‘Solid Aluminium Cladding’ ครบทุกเส้นสายของการสร้างสรรค์งานศิลปะบนเปลือกอาคาร
หากพูดถึงการออกแบบเปลือกอาคารให้กับอาคารขนาดใหญ่นั้น มักจะมีปัจจัยเพิ่มเติมที่แตกต่างจากงานบ้านหรืออาคารขนาดเล็ก ตัวอย่างเช่น สัดส่วนของวัสดุเมื่อเทียบกับขนาดของอาคาร หรือน้ำหนักที่ต้องเหมาะสมกับความสูงของอาคาร หากอาคารยิ่งสูงมาก ก็ต้องเลือกใช้วัสดุที่มีน้ำหนักน้อย เพื่อลดภาระของโครงสร้าง และลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายกับผู้ใช้งานของอาคารด้วย
รูปแบบของวัสดุเปลือกอาคารนั้นก็มีให้เลือกหลากหลาย ทั้งแบบทึบแสง โปร่งแสง ระแนง หรือโปร่งใส และมีรูปทรงที่แตกต่างกัน ซึ่งนักออกแบบสามารถสร้างสรรค์ลวดลาย ได้ตามแนวคิดในการออกแบบ เสมือนกำลังวาดเส้นสายลงบนผืนผ้าใบขนาดใหญ่ ที่มีการแต่งแต้มสีสันได้ตามจินตนาการ
ซึ่งธรรมชาติของนักออกแบบเองนั้น ก็ย่อมมีความถนัดในการเลือกเครื่องมือมาใช้กับการออกแบบ ‘เส้นสาย’ ที่แตกต่างกันออกไป บางคนก็เน้นเรื่องรูปทรงกับสัดส่วนที่เหมาะสม บางคนเน้นเรื่องพื้นผิวของวัสดุ บางคนก็เน้นคุณประโยชน์ที่หลากหลาย ใช้งานได้ครบทุกส่วนในอาคาร
ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม ‘Solid Aluminium Cladding’ เป็นวัสดุที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับจินตนาการของนักออกแบบและเจ้าของอาคาร เหมาะกับการออกแบบงานศิลปะบนเปลือกอาคาร ที่สามารถ ‘ปรับแต่งได้’ (Customized Design) ประกอบไปด้วยวัสดุแผ่นอลูมิเนียมตกแต่งผนังสำเร็จรูป รุ่น Plank Clad, Perforated Aluminium และ Aluminium Expanded Mesh ที่สร้างสรรค์รูปแบบของเส้นสายบนเปลือกอาคารได้อย่างหลากหลาย ตอบโจทย์นักออกแบบได้ทุกเส้นสาย ว่าแต่คุณล่ะ เป็นนักออกแบบสายไหน?
สายเน้นจังหวะของลวดลายที่ต่อเนื่องกัน
จังหวะของเส้นสายที่ใช้ในงานออกแบบเปลือกอาคารนั้น เป็นส่วนที่สร้างการจดจำให้กับผู้ที่ผ่านไปมาได้เป็นอย่างดี ซึ่งวัสดุแผ่นอลูมิเนียมตกแต่งผนังสำเร็จรูป ‘Plank Clad’ สามารถเป็นตัวเลือกที่โดดเด่นในการออกแบบ โดยมีให้เลือกใช้งานถึง 3 รุ่น ได้แก่ รุ่น Tongue & Groove, Shingles และ Corrugated ที่แตกต่างกันด้วยรูปทรงและลักษณะในการติดตั้ง
สำหรับใครที่ชอบเส้นสายที่ดูโมเดิร์นทันสมัย และเป็นสัดส่วนที่เรียบร้อยสวยงาม ต้องเลือกใช้เป็นรุ่น Tongue & Groove ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นอลูมิเนียมแบบเรียบเส้นยาว มีหน้ากว้างให้เลือก 2 ขนาด ได้แก่ 200 และ 300 มิลลิเมตร และยาวสูงสุดได้ถึง 3 เมตร ส่วนรุ่น Shingles เน้นเส้นสายที่มีสไตล์เฉพาะตัว ด้วยลักษณะของแผ่นอลูมิเนียมรูปทรงสี่เหลี่ยม ที่มีให้เลือก 2 รูปแบบ คือ รูปแบบแผ่นสี่เหลี่ยมรูปว่าว (Diamond Shingles) ขนาด 60 x 60 ซม. และรูปแบบแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangle Shingles) ขนาด 60 x 120 ซม. และรุ่น Corrugated ที่มีทั้งรูปแบบลอนคลื่น ขนาดลอน 27/111 และรูปแบบลอนเหลี่ยม ขนาดลอน 20/77 มีความยาวแผ่นได้สูงสุดได้ถึง 6 เมตร ติดตั้งได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ช่วยสร้างลูกเล่นที่ดูคลาสสิคแต่เป็นอมตะ ในลักษณะแบบ Industrial Style (วัสดุตกแต่งผนังโรงงานหรือโกดังในสมัยยุคอุตสาหกรรม)


