ความแตกต่างระหว่าง Aluminium Composite Panel และ Solid Aluminium Panel
‘อลูมิเนียม’ เป็นหนึ่งในวัสดุโลหะที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ซึ่งหนึ่งในการใช้งานหลักของอลูมิเนียมคือในอุตสาหกรรมการก่อสร้างอาคาร เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ ใช้ในการสร้างสรรค์เป็นรูปทรงที่ซับซ้อนและสามารถเลือกใช้งานได้ง่ายกว่าโลหะชนิดอื่นๆ สถาปนิกจึงนิยมเลือกใช้งานอลูมิเนียม สำหรับการออกแบบวัสดุห่อหุ้มอาคาร และงานสถาปัตยกรรมต่างๆ
เมื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้างเติบโตขึ้น การผลิตแผ่นอลูมเนียมที่ตอบโจทย์การใช้งานให้มากขึ้น จึงเป็นสิ่งที่สถาปนิกต้องเรียนรู้ เพื่อเลือกใช้งานกับงานออกแบบได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินชื่อของวัสดุอย่าง Aluminium Composite Panel และ Solid Aluminium Panel มาบ้างแล้ว บางคนอาจคิดได้ว่าเป็นแผ่นอลูมิเนียมที่ใช้งานได้เหมือนๆ กัน แต่แท้จริงแล้ว วัสดุทั้งสองชนิดนี้ มีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของส่วนประกอบและลักษณะการใช้งาน ซึ่งหากเลือกประเภทของอลูมิเนียมได้อย่างเหมาะสมกับงานออกแบบแล้ว ก็จะเป็นข้อได้เปรียบในการช่วยลดข้อจำกัดในงานออกแบบต่างๆ ให้หมดไป
Aluminium Composite Panel คืออะไร?
Aluminium Composite Panel หรือ ACP คือลักษณะของแผ่นอลูมิเนียมสองแผ่นประกบเข้าด้วยกัน โดยมีไส้กลางเป็นวัสดุโพลีเอทิลีน (PE) ความหนาแน่นต่ำ ที่มีความหนาตั้งแต่ 3.0 – 5.0 มิลลิเมตร ผ่านกระบวนการผลิตด้วยความร้อนสูง ทำให้ตัวแผ่นมีความแข็งแรงคงทนทานต่อทุกสภาพอากาศ แต่ก็ยืดหยุ่นใช้งานได้ง่าย และเป็นการลดน้ำหนักของวัสดุลง เพื่อให้เหมาะสมในการใช้งานกับโครงสร้างได้หลากหลายมากขึ้น
ผ่านการเคลือบสีด้วยระบบ Coil Coating ซึ่งเป็นกระบวนการเคลือบสีลงบนแผ่นอลูมิเนียมด้วยลูกกลิ้ง โดยใช้ระบบการเคลือบสีอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง ทำให้พื้นผิวเรียบเนียนสม่ำเสมอ โดยมีการควบคุมความหนาของสีเคลือบตามมาตรฐานที่กำหนด เหมาะสมสำหรับการผลิตในปริมาณมาก รองรับเกรดสีในระดับ FEVE หรือ PVDF ซึ่งเป็นระบบสีเคลือบที่ดีที่สุด และได้รับมาตรฐานในระดับสากล ทนทานต่อสภาพอากาศ สภาวะกรด-ด่าง และมลภาวะต่างๆ ทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน มีการรับประกันคุณภาพสียาวนาน 10-20 ปี โดยขึ้นอยู่กับเฉดสีที่เลือกใช้งาน

Solid Aluminium Panel คืออะไร?
