คุณประโยชน์ที่หลากหลายของ ‘ฝ้าอลูมิเนียม’ ในงานสถาปัตยกรรม
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า พื้นที่ส่วน ‘ฝ้าเพดาน’ เป็นส่วนที่ผู้ใช้งานอาคารส่วนใหญ่มักมองข้ามไป อาจเพราะเป็นส่วนที่อยู่ห่างไกลจากสายตาหรือการสัมผัส ทำให้รู้สึกแค่เป็นส่วนเติมเต็มหรือมอบแสงสว่างให้กับพื้นที่เท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว พื้นที่ส่วนนี้ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญ ต่อการออกแบบพื้นที่ในงานสถาปัตยกรรม เนื่องจากทั้งรูปแบบ ขนาด พื้นผิว สีสัน และลวดลายของ ‘ฝ้าเพดาน’ เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดของแนวคิดในการออกแบบ และตอบโจทย์ในด้านการใช้งาน ซึ่งก็มีวัสดุตกแต่งฝ้าหลากหลายประเภท ที่นักออกแบบสามารถเลือกนำใช้งานได้อย่างเหมาะสม
ซึ่งหากมีการเลือกใช้ตกแต่งวัสดุฝ้าที่ผิดประเภท ก็อาจทำให้เกิดผลเสียกับพื้นที่ภายในอาคารได้ ตัวอย่างเช่น บางพื้นที่มีกลิ่นเหม็นจากความอับชื้น ซึ่งเกิดจากคราบสกปรกของเชื้อราบนฝ้า หรือบางจุดของฝ้ามีรูรั่วที่ทำให้น้ำรั่วซึมลงมาโดนพื้นที่อื่นๆ บางจุดมีสีหลุดลอก สีซีดจางไม่สม่ำเสมอ หรือมีอาการฝ้าตกท้องช้าง ที่อาจเป็นเพราะการติดตั้ง หรือการเสื่อมสภาพของวัสดุฝ้า ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ล้วนสร้างความเสียหายให้กับภาพลักษณ์ความสวยงามของอาคาร ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง หรือค่าเสียหายอื่นๆ ในกรณีฝ้าพังถล่มลงมา และอาจส่งผลไปถึงสุขภาวะที่ดี ของผู้ใช้งานในอาคารได้ด้วย
ทำให้การเลือกใช้งานวัสดุ ‘ฝ้าเพดาน’ จึงเป็นสิ่งที่นักออกแบบควรให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความต่อเนื่องกับการใช้งานของพื้นที่ภายใน และยังคงสร้างสรรค์ความสวยงามได้ตามจินตนาการ ซึ่งรูปแบบที่มีให้เลือกหลากหลาย ของฝ้าอลูมิเนียมจาก FAMELINE ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการออกแบบพื้นที่ส่วนนี้ให้มีความโดดเด่น ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแรง ทนทานทุกสภาพอากาศ ทนความชื้นได้ ไม่ผุกร่อน ไม่เป็นสนิม ไม่ลามไฟ มีพื้นผิวที่ทำความสะอาดได้ง่าย ติดตั้งและปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว ตอบโจทย์งานฝ้าเพดานทั้งงานอาคารและบ้านพักอาศัย ซึ่งฝ้าแต่ละประเภทก็มีลักษณะที่ต่างกันออกไป


ฝ้าอลูมิเนียมเส้นตรง เฉียบคมทุกองศา
ลักษณะของ ‘ฝ้าอลูมิเนียมแบบเส้น (Linear Ceiling)’ มักมีรายละเอียดมากกว่าจังหวะที่ยาวเป็นเส้นตรงต่อเนื่องกันไป ที่จะเห็นได้ชัดเจนจากขนาดหน้ากว้างของแผ่นฝ้า และขนาดของช่องว่างระหว่างแผ่น ที่ต้องสัมพันธ์กับสัดส่วนของขนาดพื้นที่และตำแหน่งในการใช้งาน หรืออย่างรูปแบบของขอบแผ่นฝ้า ก็ทำให้แต่ละพื้นที่มีความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น ฝ้าในรุ่น Box Series ที่มีขนาดหน้ากว้างให้เลือกตั้งแต่ 85, 135 และ 185 มิลลิเมตร โดยมีหน้าตัดเป็นแบบตัว U และตัว F ที่มีช่องว่างระหว่างแผ่น 15 มิลลิเมตร และสามารถติดตั้งแบบคละขนาดหน้ากว้างแผ่น เพื่อเพิ่มความหลากหลายในงานออกแบบได้
