ความเหมือนที่แตกต่างของ ‘Aluminium Composite Panel’ และ ‘Aluminium Honeycomb Panel’

ในปัจจุบันวัสดุที่ใช้สำหรับตกแต่งผิวอาคาร สามารถออกแบบได้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน และมุมมองด้านความสวยงาม แต่สิ่งหนึ่งที่นักออกแบบหรือเจ้าของโครงการมักให้ความสำคัญก็คือ คุณประโยชน์ที่รอบด้าน ทั้งความแข็งแรงทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน มีมาตรฐานการติดตั้ง บำรุงรักษาง่าย ดัดแปลงเป็นรูปทรงได้หลากหลาย และมีความสวยงามทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งจากทุกข้อที่กล่าวมา ก็จะเหลืออยู่เพียงไม่กี่วัสดุเท่านั้นที่ตอบโจทย์ หนึ่งในนั้นก็คือวัสดุ “อลูมิเนียม”

ซึ่งความสวยงามโดดเด่นของวัสดุ Aluminium Composite Panel หรือ ACP สำหรับใช้ตกแต่งพื้นที่ภายนอกอาคารนั้น ย่อมเป็นที่คุ้นเคยกันสำหรับนักออกแบบ แต่ก็ยังมีแผ่นอลูมิเนียมอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ในประเทศไทยยังไม่ถูกใช้งานในวงกว้าง (แต่ต่างประเทศนำไปใช้สร้างยานอวกาศกันแล้ว) นั้นก็คือ Aluminium Honeycomb Panel หรือ AHP ซึ่งแผ่นอลูมเนียมทั้งสองรูปแบบ มีทั้งความเหมือนและความต่าง ที่นักออกแบบสามารถเลือกไปใช้งานให้เหมาะสมกับลักษณะอาคาร และเราจะมาทำความรู้จักกับวัสดุทั้งสองชนิดนี้กันให้มากขึ้น (ต่อจากนี้จะขอเรียกโดยย่อว่า ACP และ AHP)

ความแข็งแกร่งที่แตกต่างกันที่ ‘ไส้กลาง’

ทั้งวัสดุ ACP และ AHP จัดอยู่ในกลุ่ม ‘Aluminium Composite’ เหมือนกัน ซึ่งก็คือการใช้แผ่นอลูมิเนียมสองแผ่นประกบเข้าด้วยกัน โดยมีวัสดุอีกชนิดหนึ่งเป็นไส้กลาง เพื่อเสริมให้ตัวแผ่นมีความแข็งแรง แต่ก็ยืดหยุ่นใช้งานได้ง่าย และเป็นการลดน้ำหนักของวัสดุลงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น

ซึ่งวัสดุ ACP มีไส้กลางเป็นวัสดุโพลีเอทิลีน (PE) ความหนาแน่นต่ำ ประกบด้วยแผ่นอลูมิเนียมความหนา 0.5 มิลลิเมตร ผ่านกระบวนการผลิตด้วยความร้อนสูง ทำให้ตัวแผ่นมีความแข็งแรงคงทนต่อทุกสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะสภาพอากาศที่รุนแรงในประเทศไทย ส่วนวัสดุ AHP จะมีไส้กลางเป็นอลูมิเนียมโครงสร้างแบบรังผึ้ง ซึ่งเป็นลักษณะของรังผึ้งหกเหลี่ยม มีความหนาของไส้กลางที่ 9.5 มิลลิเมตร ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างแผ่นมากขึ้น ส่งผลให้แผ่นอลูมิเนียมมีน้ำหนักเบากว่าวัสดุอื่นๆ เมื่อเทียบในขนาดเดียวกัน ทำให้ไม่เป็นภาระต่อโครงสร้างของอาคาร และยังได้เสถียรภาพด้านความแข็งแกร่งที่เท่ากันทั่วทั้งผืน

ซึ่งทาง FAMELINE มีกระบวนการผลิตแผ่น Aluminium Composite ที่ได้มาตรฐาน และมีทุกขั้นตอนการผลิตที่เกิดขึ้นในโรงงานที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยมีการทดสอบความแข็งแรงของแผ่นอลูมิเนียม ทดสอบวัสดุไส้กลางกันไฟ กระบวนการเคลือบสี การประกอบแผ่น และการตรวจสอบคุณภาพของวัสดุทุกครั้งก่อนนำไปใช้งานจริง จากทีมงานผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตัวแผ่นยังผ่านการทดสอบแรงลม แรงกด และแรงปะทะ เพื่อรองรับการนำไปใช้งานกับอาคารสูงเพื่อไม่มีเกิดปัญหาด้านการแอ่นตัว หรือตกท้องช้าง ซึ่งจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ไม่ดีกับตัวอาคารได้

