เปลี่ยนโฉม โดดเด่น เน้นใช้งาน… ทำไมถึงต้องรีโนเวทฟาซาดอาคาร?

ความสวยงามของรูปลักษณ์ด้านหน้าอาคาร ความเหมาะสมกับการใช้งานของอาคาร รวมถึงการใช้วัสดุที่มีคุณภาพ เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเอกลักษณ์ที่ดีให้กับอาคาร ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่ป้องกันอาคารจากสภาพแวดล้อมโดยรอบแล้ว การออกแบบฟาซาด (Façade) ของอาคารยังเป็นส่วนสำคัญของอาคาร ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งาน หรือผู้ที่ผ่านไปมา ตัวอย่างเช่น กระจกที่มีค่าสะท้อนแสงที่มากเกินไป จะเป็นการรบกวนอาคารที่อยู่ข้างเคียงได้ หรืออาคารที่มีผนังคอนกรีตทึบ มีแนวโน้มที่จะเก็บสะสมความร้อน และแผ่ขยายเข้าไปภายในอาคาร แต่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้คงอยู่ตลอดไป และสามารถปรับปรุงหรือต่อเติมวัสดุตกแต่งบางอย่าง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอาคารให้ดีมากยิ่งขึ้น

ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว นักออกแบบก็จะใช้วิธีการปรับปรุง/ต่อเติมพื้นที่ส่วนฟาซาด (Façade Renovation) เพื่อแก้ปัญหาหรือเสริมความแข็งแกร่งให้กับอาคาร ทั้งในด้านของโครงสร้างและภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น แต่เงื่อนไขของแต่ละอาคารนั้นย่อมต่างกันออกไป จึงทำให้เกิดคำถามที่ว่า เราควรปรับปรุงฟาซาดอาคารบ่อยแค่ไหน, เราควรเลือกใช้วัสดุอะไร, โครงสร้างเดิมจะรับน้ำหนักได้ไหม หรือหากทุบอาคารทิ้งแล้วสร้างใหม่ จะคุ้มค่ากับการลงทุนมากกว่าหรือไม่ 

…แล้วทำไมเราถึงต้องรีโนเวทฟาซาดอาคาร?

เหตุผลด้านความเสื่อมโทรมของอาคารเดิม

จริงอยู่ที่การก่อสร้างอาคารโดยส่วนมาก มักใช้หลักการของโครงสร้างที่เป็นมาตรฐานของการก่อสร้าง แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถทำให้อาคารเกิดการเปลี่ยนแปลงไป และส่งผลกระทบไปยังโครงสร้างหลัก ที่ทำให้ความแข็งแกร่งของอาคารลดลง หรือสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดี จากหลากหลายปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น สภาพอากาศและสภาพแวดล้อมรอบอาคาร ซึ่งเกิดจากการที่ผิวอาคารสัมผัสกับองค์ประกอบทางธรรมชาติ เช่น แสงแดด ฝน ลม ร่มเงา และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโดยฉับพลัน สิ่งเหล่านี้อาจทำให้วัสดุปิดผิวอาคารหรือวัสดุตกแต่งสึกหรอได้ นำไปสู่การแตก หลุดล่อน บิดงอ เกิดการเปลี่ยนสี หรือเกิดความเสียหายในรูปแบบอื่นๆ

ส่วนปัญหาเรื่องความชื้น ก็สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อน้ำ(หรือน้ำฝน) เข้าสู่พื้นผิวอาคารผ่านทางรอยรั่วหรือรอยร้าว ซึ่งนำไปสู่การแพร่กระจายของเชื้อรา การเน่าเปื่อย ที่สร้างกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ หรือหากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน ก็อาจส่งผลไปถึงความแข็งแรงของโครงสร้างได้ เช่นเดียวกับการสัมผัสกับสารเคมีอื่นๆ อย่างสารจากมลพิษทางอากาศ สารจากการทำความสะอาด หรือของเสียจากอุตสาหกรรม ที่สามารถทำลายพื้นผิวอาคาร ทำให้เกิดการเปลี่ยนสี การกัดกร่อน หรือแม้แต่ความเสียหายของโครงสร้างด้วยเช่นกัน