ส่วนฝ้าในรุ่น 85C และ 85F ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับงานบ้านพักอาศัย ช่วยสร้างรูปแบบของเส้นตรงที่ดูมั่นคงและเชื่อมต่อพื้นที่ภายนอกและภายใน มาพร้อมขนาดหน้ากว้างแผ่น 85 มม. เพิ่มมุมมองให้แตกต่างด้วยขอบโค้งมน (85C) ที่ให้ความรู้สึกถึงความอ่อนนุ่ม เข้าถึงง่าย มีมุมให้เกิดการตกกระทบของแสง หรือขอบหักเหลี่ยมตรง (85F) ที่ให้อารมณ์ของความแน่วแน่ ชัดเจน มั่นคง เน้นความโมเดิร์นทันสมัย โดยทั้งสองรุ่นสามาถเลือกใช้ความยาวแผ่นได้สูงสุดถึง 6 เมตร และมีสีให้เลือกใช้งานมากถึง 14 เฉดสี ทั้งกลุ่มสีลายไม้ธรรมชาติ (Wood Colors) กลุ่มสีโลหะ (Metallic Color) และกลุ่มสีพื้นเรียบ (Basic Colors) เพื่อเพิ่มมิติของงานฝ้าให้ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
หรือหากเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ก็สามารถเลือกใช้เป็นฝ้ารุ่น 150V ที่มีลักษณะแผ่นชนชิดกันเป็นตัว V ซึ่งทำให้ตัวแผ่นดูกว้างขึ้นและเป็นระเบียบเรียบร้อย หรือฝ้ารุ่น 300G ที่มีขนาดของแผ่นกว้างถึง 300 มิลลิเมตร โดยรอยต่อแทบจะประสานไปกับตัวแผ่น ทำให้ให้พื้นที่ดูเรียบเนียนสบายตาแบบรอยต่อน้อย ซึ่งฝ้าทุกรุ่นนั้น ติดตั้งระบบ Snap Lock ทำให้สามารถทำงานติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เลือกใช้งานได้ทั้งในส่วนของฝ้าภายใน ฝ้าชายคา กันสาด (canopy) ฝ้าโรงรถ ฝ้าบริเวณทางเดิน หรือใช้เชื่อมต่อพื้นที่ฝ้าภายใน-ภายนอกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกด้วย


ฝ้าอลูมิเนียมแบบแผ่น กับการออกแบบพื้นที่เฉพาะส่วน
สำหรับฝ้าในกลุ่ม ‘Tile & Plank Ceiling’ หรือฝ้าแบบแผ่น ที่มีให้เลือกทั้งแบบแผ่นเรียบ และแผ่นแบบเจาะรู เหมาะสมกับใช้งานเป็นฝ้าภายใน หรือพื้นที่โถงทางเข้าอาคาร (Canopy) สำหรับอาคารขนาดใหญ่ ที่ต้องมีงานระบบอยู่เหนือฝ้า เนื่องจากสามารถเปิด-ปิดแผ่นฝ้า เพื่อขึ้นไปซ่อมบำรุงงานระบบด้านบนได้อย่างสะดวก อย่างงานฝ้าเพดานในอาคารสำนักงาน ห้องประชุม ห้องโถง โรงแรม ห้างสรรพสินค้า หรือสนามบิน
ซึ่งจากคุณสมบัติที่แข็งแกร่งของอลูมิเนียม ทำให้ฝ้ารุ่นนี้ สามารถนำไปปรับใช้งานได้หลากหลายพื้นที่ ทั้งพื้นที่ที่ต้องการความทนทานต่อความชื้น อย่างห้องน้ำหรือห้องครัว พื้นที่ที่ต้องการความสะอาดเป็นพิเศษ เนื่องจากมีพื้นผิวที่ทำความสะอาดได้ง่าย ลดการสะสมของเชื้อโรคและแบคทีเรีย หรืออย่างพื้นที่ขนาดใหญ่พิเศษ ก็เลือกใช้ฝ้ารุ่น Mega+ Tile & Plank Ceiling ที่เป็นแผ่นฝ้าขนาดใหญ่จากโครงสร้างแบบรังผึ้ง สามารถลดรอยต่อในการออกแบบ และยังมีน้ำหนักเบา เพียง 5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งเบากว่าเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นที่ใช้งานในขนาดเดียวกัน
ทำให้ผู้เข้ามาใช้งาน ไม่ต้องทนเห็นสภาพแผ่นฝ้าไม่เรียบ ตกท้องช้าง หรือการขาดความต่อเนื่องกันของพื้นที่ สร้างมาตรฐานที่ดีทั้งเรื่องของความสวยงาม และคุณภาพที่ดีของการสื่อสารภายในอาคาร ด้วยคุณสมบัติการดูดซับเสียงได้สูงสุดถึง 80%


ฝ้าอลูมิเนียมตกแต่ง ปกปิดงานระบบได้แบบไร้รอยต่อ
หากพื้นที่ด้านบนฝ้ามีการจัดวางงานระบบที่ดูวุ่นวายซับซ้อน แต่ก็ต้องการให้อากาศถ่ายเทความร้อนได้สะดวก และเป็นส่วนสำคัญที่ต้องหมั่นดูแลรักษาอยู่เสมอ การเลือกใช้งานฝ้ารุ่น ‘Open Decorative Ceiling’ หรือฝ้าตกแต่งเพื่อปกปิดงานระบบ ที่สามารถติดตั้งได้ทั้งภายใน-ภายนอกอาคาร เหมาะสมกับอาคารขนาดใหญ่อย่าง อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ศูนย์ประชุม โรงแรม คอนโดมิเนียม หรือสนามบิน
