ทำความรู้จัก Chat GPT กับการปรับตัวของ(มนุษย์)สถาปนิก
Artificial Intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ กำลังเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกพูดคุยในหมู่สถาปนิกและนักออกแบบ หลังจากการมาของซอฟต์แวร์สำหรับสร้างข้อความ ให้เป็นรูปภาพที่สวยเกินจินตนาการ อย่างเช่น Dall-E 2 และ Midjourney ของ OpenAI ซึ่งผู้ใช้งานหลายคนได้สร้างภาพอาคารในจินตนาการโดยใช้เครื่องมือเหล่านี้ และมีแนวโน้มจะนำภาพเหล่านั้น มาสร้างในโลกแห่งความจริงมากยิ่งขึ้น
การเปิดตัวแชทบอทใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงอย่าง ChatGPT โดยบริษัท OpenAI ของสหรัฐอเมริกา ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจ โดยแชทบอทตัวนี้ มีความสามารถที่หลากหลายทั้งการตอบคำถามที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว การเขียนเรียงความ บทกวี หรือการเขียนโค้ดที่ต้องมีความเชี่ยวชาญสูง ซึ่งศาสตราจารย์ AI Neil Leach แห่ง Florida International University ได้ตั้งคำถามกับ ChatGPT ไปว่า
“AI จะส่งผลเสียต่อวิชาชีพสถาปัตยกรรมในอนาคตได้อย่างไร?”
ซึ่ง ChatGPT ตอบกลับมาอย่างน่าขนลุกว่า “ในอนาคตอันใกล้นี้ สถาปนิกอาจกลายเป็นอดีตไปแล้ว และ AI กำลังก้าวไปสู่ จุดที่สามารถออกแบบอาคารได้เองโดยสมบูรณ์” นั่นทำให้เกิดคำถามขึ้นมาต่อว่า แล้วอนาคตของสถาปนิกจะเป็นอย่างไร ในโลกของสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นโดย AI?
ChatGPT คืออะไร? มีประโยชน์กับสถาปนิกไหม?
เมื่อเราถามว่า ChatGPT คืออะไร ก็คงไม่มีใครตอบได้ดีไปกว่าตัวของมันเองว่า…
“GPT (Generative Pre-trained Transformer) เป็นรูปแบบปัญญาประดิษฐ์ประเภทหนึ่ง ที่ได้รับการฝึกฝนให้สร้างข้อความที่เหมือนมนุษย์ โดยได้รับการออกแบบให้สามารถสร้างการตอบกลับ ที่สอดคล้องกับข้อความถาม และสามารถนำไปปรับใช้กับการใช้งานได้หลากหลาย ทั้งแชทบอท การแปลภาษา และการสร้างเนื้อหาต่างๆ
โมเดล GPT ได้รับการบันทึกบนชุดข้อมูลขนาดใหญ่ของข้อความที่มนุษย์สร้างขึ้น และใช้กระบวนการที่เรียกว่า “การฝึกฝนล่วงหน้า” (Pre-Training) เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและรูปแบบของภาษา จนสามารถนำมาปรับแต่งได้อย่างละเอียด ทำให้ได้ชุดข้อความที่เหมือนมนุษย์อย่างมาก โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างข้อความที่มีเสียงเป็นธรรมชาติ”
แล้วถ้าถาม ChatGPT ต่อว่า… ในฐานะสถาปนิก เรากำลังสงสัยว่าคุณจะมีประโยชน์กับเราไหม?
“ในฐานะที่เป็นแบบจำลองทางภาษา ฉันได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ข้อมูลทั่วไป และตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่หลากหลายได้ แม้ว่าฉันอาจไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในด้านสถาปัตยกรรม แต่ฉันก็สามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ตัวอย่างเช่น ฉันสามารถให้ข้อมูลเรื่องของหลักการออกแบบ ความรู้วัสดุ เทคนิคการก่อสร้าง ระเบียบและข้อกฎหมายอาคาร หรือการจัดการธุรกิจสำหรับสถาปนิก และสามารถช่วยเหลือในการค้นคว้าหัวข้อเฉพาะทาง หรือช่วยชี้แจงแนวคิดที่คุณอาจยังไม่แน่ใจ
ถ้าไม่อยากถูกลืม ก็ต้องปรับตัว
“สถาปนิกที่เลือกจะเพิกเฉยต่อ AI จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังและถูกลืมในที่สุด เพราะอุตสาหกรรมนี้จะมีการวิวัฒนาการและก้าวหน้าไปอีกไกล” ศาสตราจารย์ AI Neil Leach กล่าว
การปรับตัวนั้นเริ่มเกิดขึ้นแล้ว กับบริษัทชั้นนำด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบอย่าง AutoDesk ที่มีผลิตภัณฑ์มากมายและใช้งานได้ในหลากหลายสาขาวิชา เช่น สถาปัตยกรรม วิศวกรรม การก่อสร้าง และการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยเริ่มมีการใช้งาน AI ที่เรียกว่า “Generative Design” ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถป้อนข้อจำกัดด้านการออกแบบ ให้ซอฟต์แวร์สร้างโซลูชันต่างๆ ที่เป็นไปได้ สิ่งนี้สามารถช่วยประหยัดเวลาได้อย่างมากสำหรับนักออกแบบ เนื่องจากเป็นตัวช่วยในการสำรวจตัวเลือกต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และค้นคว้าหาคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับความต้องการของพวกเขา