หรือการขาดการบำรุงรักษาที่ถูกต้องและสม่ำเสมอ ประกอบกับวัสดุตกแต่งหรือวัสดุเชื่อมประกอบ ที่ต้องมีการเสื่อมสภาพเนื่องจากอายุการใช้งานจากปัจจัยอื่นๆ ข้างต้น ซึ่งสาเหตุที่กล่าวมาทั้งหมด นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอาคารเดิม ซึ่งการแก้ไขก็ต้องเริ่มจากการระบุต้นตอของการเสื่อมสภาพและประเมินความเสียหายโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อกำหนดขอบเขตการทำงานและงบประมาณที่ชัดเจน แล้วจึงเริ่มต้นวางแผนการซ่อมแซมหรือปรับปรุงต่อไป ซึ่งหากเปรียบเทียบมูลค่าของการก่อสร้างแล้ว การรื้อถอนและทำลายอาคารเก่าเพื่อสร้างขึ้นใหม่ ย่อมใช้งบประมาณมากกว่าการปรับปรุงผิวอาคารเพียงบางส่วน ซึ่งสามารถระบุพื้นที่ได้ชัดเจน และส่งผลไปถึงประสิทธิภาพของอาคารโดยรวมได้

เหตุผลด้านการใช้งานที่เปลี่ยนไป

หากเราตัดสินใจในการปรับปรุงฟาซาดอาคารแล้ว ก็ต้องมั่นใจว่า ‘พื้นที่ส่วนผิวอาคารใหม่นี้ จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มศักยภาพการใช้งานของพื้นที่ภายในให้ดียิ่งขึ้น’

ตัวอย่างเช่น วัสดุตกแต่งผิวอาคารที่ออกแบบเป็นแผงบังแดดที่สามารถปรับเปลี่ยนทิศทางของแผงได้อัตโนมัติ (Moveable Louver) จะช่วยควบคุมปริมาณแสงธรรมชาติ ที่ส่องเข้ามาภายในอาคาร ซึ่งสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในอาคารได้ โดยลดความจำเป็นในการใช้แสงประดิษฐ์ และเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานภายใน และยังสามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน โดยการลดการสูญเสียความร้อนจากภายใน ลดการแทรกซึมของอากาศ และลดปริมาณความร้อนที่ได้รับจากแสงอาทิตย์

ซึ่งความร้อนและแสงสว่าง ส่งผลโดยตรงต่อการใช้งานภายในที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การปรับเปลี่ยนพื้นที่ห้องเก็บของให้เป็นห้องประชุม ก็ต้องมีการเปิดให้แสงสว่างเข้าถึงแต่ก็ต้องการความเป็นส่วนตัว หรือการปรับเปลี่ยนพื้นที่โถงทางเดินเป็นพื้นที่นั่งทำงาน ก็ต้องมีการควบคุมปริมาณของแสงและความร้อนอย่างเหมาะสม รวมถึงการเปิดรับบรรยากาศภายนอก เพื่อสร้างความรู้สึกกระตือรือร้นและผ่อนคลายได้ในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งนอกด้านจากการใช้งานแล้ว แสงสว่างที่เพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ ก็มีผลต่อความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานในอาคาร และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในการทำงาน

Smart Louver: AF-Moveable
Smart Louver: AF-Moveable

เหตุผลด้านการตอบสนองต่อลูกค้ากลุ่มใหม่

อีกหนึ่งคำถามหลักของการปรับปรุงฟาซาดอาคารก็คือ ‘รูปลักษณ์เดิมของอาคาร ยังตรงตามความต้องการทางธุรกิจหรือไม่?’ การปรับปรุงใหม่อาจช่วยเพิ่มความน่าสนใจและสร้างความน่าจดจำให้กับธุรกิจ และสามารถปรับให้ตรงกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้มากขึ้น 

ตัวอย่างเช่น การออกแบบฟาซาดเป็นวัสดุอลูมิเนียมฉลุลวดลาย (Aluminium Perforated) ที่เป็นรูปแบบของตราสัญลักษณ์หรือรูปภาพที่สื่อสารถึงองค์กร ซึ่งนอกจากจะได้ความสวยงามโดดเด่นแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการกรองแสงแดดและความร้อน ที่ไปกระทบบริเวณผิวอาคาร และช่วยลดแสงสว่างที่รบกวนการใช้งานภายในได้ดี