ด้วยรูปแบบที่มีทั้งแบบเส้นตรง แบบตะแกรง และแบบตาราง ทำให้สามารถออกแบบลวดลายของฝ้าได้อย่างต่อเนื่อง ไร้รอยต่อของแผ่น และออกแบบด้วยการผสมผสานฝ้าในรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกันได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น สร้างความโดดเด่นให้งานออกแบบได้อย่างไม่ซ้ำใคร สามารถระบายอากาศได้ดี ถอดประกอบและติดตั้งใหม่ได้ง่าย มีรูปทรงที่สวยงามได้มาตรฐาน กลมกลืนกับการออกแบบได้หลากหลายสไตล์ ทำให้เป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง ในการออกแบบฝ้าเพดานของอาคารขนาดใหญ่ ที่ให้ความสำคัญกับทั้งความสวยงาม และความจำเป็นของการใช้งานควบคู่กันไป
สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์: http://m.me/famelinegroup
ติดตามข้อมูลผลิตภัณฑ์: https://lin.ee/gXR26yi
ดูข้อมูลผลิตภัณฑ์ FAMELINE Ceiling ทั้งหมด: https://ceiling.fameline.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
ความแตกต่างระหว่างไส้กลาง Polyethylene (PE) และไส้กลาง Fire Retardant (FR) กับการเลือกใช้วัสดุ Aluminium Honeycomb Panel
แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต หรือการนำแผ่นอลูมิเนียมมาประกบกันคล้ายแซนวิช โดยมีแกนกลางเป็นวัสดุ โพลิเอทิลีน (Polyethylene – PE) หรือสารหน่วงไฟ (Fire Retardant – FR) ซึ่งวัสดุแกนกลางแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติเฉพาะ ที่ตอบสนองความต้องการในการก่อสร้าง และการพิจารณาด้านความปลอดภัยที่แตกต่างกัน
‘Prefabricated Construction’ ก่อสร้างเสร็จ และสำเร็จ(รูป)ได้มากกว่า
‘Prefabricated Construction’ หรือการก่อสร้างสำเร็จรูป เป็นวิธีการก่อสร้างที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น จากกระบวนการที่ใช้ส่วนประกอบที่ผลิตในโรงงาน จากนั้นจึงขนส่งวัสดุมาประกอบที่หน้าไซต์งาน
ออกแบบ ‘Double Space’ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวัสดุ ‘Mega+ Ceiling’
การเพิ่มพื้นที่เป็นเท่าตัวในระยะแนวตั้ง หรือที่เรียกว่า ‘Double Space’ (หรือ Double Volume) ซึ่งการออกแบบในลักษณะนี้ ก็ต้องมีการเลือกใช้งานวัสดุที่เหมาะสม
‘Smart Architecture’ การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน จากสถาปัตยกรรมสุดสมาร์ท
เมื่อเรามองถึงอนาคตของสถาปัตยกรรม แน่นอนว่าต้องมีเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่พร้อมจะปฏิวัติวงการนี้ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้สถาปนิกทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และนำไปสู่การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน
ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ด้วยวัสดุ ‘อลูมิเนียมเจาะรู’
หากต้องการสร้างความแตกต่าง และโดดเด่นยิ่งกว่าเดิม ก็ต้องเป็นลักษณะของการเจาะรูหรือฉลุลวดลาย ลงบนผิวของแผ่นอลูมิเนียม ด้วยรูปแบบของ Aluminium Solid Perforated
‘ถ่อมตนแต่มีบุคลิกที่ชัดเจน’ กับก้าวต่อไปของวัสดุในงานสถาปัตยกรรม
เทรนด์การเลือกใช้วัสดุสำหรับงานออกแบบนั้น จะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งาน ที่เน้นการสร้างพื้นที่ส่วนบุคคลที่มีบุคลิกชัดเจน แต่ก็ต้องมีพื้นที่สำหรับความรู้สึกเชื่อมโยง และกลับสู่ความเป็นชุมชนอีกครั้ง