สายเน้นสร้างลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์
การสร้างลวดลายของผนังในรูปแบบ ‘Perforated’ หรือการเจาะรูบนแผ่นวัสดุเปลือกอาคาร ต้องมีการคำนึงถึงความแข็งแรง ความทนทาน และการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน ซึ่งวัสดุอย่าง ‘Perforated Aluminium Solid Sheet’ จากแบรนด์ FAMELINE สามารถนำแผ่นอลูมิเนียมมาเจาะรูเพื่อสร้างลวดลาย ได้ทั้งรูปแบบวงกลม สี่เหลี่ยมจตุรัส หรือทรงผืนผ้ามุมโค้ง ที่เสริมความสวยงามให้กับอาคารได้เป็นอย่างดี สามารถออกแบบเป็นลวดลายต่างๆ ที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป โดยใช้การหักแผ่น ดัดโค้ง หรือออกแบบเป็นรูปเป็นตราสัญลักษณ์ ที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนขององค์กร รวมไปถึงการนำแผ่นอลูมิเนียมเจาะรูไปตกแต่งในส่วนพื้นที่ภายใน เพื่อสร้างความเชื่อมต่อของวัสดุให้เป็นเรื่องราวเดียวกันได้ด้วย
นอกจากนี้ การเจาะรูลงบนแผ่นอลูมิเนียม ยังทำให้น้ำหนักโดยรวมของแผ่นลดลง ซึ่งส่งผลต่อน้ำหนักของโครงสร้าง การขนส่ง และแรงงานที่ทำการติดตั้ง ช่วยลดต้นทุนโดยรวมของงานก่อสร้างลง ช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว พรางบรรยากาศจากภายนอก ช่วยให้การระบายอากาศที่มากระทบกับผิวอาคารดีขึ้น และยังเป็นตัวช่วยในการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก และลดเสียงสะท้อนของพื้นที่ภายในอาคารได้อีกด้วย
สายเน้นประโยชณ์ใช้สอยครบจบในวัสดุเดียว
แน่นอนว่าวัสดุที่ใช้สำหรับงานออกแบบ ก็ต้องมีความสัมพันธ์กับแนวคิดในการออกแบบ ที่กระจายอยู่ในแต่ละส่วนของอาคารทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งหากพูดถึงวัสดุที่มีความหลากหลายในการใช้งาน และมีรูปทรงที่มีความเฉพาะตัวแล้ว ก็ต้องเป็นวัสดุอย่าง ‘Aluminium Expanded Mesh’ หรือก็คือตะแกรงอลูมิเนียมฉีก ที่ผลิตจากการนำแผ่นอลูมิเนียมคุณภาพสูง มาปั๊มขึ้นรูปและฉีกให้เป็นช่องตาตามที่กำหนด โดยมีให้เลือกใช้งานถึง 4 ขนาดช่องตา (หมายถึงช่องว่างที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด) ตั้งแต่ช่องตาขนาด 30.5 x 12 มิลลิเมตร ไปจนถึงช่องตาขนาด 125 x 37.5 มิลลิเมตร
ซึ่งตัวแผ่นก็มีน้ำหนักเบา มีลวดลายสวยงามสม่ำเสมอกัน สามารถนำมาตกแต่งเปลือกอาคาร เพื่อช่วยเรื่องการระบายอากาศ และบดบังสายตาจากภายนอกได้ดี และที่สำคัญยังสามารถนำไปใช้ในส่วนต่างๆ ของอาคารได้ ตามความเหมาะสมของความหนาและขนาดของตา ตัวอย่างเช่น งานตกแต่งรั้ว ลูกตั้ง-ลูกนอนบันได ราวบันไดหรือราวกันตกระเบียง งานตกแต่งฝ้าเพดาน พื้นระเบียงทางเดินของอาคาร ฉากกั้นพื้นที่ภายใน หรือประยุกต์ใช้เป็นวัสดุตกแต่งอื่นๆ ภายในอาคารก็ได้ เรียกได้ว่าเป็นวัสดุที่มีความเอนกประสงค์แบบครบวงจรอย่างแท้จริง

สร้างสรรค์ได้แต่ต้องยั่งยืนด้วย
มุมมองด้านความสวยงามของแต่ละคน ย่อมแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว แต่ความยั่งยืนของความสวยงามของเปลือกอาคาร ถือเป็นเป้าหมายเดียวกัน ของทั้งเจ้าของโครงการและนักออกแบบ ในการเลือกใช้วัสดุสำหรับพื้นที่บริเวณนี้ ยิ่งเป็นอาคารขนาดใหญ่ ที่หากเกิดความเสียหายกับวัสดุตกแต่งบางส่วน ก็อาจส่งผลเสียถึงภาพลักษณ์โดยรวมของอาคารได้