Solid Aluminium Panel ผลิตขึ้นรูปมาจากวัสดุ Solid Sheet ที่เป็นแผ่นอลูมิเนียมอัลลอยด์พับขึ้นรูปที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ มีความหนาตั้งแต่ 1.5 มม., 2.0 มม. และ 3.0 มม. โดยสามารถใช้เทคโนโลยีด้านการผลิต ทำให้ตัวแผ่นเกิดความแปลกใหม่ได้หลากหลายวิธี อย่างเช่น การพับขึ้นรูป การเจาะรูบนตัวแผ่น (Perforated) ตามรูปแบบมาตรฐาน หรือตามงานออกแบบที่ต้องการ หรือการฉีกดึงแผ่นอลูมเนียมให้เป็นลักษณะแบบตาข่าย (Expanded Mesh)
สามารถเคลือบสีได้หลากหลายเฉดสี ด้วยระบบ Powder Coating หรือ Spray Painting ซึ่งมีข้อแตกต่างก็คือ ระบบ Powder Coating เป็นระบบพ่นสีฝุ่นด้วยกระบวนการเหนี่ยวนำไฟฟ้า มีจุดเด่นด้านความเรียบเนียนของสี ทนทานต่อรอยขูดขีดได้ดี ไม่มีสารระเหยประกอบก่อซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ใช้อาคาร ส่วนระบบ Spray Painting เป็นระบบการพ่นสีอะคริลิกด้วยกระบวนการเหนี่ยวนำไฟฟ้า ที่มีจุดเด่นด้านความคงทน การตอบสนองความหลากหลายของเฉดสีพิเศษได้ดี ซึ่งทั้งสองระบบรองรับเกรดสีระดับ PE, PE-F และ PVDF โดยใช้สีเคลือบที่ได้รับมาตรฐานจากต่างประเทศ ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานสากล จึงมีความทนทานต่อสภาพอากาศ เหมาะสำหรับใช้งานภายนอกอาคาร และมีการรับประกันคุณภาพสีนาน 5-15 ปี ขึ้นอยู่กับเกรดสีที่เลือกใช้งาน
เลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานออกแบบ
แม้ว่าระบบการห่อหุ้มแผ่นอลูมิเนียมทั้งสองแบบ จะมีความสะดวกในการติดตั้งด้วยน้ำหนักที่เบากว่าวัสดุอื่นๆ ถ้าเทียบในขนาดที่เท่ากันแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่นักออกแบบต้องทราบก็คือ รูปแบบของแผ่นที่เหมาะสมที่สุด สำหรับจุดประสงค์ในงานออกแบบแต่ละประเภท
ตัวอย่างเช่น งานออกแบบวัสดุเปลือกอาคาร (Façade) ที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน ในรูปแบบของแผ่นวัสดุผืนใหญ่ที่ยาวได้ต่อเนื่องกัน ก็ต้องเลือกใช้เป็นวัสดุ Aluminium Composite Panel ที่มีความยืดหยุ่น อีกทั้งยังสามารถดัดแปลงรูปทรงของแผ่นได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการดัดโค้ง การตัด หรือบิดแผ่น เพื่อเพิ่มมิติที่น่าสนใจให้กับผิวอาคาร
ส่วนงานออกแบบที่ต้องการแผ่นวัสดุที่มีลักษณะแบบอลูมิเนียมตาข่าย (Expanded Mesh) หรือต้องการวัสดุที่สามารถเจาะรู (Perforated) ฉลุลวดลายบนตัวแผ่นได้ โดยไม่ทำให้ความแข็งแกร่งลดลง ก็ต้องเลือกใช้เป็นวัสดุ Solid Aluminium Panel ที่ยังมีความแข็งแรงทนทานของวัสดุอลูมิเนียม มีลวดลายฉลุมาตรฐานให้เลือกใช้งาน ทั้งรูปแบบทรงกลม ทรงรี และสี่เหลี่ยม หรือออกแบบเป็นลวดลายอื่นๆ ได้ ทั้งรูปภาพ ข้อความ ตราสัญลักษณ์ขององค์กร ที่ให้ประโยชน์ในด้านความสวยงาม และมีความโปร่งของแผ่นที่ช่วยในเรื่องการระบายอากาศ สร้างความเป็นส่วนตัวและบรรยากาศที่ดีให้กับพื้นที่ เหมาะสมกับการออกแบบเป็นผนังชั้นที่สองของผิวอาคาร (Double Skin Facade) หรือนำไปใช้งานเป็นวัสดุตกแต่งผนัง ทั้งภายนอกและภายในอาคารหรือบ้านพักอาศัย
นอกจากนี้วัสดุทั้งสองแบบ ยังมีคุณสมบัติของความทนไฟ ซึ่งปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยที่ Aluminium Composite Panel มีการเลือกใช้ไส้กลางแบบ FR (FR Core) ซึ่งเป็นวัสดุที่ผสมสารหน่วงไฟ ช่วยจำกัดการเกิดเปลวไฟและการเกิดควันเมื่อเพลิงไหม้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล
