ทำความรู้จักกับ ‘ระบบการเคลือบสี’ ที่ช่วยเสริมความคงทนบนแผ่นอลูมิเนียม

ในปัจจุบันวัสดุ ‘อลูมิเนียม’ ถูกนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมการก่อสร้างมากขึ้น เนื่องจากมีน้ำหนักที่เบากว่าเหล็ก แต่มีความแข็งแรงทนทาน ไม่เป็นสนิม ไม่ลามไฟ เป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่น ทำให้ขึ้นรูปหรือดัดแปลงได้ง่าย นำกลับมารีไซเคิลเพื่อใช้งานใหม่ได้ จึงทำให้สถาปนิกสามารถนำวัสดุอลูมิเนียมไปใช้งานกับการออกแบบสถาปัตยกรรม เพื่อเป็นวัสดุปิดผิวอาคาร วัสดุตกแต่งเปลือกอาคาร (Facade) ระแนง วัสดุตกแต่งผนังหรือฝ้าเพดาน ซึ่งสร้างรูปแบบที่โดดเด่นมีเอกลักษณ์ และสร้างการน่าจดจำได้ดี

ซึ่งสิ่งหนึ่งที่มีผลต่อการใช้งานวัสดุอลูมิเนียมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็นการเสริมความคงทนให้ตัวแผ่นมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ก็คือการเลือกใช้ ‘ระบบเคลือบสี’ ที่เคลือบลงบนผิวของแผ่นอลูมิเนียมอย่างเหมาะสมนั่นเอง

ประโยชน์ของ ‘ระบบเคลือบสี’ มีดีกว่าที่คิด

กระบวนการเคลือบผิวอลูมิเนียมนั้น โดยทั่วไปจะเป็นการใช้สารเคลือบบางประเภท (Lacquer) เคลือบลงบนแผ่นอลูมิเนียมด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน เพื่อทำหน้าที่ปกป้องเนื้อวัสดุจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งทำให้อลูมิเนียมสามารถทนทานต่อการกัดกร่อน และยังเป็นการสร้างสีสันที่สวยงาม และพื้นผิวที่แตกต่างได้อีกด้วย ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการเคลือบอลูมิเนียมกับวัสดุอย่างกระป๋อง ถาด ภาชนะบรรจุภัณฑ์ หรือฝาปิดสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งปลอดภัยต่อการใช้งานของมนุษย์

ส่วนระบบการเคลือบผิวแผ่นอลูมิเนียม สำหรับใช้กับงานสถาปัตยกรรมนั้น ก็สามารถเลือกกระบวนการเคลือบได้หลากหลายระบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานและมาตรฐานของผู้ผลิต เช่น อยากได้ผิวเรียบเนียน มีสีที่สดใหม่และสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น หรือมีผิวที่คงทนต่อสภาวะแวดล้อมและทนทานต่อรอยขีดข่วนได้ดี ซึ่งตามมาตรฐานแล้ว ก็จะมีอยู่ 3 รูปแบบก็คือ ระบบ Coil Coating หรือ Roller Coating, ระบบ Powder Coating และระบบ Liquid Spray Coating

ขั้นตอนที่แตกต่าง ของกระบวนการเคลือบสี

กระบวนการ Coil Coating หรือ Roller Coating เป็นกระบวนการเคลือบสีคอยล์ ด้วยลูกกลิ้งโดยใช้กระบวนการเคลือบสีอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง ที่เคลือบสีได้เฉพาะแผ่นคอยล์แบบบางเท่านั้น โดยมีการควบคุมความหนาของสีเคลือบให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด สามารถรองรับสีได้ทุกชนิดทั้ง PE, HDPE, FEVE และ PVDF ทำให้ผิวของแผ่นมีความเรียบเนียนและสม่ำเสมอ เหมาะสมสำหรับการผลิตในปริมาณมาก สามารถทำสีพิเศษได้ และมีสารที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งของผิวหน้า เพื่อต้านทานการขีดข่วน การกัดกร่อน รวมถึงยังทนทานต่อสารเคมีได้ดี

Coil Coating Process

กระบวนการ Powder Coating เป็นกระบวนการเคลือบสีผงโพลีเอสเตอร์บนอลูมิเนียม ด้วยระบบเหนี่ยวนำไฟฟ้า (Electrostatically Powder Coating) มีจุดเด่นในเรื่องของการควบคุมความเรียบของพื้นผิวสี ให้มีความสวยงามและคงทน สามารถควบคุมความหนาของสีให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งระบบการเคลือบแบบนี้สามารถพ่นสีบนชิ้นงานในรูปทรงต่างๆ ได้ รองรับชนิดของสี PE และ PVDF ซึ่งสีที่ใช้งานไปแล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เกือบ 100% และเหมาะสมสำหรับการผลิตในปริมาณมาก

กระบวนการ Liquid Spray Coating หรือ Wet Spray Coating เป็นกระบวนการเคลือบสีลงบนชิ้นงานอลูมิเนียมด้วยระบบเหนี่ยวนำไฟฟ้า (Electrostatically Stove Enamel (Acrylic Resin)) หรือการเคลือบอะครีลิคเรซิ่นบนแผ่นอลูมิเนียม มีจุดเด่นในเรื่องของความทนทาน สามารถตอบสนองในเรื่องความหลากหลายของเฉดสี โดยผสมเฉดสีพิเศษได้ตามความต้องการของผู้ออกแบบ สามารถพ่นสีชิ้นงานในรูปทรงต่างๆ ได้ รองรับชนิดของสี PE, FEVE และ PVDF สามารถผลิตในปริมาณน้อยได้ แต่เนื้อสีไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้