ซึ่งคุณสมบัติของอลูมิเนียมจาก FAMELINE นั้น ตอบโจทย์การเป็นวัสดุปิดผิวเปลือกอาคารที่มีคุณภาพ สร้างจังหวะที่ต่อเนื่องกันในงานออกแบบ ด้วยโรงงานสำหรับผลิตแผ่นอลูมิเนียมในประเทศไทย ที่ควบคุมการผลิตด้วยด้วยระบบเครื่องจักรที่ทันสมัย ผสมผสานกับทีมงานที่เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบงานสถาปัตยกรรม มีการปรับแต่งเฉดสีของวัสดุให้ตรงกับความต้องการของนักออกแบบ และผ่านกระบวนการเคลือบสีที่ได้มาตรฐาน จึงมีความทนทานต่อสภาพอากาศ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นนักออกแบบสายไหน ก็สบายใจในการเลือกวัสดุสำหรับตกแต่งเปลือกอาคาร เพื่อสะท้อนถึงคุณค่าในการออกแบบสถาปัตยกรรม ให้มีความสร้างสรรค์และยั่งยืน
ดูข้อมูลวัสดุ: http://anyflip.com/bookcase/yeamv
สอบถามข้อมูลวัสดุ: http://m.me/famelinegroup
ติดตามข้อมูลวัสดุ: https://lin.ee/gXR26yi
บทความที่เกี่ยวข้อง
ความแตกต่างระหว่างไส้กลาง Polyethylene (PE) และไส้กลาง Fire Retardant (FR) กับการเลือกใช้วัสดุ Aluminium Honeycomb Panel
แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต หรือการนำแผ่นอลูมิเนียมมาประกบกันคล้ายแซนวิช โดยมีแกนกลางเป็นวัสดุ โพลิเอทิลีน (Polyethylene – PE) หรือสารหน่วงไฟ (Fire Retardant – FR) ซึ่งวัสดุแกนกลางแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติเฉพาะ ที่ตอบสนองความต้องการในการก่อสร้าง และการพิจารณาด้านความปลอดภัยที่แตกต่างกัน
‘Prefabricated Construction’ ก่อสร้างเสร็จ และสำเร็จ(รูป)ได้มากกว่า
‘Prefabricated Construction’ หรือการก่อสร้างสำเร็จรูป เป็นวิธีการก่อสร้างที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น จากกระบวนการที่ใช้ส่วนประกอบที่ผลิตในโรงงาน จากนั้นจึงขนส่งวัสดุมาประกอบที่หน้าไซต์งาน
ออกแบบ ‘Double Space’ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวัสดุ ‘Mega+ Ceiling’
การเพิ่มพื้นที่เป็นเท่าตัวในระยะแนวตั้ง หรือที่เรียกว่า ‘Double Space’ (หรือ Double Volume) ซึ่งการออกแบบในลักษณะนี้ ก็ต้องมีการเลือกใช้งานวัสดุที่เหมาะสม
‘Smart Architecture’ การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน จากสถาปัตยกรรมสุดสมาร์ท
เมื่อเรามองถึงอนาคตของสถาปัตยกรรม แน่นอนว่าต้องมีเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่พร้อมจะปฏิวัติวงการนี้ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้สถาปนิกทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และนำไปสู่การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน
ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ด้วยวัสดุ ‘อลูมิเนียมเจาะรู’
หากต้องการสร้างความแตกต่าง และโดดเด่นยิ่งกว่าเดิม ก็ต้องเป็นลักษณะของการเจาะรูหรือฉลุลวดลาย ลงบนผิวของแผ่นอลูมิเนียม ด้วยรูปแบบของ Aluminium Solid Perforated
‘ถ่อมตนแต่มีบุคลิกที่ชัดเจน’ กับก้าวต่อไปของวัสดุในงานสถาปัตยกรรม
เทรนด์การเลือกใช้วัสดุสำหรับงานออกแบบนั้น จะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งาน ที่เน้นการสร้างพื้นที่ส่วนบุคคลที่มีบุคลิกชัดเจน แต่ก็ต้องมีพื้นที่สำหรับความรู้สึกเชื่อมโยง และกลับสู่ความเป็นชุมชนอีกครั้ง