็วในการเดินทางได้ ในปริมาณความจุที่มากขึ้น ซึ่งรูปลักษณ์ของวัสดุ AHP ยังสามารถนำไปดัดโค้ง เพื่อให้ตอบโจทย์ในการออกแบบรูปทรงของเรือที่มีความหลากหลาย และสามารถนำไปใช้ในการตกแต่งภายในเรืออย่างเฟอร์นิเจอร์ ประตู ฝ้าเพดาน พื้นเรือ ผนังกั้นระหว่างพื้นที่ภายในเรือเป็นต้น


ทนทานต่อการเสียดทานทางอากาศ
ส่วนในอุตสาหกรรมการบิน ก็มีการใช้งานวัสดุ AHP อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นวัสดุที่เชื่อถือได้ ทันสมัย และมีน้ำหนักที่เบากว่าวัสดุอื่นๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ สำหรับการออกแบบอากาศยานต่างๆ เนื่องจากการลดน้ำหนักลง เป็นวิธีในการเพิ่มระยะการบินและเพิ่มน้ำหนักบรรทุกได้ รวมถึงคุณสมบัติด้านความทนทานต่อแรงเสียดทานของอากาศ ซึ่งเป็นการคำนวนแรงทางกายภาพ และทนทานต่อความร้อนในระยะที่ใกล้ดวงอาทิตย์ได้มากกว่า ทำให้มีความเกี่ยวข้องกับความผันผวนของอุณหภูมิที่รุนแรง ที่เกิดขึ้นระหว่างการบินด้วยความเร็วสูงในระดับความกดอากาศที่ต่ำ ซึ่งสามารถใช้งานเป็นโครงสร้างหลักของอากาศยานได้ทุกส่วน ตั้งแต่ใบพัด ไปจนถึงอุปกรณ์และชิ้นส่วนอื่นๆ โดย มีการใช้งานกับยานอวกาศ เครื่องบินขนส่ง เครื่องบินทหาร เครื่องบินจรวด ปีกเครื่องบิน รวมถึงพื้นที่ส่วนเก็บสินค้า ห้องนักบิน พื้นห้องสำหรับบรรทุกสินค้า แผงกั้นประตู หรือที่เราคุ้นเคยที่สุด ก็คือช่องสำหรับเก็บสัมภาระเหนือที่นั่งโดยสารบนเครื่องบิน ซึ่งวัสดุ AHP ช่วยลดน้ำหนักของเครื่องบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานและผู้โดยสารได้ ด้วยมาตรฐานในระดับสากล

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์: http://m.me/famelinegroup
ติดตามข้อมูลผลิตภัณฑ์: https://lin.ee/gXR26yi
ดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม: https://online.anyflip.com/wbgdd/mwie/mobile/
บทความที่เกี่ยวข้อง
ความแตกต่างระหว่างไส้กลาง Polyethylene (PE) และไส้กลาง Fire Retardant (FR) กับการเลือกใช้วัสดุ Aluminium Honeycomb Panel
แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต หรือการนำแผ่นอลูมิเนียมมาประกบกันคล้ายแซนวิช โดยมีแกนกลางเป็นวัสดุ โพลิเอทิลีน (Polyethylene – PE) หรือสารหน่วงไฟ (Fire Retardant – FR) ซึ่งวัสดุแกนกลางแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติเฉพาะ ที่ตอบสนองความต้องการในการก่อสร้าง และการพิจารณาด้านความปลอดภัยที่แตกต่างกัน
‘Prefabricated Construction’ ก่อสร้างเสร็จ และสำเร็จ(รูป)ได้มากกว่า
‘Prefabricated Construction’ หรือการก่อสร้างสำเร็จรูป เป็นวิธีการก่อสร้างที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น จากกระบวนการที่ใช้ส่วนประกอบที่ผลิตในโรงงาน จากนั้นจึงขนส่งวัสดุมาประกอบที่หน้าไซต์งาน
ออกแบบ ‘Double Space’ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวัสดุ ‘Mega+ Ceiling’
การเพิ่มพื้นที่เป็นเท่าตัวในระยะแนวตั้ง หรือที่เรียกว่า ‘Double Space’ (หรือ Double Volume) ซึ่งการออกแบบในลักษณะนี้ ก็ต้องมีการเลือกใช้งานวัสดุที่เหมาะสม
‘Smart Architecture’ การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน จากสถาปัตยกรรมสุดสมาร์ท
เมื่อเรามองถึงอนาคตของสถาปัตยกรรม แน่นอนว่าต้องมีเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่พร้อมจะปฏิวัติวงการนี้ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้สถาปนิกทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และนำไปสู่การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน
ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ด้วยวัสดุ ‘อลูมิเนียมเจาะรู’
หากต้องการสร้างความแตกต่าง และโดดเด่นยิ่งกว่าเดิม ก็ต้องเป็นลักษณะของการเจาะรูหรือฉลุลวดลาย ลงบนผิวของแผ่นอลูมิเนียม ด้วยรูปแบบของ Aluminium Solid Perforated
‘ถ่อมตนแต่มีบุคลิกที่ชัดเจน’ กับก้าวต่อไปของวัสดุในงานสถาปัตยกรรม
เทรนด์การเลือกใช้วัสดุสำหรับงานออกแบบนั้น จะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งาน ที่เน้นการสร้างพื้นที่ส่วนบุคคลที่มีบุคลิกชัดเจน แต่ก็ต้องมีพื้นที่สำหรับความรู้สึกเชื่อมโยง และกลับสู่ความเป็นชุมชนอีกครั้ง