แดดร้อน ฝนตก ลมแรง ทำไมสภาพภูมิอากาศจึงมีความสำคัญต่อผิวอาคาร

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 การจัดทำรายงานเรื่องความเสี่ยงจากทั่วโลกของ World Economic Forum ได้จัดอันดับเรื่องของ ‘สภาพอากาศที่รุนแรง’ ให้เป็นความเสี่ยงอันดับต้นๆ ของโลก ในแง่ของความเป็นไปได้กับการส่งผลกระทบที่มากกว่าความเสี่ยงประเภทอื่นๆ ซึ่งก็เป็นที่ชัดเจนว่า สภาพอากาศที่แปรปรวนเป็นความเสี่ยงที่สำคัญของโลกในปัจจุบัน และแน่นอนว่าส่งผลกระทบไปถึงอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องระยะเวลาการก่อสร้างให้ตรงตามแผน งบประมาณ แรงงาน และการใช้ทรัพยากรต่างๆ ซึ่งปัญหาสภาพอากาศ อาจทำให้งานก่อสร้างเกิดความล่าช้า และมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น

ส่วนอีกสาเหตุหนึ่ง ก็เป็นเพราะสภาพอากาศมีอิทธิพลจากตัวแปรมากมายที่ยากจะคาดเดา แม้ว่าการพยากรณ์อากาศอาจทำให้เห็นมุมมองโดยรวม แต่รายงานประเภทนี้ก็ไม่สามารถทำนายเหตุการณ์ในระยะสั้นได้อย่างแม่นยำ เช่น ลมกระโชก ลูกเห็บ และความปั่นป่วนทางอากาศ รวมไปถึงกำลังลมรุนแรง ที่พัดผ่านระหว่างอาคารขนาดใหญ่ ที่จะไม่แสดงให้เห็นในการรายงานสภาพอากาศ

แต่เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของโครงการหรือเจ้าของบ้าน ต้องลดความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับโครงสร้างของอาคาร ด้วยการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ทนทานต่อสภาพอากาศ สามารถทนต่อสภาพฝนตกชุก ลมแรง และแสงแดดที่ร้อนจัด ซึ่งผันผวนสลับกันไปมาตลอดทั้งปี (โดยเฉพาะในประเทศไทย)

ผลกระทบจากสภาพอากาศต่อผิวอาคาร

เมื่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่งผลไปถึงเรื่องอุณหภูมิ ความชื้น หยดน้ำ หรือความเย็น ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ด้วย เช่น การเดินทางในช่วงที่มีฝนตกชุก หรือการพักอาศัยในบ้านที่มีอุณหภูมิสูงโดยไม่มีการระบายอากาศที่ดี ก็ส่งผลเสียไปถึงสุขภาพจิตได้ในระยะยาว ส่วนผลกระทบที่เกิดกับตัวอาคารนั้น ก็ส่งผลเสียได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่มากระทำ อย่างแรงลมหรือแรงดันลมที่รุนแรง ที่ทำให้เกิดสภาวะของแรงดึง เกิดขึ้นเมื่อแรงดันลมที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว สร้างพื้นที่ที่มีแรงดันต่ำที่ด้านใต้ลม อย่างเช่นในบริเวณหลังคา ผนัง และภายในบ้าน โดยแรงดันภายในบ้าน สามารถดันองค์ประกอบทางโครงสร้าง ให้หลุดออกไปด้านนอกได้ ซึ่งมีความเสี่ยงมากในกรณีของการปิดรอยต่อที่ไม่สนิทระหว่างวัสดุ ซึ่งจะสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับโครงสร้างอื่นๆ

ส่วนความร้อนจากดวงอาทิตย์ เป็นพลังงานทางธรรมชาติ ที่มีทั้งคุณและโทษในสิ่งเดียวกัน ซึ่งในกระบวนการก่อสร้าง แสงแดดอาจทำให้โครงสร้างแห้งเร็วขึ้น หรือทำให้การก่อสร้างดำเนินไปได้ตามขั้นตอนที่กำหนด แต่แสงแดดที่ร้อนจัดเป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลให้วัสดุที่มีความยืดหยุ่นเกิดความเสียหาย และกระทบไปถึงพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของอาคารได้ด้วย ตัวอย่างเช่น อาคารที่ร้อนอบอ้าว จากการไม่มีช่องสำหรับระบายอากาศ ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น เฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านเกิดความเสียหาย หรือเกิดรอยแตกร้าวที่ก่อตัวขึ้นบริเวณผนังด้านนอก ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบด้านความสวยงามของอาคารแล้ว ยังส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานในอาคารอีกด้วย