มาตรฐานระดับสากล ในประเภทการเคลือบสี

โดยทั่วไปแล้ว สภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ มักมีผลกับการใช้งานวัสดุปิดผิวอาคาร โดยเฉพาะกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นในประเทศไทย ที่มีทั้งฝนตกชุกและแดดแรงจัด ทำให้กระบวนการเคลือบสีที่ดี ต้องได้รับการสนับสนุนจากประเภทของสีที่ใช้งาน ซึ่งระบบสีเคลือบที่ได้ชื่อว่ามีคุณภาพดีที่สุด ก็คือระบบการสีเคลือบ PVDF (Polyvinylidene Fluoride Resin Coating) จากส่วนประกอบของ ฟลูออรีน คาร์บอน เรซิน และเม็ดสีที่ละลายด้วยสารประกอบพิเศษ เกิดเป็นชั้นฟิล์มที่ทนทานต่อสภาพอากาศ มีความทนทานต่อสถาวะกรด-ด่าง และมลภาวะต่างๆ ทำให้คุ้มค่าสำหรับการใช้งานในระยะยาว

ซึ่งระบบสีเคลือบ PVDF ยังผ่านการรับรองมาตรฐาน NCCA (National Coil Coating Association) และ AAMA (American Architectural Manufacturers Association) ที่เป็นกระบวนการควบคุมคุณภาพ ตามมาตรฐานการผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันจากทั่วโลก เพื่อรับประกันว่าเป็นสีเคลือบที่มีความทนทาน และมีอายุการใช้ที่งานยาวนาน และประเภทสีแบบนี้ยังสามารถนำส่วนผสมอื่นๆ เข้ามาในกระบวนการเคลือบสี เช่น สีผิวแบบโลหะมันวาวจนใส หรือสีลายไม้แบบธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกิดมุมมองที่โดดเด่น และแตกต่างจากการใช้งานแผ่นอลูมเนียมแบบทั่วไป

ซึ่งทุกขั้นตอนในกระบวนการเคลือบสีของทาง FAMELINE เกิดขึ้นจากโรงงานที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ผ่านการคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงและได้มาตรฐาน มีการตรวจสอบคุณภาพของวัสดุทุกครั้งก่อนนำไปใช้งานจริง โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ มีการรับประกันคุณภาพสีมากกว่า 10 ปี (ต่างกันขึ้นอยู่กับเฉดสีที่เลือกใช้) สร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานแผ่นอลูมิเนียมทุกประเภท ที่ตอบโจทย์ทั้งในด้านความคงทนแข็งแรง และทำให้สถาปัตยกรรมมีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นได้อีกยาวนาน

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์: http://m.me/famelinegroup

ติดตามข้อมูลผลิตภัณฑ์: https://lin.ee/gXR26yi

ดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม: https://anyflip.com/bookcase/plils

บทความที่เกี่ยวข้อง

Article

ความแตกต่างระหว่างไส้กลาง Polyethylene (PE) และไส้กลาง Fire Retardant (FR) กับการเลือกใช้วัสดุ Aluminium Honeycomb Panel

แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต หรือการนำแผ่นอลูมิเนียมมาประกบกันคล้ายแซนวิช โดยมีแกนกลางเป็นวัสดุ โพลิเอทิลีน (Polyethylene – PE) หรือสารหน่วงไฟ (Fire Retardant – FR) ซึ่งวัสดุแกนกลางแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติเฉพาะ ที่ตอบสนองความต้องการในการก่อสร้าง และการพิจารณาด้านความปลอดภัยที่แตกต่างกัน

Article

‘Prefabricated Construction’ ก่อสร้างเสร็จ และสำเร็จ(รูป)ได้มากกว่า

‘Prefabricated Construction’ หรือการก่อสร้างสำเร็จรูป เป็นวิธีการก่อสร้างที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น จากกระบวนการที่ใช้ส่วนประกอบที่ผลิตในโรงงาน จากนั้นจึงขนส่งวัสดุมาประกอบที่หน้าไซต์งาน

Article

ออกแบบ ‘Double Space’ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวัสดุ ‘Mega+ Ceiling’

การเพิ่มพื้นที่เป็นเท่าตัวในระยะแนวตั้ง หรือที่เรียกว่า ‘Double Space’ (หรือ Double Volume) ซึ่งการออกแบบในลักษณะนี้ ก็ต้องมีการเลือกใช้งานวัสดุที่เหมาะสม

Article

‘Smart Architecture’ การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน จากสถาปัตยกรรมสุดสมาร์ท

เมื่อเรามองถึงอนาคตของสถาปัตยกรรม แน่นอนว่าต้องมีเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่พร้อมจะปฏิวัติวงการนี้ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้สถาปนิกทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และนำไปสู่การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน

Article

ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ด้วยวัสดุ ‘อลูมิเนียมเจาะรู’

หากต้องการสร้างความแตกต่าง และโดดเด่นยิ่งกว่าเดิม ก็ต้องเป็นลักษณะของการเจาะรูหรือฉลุลวดลาย ลงบนผิวของแผ่นอลูมิเนียม ด้วยรูปแบบของ Aluminium Solid Perforated

Article

‘ถ่อมตนแต่มีบุคลิกที่ชัดเจน’ กับก้าวต่อไปของวัสดุในงานสถาปัตยกรรม

เทรนด์การเลือกใช้วัสดุสำหรับงานออกแบบนั้น จะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งาน ที่เน้นการสร้างพื้นที่ส่วนบุคคลที่มีบุคลิกชัดเจน แต่ก็ต้องมีพื้นที่สำหรับความรู้สึกเชื่อมโยง และกลับสู่ความเป็นชุมชนอีกครั้ง