ส่วน Solid Aluminium Panel ก็มีคุณสมบัติกันไฟลามในระดับ Class A1 ซึ่งถือเป็นวัสดุที่ไม่มีปฏิกิริยากับไฟ เหมาะสมกับงานออกแบบอาคาร ที่เน้นเรื่องมาตรฐานในด้านการป้องกันอัคคีภัย ทำให้นักออกแบบมั่นใจได้ว่า การเลือกใช้วัสดุอลูมิเนียมทั้งสองชนิดนี้ จะตอบโจทย์ในด้านรูปแบบของงานออกแบบที่หลากหลาย และความปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ ตามมาตรฐานของงานออกแบบในระดับสากล
สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์: http://m.me/famelinegroup
ติดตามข้อมูลผลิตภัณฑ์: https://lin.ee/gXR26yi
ดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม:
Aluminium Composite Panel: https://composite.fameline.com
Solid Aluminium Panel: https://solid.fameline.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
ความแตกต่างระหว่างไส้กลาง Polyethylene (PE) และไส้กลาง Fire Retardant (FR) กับการเลือกใช้วัสดุ Aluminium Honeycomb Panel
แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต หรือการนำแผ่นอลูมิเนียมมาประกบกันคล้ายแซนวิช โดยมีแกนกลางเป็นวัสดุ โพลิเอทิลีน (Polyethylene – PE) หรือสารหน่วงไฟ (Fire Retardant – FR) ซึ่งวัสดุแกนกลางแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติเฉพาะ ที่ตอบสนองความต้องการในการก่อสร้าง และการพิจารณาด้านความปลอดภัยที่แตกต่างกัน
‘Prefabricated Construction’ ก่อสร้างเสร็จ และสำเร็จ(รูป)ได้มากกว่า
‘Prefabricated Construction’ หรือการก่อสร้างสำเร็จรูป เป็นวิธีการก่อสร้างที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น จากกระบวนการที่ใช้ส่วนประกอบที่ผลิตในโรงงาน จากนั้นจึงขนส่งวัสดุมาประกอบที่หน้าไซต์งาน
ออกแบบ ‘Double Space’ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวัสดุ ‘Mega+ Ceiling’
การเพิ่มพื้นที่เป็นเท่าตัวในระยะแนวตั้ง หรือที่เรียกว่า ‘Double Space’ (หรือ Double Volume) ซึ่งการออกแบบในลักษณะนี้ ก็ต้องมีการเลือกใช้งานวัสดุที่เหมาะสม
‘Smart Architecture’ การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน จากสถาปัตยกรรมสุดสมาร์ท
เมื่อเรามองถึงอนาคตของสถาปัตยกรรม แน่นอนว่าต้องมีเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่พร้อมจะปฏิวัติวงการนี้ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้สถาปนิกทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และนำไปสู่การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน
ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ด้วยวัสดุ ‘อลูมิเนียมเจาะรู’
หากต้องการสร้างความแตกต่าง และโดดเด่นยิ่งกว่าเดิม ก็ต้องเป็นลักษณะของการเจาะรูหรือฉลุลวดลาย ลงบนผิวของแผ่นอลูมิเนียม ด้วยรูปแบบของ Aluminium Solid Perforated
‘ถ่อมตนแต่มีบุคลิกที่ชัดเจน’ กับก้าวต่อไปของวัสดุในงานสถาปัตยกรรม
เทรนด์การเลือกใช้วัสดุสำหรับงานออกแบบนั้น จะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งาน ที่เน้นการสร้างพื้นที่ส่วนบุคคลที่มีบุคลิกชัดเจน แต่ก็ต้องมีพื้นที่สำหรับความรู้สึกเชื่อมโยง และกลับสู่ความเป็นชุมชนอีกครั้ง