เมื่อ AI ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นในกระบวนการออกแบบ จึงอาจมีความเสี่ยงที่อาจเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้ในที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม การป้อนข้อมูลจากมนุษย์ก็เป็นสิ่งจำเป็น ในการสร้างข้อมูลของ AI ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นทักษะใหม่ที่มนุษย์พึงมี และลดทักษะของการออกแบบแบบดั้งเดิมลง เพื่อขยายขีดความสามารถของการออกแบบให้ไปได้ไกลกว่าที่คิดไว้
ซึ่งหากมองกันให้ดีแล้ว บทบาทและทักษะของสถาปนิกนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่กระดาษ กระดานวาดภาพ เทคโนโลยี ระบบอัตโนมัติ และระบบดิจิทัล ที่ได้เปลี่ยนวิธีการแสดงออกถึงจินตนาการของสถาปนิกอยู่เสมอ ทำให้สถาปัตยกรรมถูกขับเคลื่อนด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องมากกว่าอาชีพอื่นๆ ทั้งในกระบวนการสร้างสรรค์ไปจนถึงระบบของการก่อสร้าง ซึ่งโดยรวมแล้ว มีแนวโน้มว่าบทบาทของสถาปนิก(ที่เป็นมนุษย์) จะยังคงพัฒนาต่อไป และต้องมีการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ และความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคม
ขอขอบคุณข้อมูล / รูปภาพ จาก:
- www.dezeen.com
- archccess.com
- www.wooduchoose.com
สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์: http://m.me/famelinegroup
ติดตามข้อมูลผลิตภัณฑ์: https://lin.ee/gXR26yi
ดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม: https://anyflip.com/bookcase/plils
บทความที่เกี่ยวข้อง
เปลี่ยนโฉม โดดเด่น เน้นใช้งาน… ทำไมถึงต้องรีโนเวทฟาซาดอาคาร?
นักออกแบบมักจะใช้วิธีการปรับปรุง/ต่อเติมพื้นที่ส่วนฟาซาด เพื่อแก้ปัญหาหรือเสริมความแข็งแกร่งให้กับอาคาร แต่เงื่อนไขของแต่ละอาคารนั้นย่อมต่างกันออกไป จึงทำให้เกิดคำถามที่ว่า เราควรปรับปรุงฟาซาดอาคารบ่อยแค่ไหน …แล้วทำไมเราถึงต้องรีโนเวทฟาซาดอาคาร?
‘Aluminium Louver’ เคล็ด(ไม่)ลับกับการออกแบบ แผงบังแดด/ระแนงตกแต่ง
การตกแต่งบริเวณผิวอาคาร ให้มีการระบายอากาศได้ตามธรรมชาติ เสมือนให้อาคารได้ ‘หายใจ’ โดยการเลือกตกแต่งด้วย ‘แผงบังแดด’ หรือ ‘ระแนงตกแต่ง’ ซึ่งเป็นทางเลือกที่เรียบง่าย แต่ทรงพลังอย่างมากในด้านการใช้งาน
ทำความรู้จัก Chat GPT กับการปรับตัวของ(มนุษย์)สถาปนิก
การเปิดตัวแชทบอทใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงอย่าง ChatGPT เป็นสิ่งหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากวงการนักออกแบบและสถาปนิก ทำให้เกิดคำถามสำคัญว่า AI ประเภทนี้ จะส่งผลต่อวิชาชีพสถาปัตยกรรมในอนาคตได้อย่างไรบ้าง?
ออกแบบ ‘วัสดุตกแต่งฝ้า’ ให้ตอบโจทย์กับพื้นที่ใช้งานและความสวยงาม
เมื่อพูดถึงการออกแบบอาคารหรือบ้านพักอาศัย ‘ฝ้าเพดาน’ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญ ที่ส่งผลต่อความสวยงามโดยรวม และส่งผลต่อการใช้งานของพื้นที่เป็นอย่างมาก ซึ่งนักออกแบบต้องมองหาวัสดุที่สามารถตอบโจทย์ ปัจจัยสำคัญในการออกแบบฝ้าเพดานได้อย่างครบถ้วน
เจาะลึกวัสดุ ‘Aluminium Honeycomb Panel’ น้ำหนักเบากว่า… แต่ทำไมยังแข็งแรงและทนทาน
ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการก่อสร้างมากขึ้น พื้นที่ส่วนต่างๆ ของอาคารจึงได้รับการพัฒนา เพื่อให้มีรูปแบบที่ซับซ้อน และมีเอกลักษณ์ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว โดยเฉพาะกับวัสดุที่ใช้ห่อหุ้มอาคาร
ทำไมวัสดุ ‘อลูมิเนียม’ จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม ในการใช้ปกป้องผิวอาคาร
จากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ทำให้วัสดุ ‘อลูมิเนียม’ เป็นหนึ่งในวัสดุที่ถูกใช้งานมากที่สุด โดยเฉพาะกับในอุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็น ‘วัสดุปิดผิวอาคาร’ ที่สามารถออกแบบได้อย่างไร้ขีดจำกัด ด้วยคุณสมบัติที่เหนือกว่า