คุณภาพของการเคลือบสีที่โดดเด่น

วัสดุ ACP และ AHP จากแบรนด์ FAMELINE มีการเลือกใช้ระบบเคลือบสี PVDF ที่ได้การรับรองมาตรฐาน AAMA (American Architectural Manufacturers Association) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นระบบสีเคลือบที่ดีที่สุด และได้รับมาตรฐานในระดับสากล โดยเป็นการเคลือบสีด้วย ฟลูออรีน คาร์บอน เรซิน และเม็ดสีที่ละลายด้วยสารประกอบพิเศษ ผ่านขั้นตอนการอบผิวด้วยอุณหภูมิสูง เกิดเป็นชั้นฟิล์มเคลือบผิวแผ่นที่ทนทานต่อสภาพอากาศ สภาวะกรด-ด่าง และมลภาวะต่างๆ ซึ่งทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน

นอกจากโทนสีพื้นและสีสันสดใสต่างๆแล้ว การเคลือบสีด้วยระบบ PVDF ยังสามารถเพิ่มเติมส่วนผสมอื่นๆ เพื่อทำให้ได้เฉดสีที่หลากหลาย แตกต่างจากการใช้แผ่นอลูมิเนียมตกแต่งแบบทั่วไป เช่น กลุ่มสีผิวโลหะ, กลุ่มสีเหลือบที่เป็นการผสมผสานมากกว่าหนึ่งสี, กลุ่มสีชุบอะลูมิเนียม ในโทนของสีทอง เงิน และทองแดง, หรือโทนสีลายไม้แบบธรรมชาติ ที่ช่วยสร้างความกลมกลืนกับบริบทโดยรอบ ซึ่งทุกกลุ่มสี มีการรับประกันคุณภาพสีนาน 10 – 20 ปี (ขึ้นอยู่กับเฉดสีที่เลือกใช้) ทำให้นักออกแบบ มั่นใจได้ในการเลือกนำไปใช้งานเป็นวัสดุปิดผิวอาคาร ที่สร้างความสวยงามทันสมัยได้ในระยะยาว

วัสดุอลูมิเนียมที่ตอบโจทย์งานออกแบบ

จากคุณสมบัติของวัสดุ ACP ที่มีความยืดหยุ่นได้ ทำให้สามารถดัดแปลงรูปทรงของแผ่นได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การดัดโค้งเพื่อให้ตอบรับกับรูปทรงของอาคาร การตัดหรือบิดแผ่นเพื่อเพิ่มมิติของงานออกแบบ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นวัสดุแบบเต็มผืนเสมอไป หรือการเจาะรูบนผิวแผ่นอลูมิเนียม ที่สามารถออกแบบเป็นลวดลายต่างๆ ได้ ทั้งรูปภาพ ข้อความ ตราสัญลักษณ์ขององค์กร หรือนำไปตกแต่งเป็นวัสดุสำหรับแบ่งแยกพื้นที่ภายใน เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว แต่ก็มีความโปร่งซึ่งทำให้ระบายอากาศได้ดี

หรือประโยชน์จากน้ำหนักที่เบาลงของวัสดุ AHP ที่ยังสามารถออกแบบตัวแผ่นได้มีขนาดใหญ่กว่า และยาวต่อเนื่องกันตลอดแนวได้แบบไร้รอยต่อ โดยตัวแผ่นเรียบเนียนแบบไม่แอ่นตัว ทำให้อาคารมีความเรียบหรูทันสมัย โดยสามารถออกแบบได้ทั้งเป็นวัสดุปิดผิวอาคาร (Cladding) วัสดุเปลือกอาคาร (Façade) หรือครีบอาคาร (Fin) โดยเป็นการผลิตชิ้นส่วนออกจากโรงงาน และนำมาประกอบติดตั้งที่หน้างานด้วยระบบแห้ง ลดการใช้วัสดุอุดรอยต่อที่อาจเสื่อมสภาพลงได้ ทำให้สามารถก่อสร้างได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพ

ซึ่งแน่นอนว่าการก่อสร้างอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ ย่อมมีข้อกำหนดเรื่องมาตรฐานด้านการป้องกันอัคคีภัย ตามมาตรฐานการออกแบบอาคารในระดับสากล การเลือกใช้วัสดุ AHP ซึ่งเป็นวัสดุที่ผลิตจากอลูมิเนียมล้วนทั้งแผ่นปิดผิวและไส้กลาง ทำให้มี ‘คุณสมบัติกันไฟลาม’ (Fire Rating) สูงถึงระดับ Class A2 ที่จะมีการคายความร้อน ในอุณหภูมิการเผาไหม้และควันพิษที่ต่ำกว่า และไฟจะดับทันทีหากไฟต้นเพลิงหมด ซึ่งเหมาะสมสำหรับเป็นวัสดุปิดผิวอาคาร ที่สร้างความปลอดภัยของผู้ใช้งานอาคารและสภาพแวดล้อมโดยรอบ เพิ่มความโดดเด่นให้กับงานออกแบบอาคารอย่าง ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า โรงพยาบาล โรงแรม หรืออาคารพักอาศัย

รวมไปถึงความเหมาะสมในการเลือกใช้งานแผ่นอลูมิเนียม กับงาน ‘ปรับปรุงหรือต่อเติมอาคาร’ ซึ่งต้องการวัสดุที่มีน้ำหนักเบา เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อโครงสร้างเดิม และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ซึ่งจากคุณสมบัติของแผ่นอลูมิเนียมทั้งสองชนิด ทำให้นักออกแบบสามารถเชื่อมั่นได้ว่า สามารถตอบโจทย์จินตนาการในด้านความสวยงามของการออกแบบ มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับอาคารหลากหลายประเภท และทำให้การสร้างสรรค์ผลงานทางสถาปัตยกรรม มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนในระยะยาวอย่างแท้จริง

สอบถามข้อมูลวัสดุ: http://m.me/famelinegroup

ติดตามข้อมูลวัสดุ: https://lin.ee/gXR26yi

บทความที่เกี่ยวข้อง

Article

ความแตกต่างระหว่างไส้กลาง Polyethylene (PE) และไส้กลาง Fire Retardant (FR) กับการเลือกใช้วัสดุ Aluminium Honeycomb Panel

แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต หรือการนำแผ่นอลูมิเนียมมาประกบกันคล้ายแซนวิช โดยมีแกนกลางเป็นวัสดุ โพลิเอทิลีน (Polyethylene – PE) หรือสารหน่วงไฟ (Fire Retardant – FR) ซึ่งวัสดุแกนกลางแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติเฉพาะ ที่ตอบสนองความต้องการในการก่อสร้าง และการพิจารณาด้านความปลอดภัยที่แตกต่างกัน

Article

‘Prefabricated Construction’ ก่อสร้างเสร็จ และสำเร็จ(รูป)ได้มากกว่า

‘Prefabricated Construction’ หรือการก่อสร้างสำเร็จรูป เป็นวิธีการก่อสร้างที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น จากกระบวนการที่ใช้ส่วนประกอบที่ผลิตในโรงงาน จากนั้นจึงขนส่งวัสดุมาประกอบที่หน้าไซต์งาน

Article

ออกแบบ ‘Double Space’ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวัสดุ ‘Mega+ Ceiling’

การเพิ่มพื้นที่เป็นเท่าตัวในระยะแนวตั้ง หรือที่เรียกว่า ‘Double Space’ (หรือ Double Volume) ซึ่งการออกแบบในลักษณะนี้ ก็ต้องมีการเลือกใช้งานวัสดุที่เหมาะสม

Article

‘Smart Architecture’ การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน จากสถาปัตยกรรมสุดสมาร์ท

เมื่อเรามองถึงอนาคตของสถาปัตยกรรม แน่นอนว่าต้องมีเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่พร้อมจะปฏิวัติวงการนี้ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้สถาปนิกทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และนำไปสู่การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน

Article

ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ด้วยวัสดุ ‘อลูมิเนียมเจาะรู’

หากต้องการสร้างความแตกต่าง และโดดเด่นยิ่งกว่าเดิม ก็ต้องเป็นลักษณะของการเจาะรูหรือฉลุลวดลาย ลงบนผิวของแผ่นอลูมิเนียม ด้วยรูปแบบของ Aluminium Solid Perforated

Article

‘ถ่อมตนแต่มีบุคลิกที่ชัดเจน’ กับก้าวต่อไปของวัสดุในงานสถาปัตยกรรม

เทรนด์การเลือกใช้วัสดุสำหรับงานออกแบบนั้น จะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งาน ที่เน้นการสร้างพื้นที่ส่วนบุคคลที่มีบุคลิกชัดเจน แต่ก็ต้องมีพื้นที่สำหรับความรู้สึกเชื่อมโยง และกลับสู่ความเป็นชุมชนอีกครั้ง