ซึ่งการปรับปรุงฟาซาดอาคารใหม่ ช่วยให้สามารถตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้ดีขึ้น เช่น ส่วนหน้าอาคารพาณิชย์หรือร้านค้า ที่ได้รับการออกแบบฟาซาดให้มีความโดดเด่น แตกต่าง และสื่อสารถึงวัตถุประสงค์ในการค้าขายได้อย่างชัดเจน ก็จะสามารถดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจเป็นลูกค้ากลุ่มเดิมหรือลูกค้ากลุ่มใหม่ ให้สามารถจดจำธุรกิจของเราได้ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาให้พื้นที่ภายนอก ที่ส่งผลต่อผู้ที่สัญจรผ่านไปมา เพื่อสร้างการรับรู้และส่งต่อไปให้กับผู้อื่น เป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าได้อย่างต่อเนื่อง

ส่วนในมุมมองของเจ้าของโครงการ เมื่อมีการลงทุนปรับปรุงฟาซาดอาคารใหม่แล้ว ก็ควรเลือกใช้งานวัสดุที่มีคุณภาพสูง มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย เพื่อลดภาระด้านการซ่อมบำรุง และเป็นวัสดุที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ส่งผลให้อาคารดูมีระดับ น่าเชื่อถือ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีมีคุณค่าให้กับองค์กร สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นแบบอย่างให้กับอาคารอื่นๆ ได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่า และส่งเสริมความยั่งยืนในการพัฒนาธุรกิจแบบระยะยาวต่อไป

Aluminium Composite Panel
Aluminium Composite Perforated

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์: http://m.me/famelinegroup

ติดตามข้อมูลผลิตภัณฑ์: https://lin.ee/gXR26yi

ดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม: https://anyflip.com/bookcase/plils

บทความที่เกี่ยวข้อง

Article

ความแตกต่างระหว่างไส้กลาง Polyethylene (PE) และไส้กลาง Fire Retardant (FR) กับการเลือกใช้วัสดุ Aluminium Honeycomb Panel

แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต หรือการนำแผ่นอลูมิเนียมมาประกบกันคล้ายแซนวิช โดยมีแกนกลางเป็นวัสดุ โพลิเอทิลีน (Polyethylene – PE) หรือสารหน่วงไฟ (Fire Retardant – FR) ซึ่งวัสดุแกนกลางแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติเฉพาะ ที่ตอบสนองความต้องการในการก่อสร้าง และการพิจารณาด้านความปลอดภัยที่แตกต่างกัน

Article

‘Prefabricated Construction’ ก่อสร้างเสร็จ และสำเร็จ(รูป)ได้มากกว่า

‘Prefabricated Construction’ หรือการก่อสร้างสำเร็จรูป เป็นวิธีการก่อสร้างที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น จากกระบวนการที่ใช้ส่วนประกอบที่ผลิตในโรงงาน จากนั้นจึงขนส่งวัสดุมาประกอบที่หน้าไซต์งาน

Article

ออกแบบ ‘Double Space’ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวัสดุ ‘Mega+ Ceiling’

การเพิ่มพื้นที่เป็นเท่าตัวในระยะแนวตั้ง หรือที่เรียกว่า ‘Double Space’ (หรือ Double Volume) ซึ่งการออกแบบในลักษณะนี้ ก็ต้องมีการเลือกใช้งานวัสดุที่เหมาะสม

Article

‘Smart Architecture’ การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน จากสถาปัตยกรรมสุดสมาร์ท

เมื่อเรามองถึงอนาคตของสถาปัตยกรรม แน่นอนว่าต้องมีเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่พร้อมจะปฏิวัติวงการนี้ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้สถาปนิกทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และนำไปสู่การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน

Article

ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ด้วยวัสดุ ‘อลูมิเนียมเจาะรู’

หากต้องการสร้างความแตกต่าง และโดดเด่นยิ่งกว่าเดิม ก็ต้องเป็นลักษณะของการเจาะรูหรือฉลุลวดลาย ลงบนผิวของแผ่นอลูมิเนียม ด้วยรูปแบบของ Aluminium Solid Perforated

Article

‘ถ่อมตนแต่มีบุคลิกที่ชัดเจน’ กับก้าวต่อไปของวัสดุในงานสถาปัตยกรรม

เทรนด์การเลือกใช้วัสดุสำหรับงานออกแบบนั้น จะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งาน ที่เน้นการสร้างพื้นที่ส่วนบุคคลที่มีบุคลิกชัดเจน แต่ก็ต้องมีพื้นที่สำหรับความรู้สึกเชื่อมโยง และกลับสู่ความเป็นชุมชนอีกครั้ง