วิวัฒนาการของวัสดุผิวอาคาร

วัสดุที่นิยมใช้กับงานสถาปัตยกรรม โดยส่วนมากต้องมีคุณสมบัติด้านความสวยงาม และมีสไตล์ที่ชัดเจน

ตัวอย่างเช่น ในสมัยก่อนมีการใช้ ‘ไม้’ เป็นองค์ประกอบหลักในงานตกแต่งหรืองานโครงสร้าง ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าเมื่อเทียบกับหิน มีความแข็งแรงเมื่อผ่านกระบวนการขจัดความชื้นออกไป และยังตัดแต่งรูปทรงได้ไม่ยาก แต่ไม้ก็ยังคงมีความเสี่ยงต่อความชื้น เน่าแห้ง การถูกโจมตีจากปลวก และปัญหาเรื่องการลามไฟ

หรือการใช้ ‘หินธรรมชาติ‘ ซึ่งมีคุณค่าด้านความสวยงาม เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง รองรับน้ำหนักได้มากในแนวดิ่ง ทนทานต่อสภาพอากาศได้ดี ทนไฟ แต่ด้วยน้ำหนักที่มหาศาล ทำให้ในปัจจุบัน มีวัสดุสังเคราะห์ที่เลียนแบบรูปลักษณ์ของหิน จึงได้รับความนิยมมากกว่าด้วยน้ำหนักที่เบากว่ามาก

ส่วนวัสดุที่ทนทานอย่าง ‘อิฐ’ ที่ผลิตขึ้นจากดินเหนียว ก็ถูกนำมาใช้งานเป็นผนังตั้งแต่ในอดีต อย่างในโบราณสถานหลายๆ แห่ง เช่น ท่อส่งน้ำโรมัน วิหารแพนธีออน และกำแพงเมืองจีน จนมีการพัฒนารูปแบบของแม่พิมพ์ เพื่อสร้างอิฐที่มีความสม่ำเสมอ สำหรับการติดตั้งที่สะดวกยิ่งขึ้น อิฐเหล่านี้มีความแข็งแกร่ง ทนแดด ทนไฟ ก่อง่าย และสะดวกในการทำงาน

หรือการใช้ ‘คอนกรีต’ ที่สามารถเสริมแรงเพื่อเพิ่มความต้านทานต่อแรงดึง (คอนกรีตเสริมเหล็ก) ซึ่งสามารถขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่างๆ ได้ ทำให้เป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับผนัง คาน แผ่นพื้น ฐานราก และการใช้งานอื่นๆ เป็นตัวเลือกการก่อสร้างที่ยืดหยุ่น เชื่อถือได้ และประหยัด

รวมถึงการใช้งาน ‘เหล็ก’ ที่สามารถขึ้นรูปได้ง่าย เพื่อให้ติดตั้งได้รวดเร็ว ผ่านการเชื่อม สลักเกลียว หรือตอกหมุด และยังสามารถรีไซเคิลได้ 100% แก้ปัญหาเรื่องการสร้างสรรค์รูปแบบที่ซับซ้อน ซึ่งการใช้งานวัสดุเหล่านี้ อาจมีข้อผิดพลาดได้ในส่วนที่เกิดการเชื่อมต่อกับวัสดุเชื่อม หรือปัญหาจากฝีมือช่าง คุณภาพวัสดุ หรือการเปลี่ยนแปลงจากสภาพอากาศที่รุนแรงได้เช่นกัน

ปกป้องอาคารด้วย ‘Aluminium Wall Cladding’

จากปัญหาต่างๆ ของวัสดุผิวอาคาร ทำให้ในปัจจุบัน มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมในวัสดุใหม่ๆ เพื่อช่วยปกป้องพื้นที่ส่วนนี้ เพื่อลดผลกระทบต่ออาคารและการใช้งานโดยรวม ซึ่งวัสดุในกลุ่ม ‘Aluminium Wall Cladding’ หรือการห่อหุ้มอาคารด้วยแผ่นอลูมิเนียม ที่มีคุณสมบัติอันโดดเด่น ด้วยน้ำหนักที่เบากว่าวัสดุอื่นๆ ในปริมาตรที่เท่ากัน ทำให้ไม่เป็นภาระต่อโครงสร้างหลักของอาคาร มีความแข็งแรง ทนทานต่อแสงแดด การกัดกร่อน ความชื้นและสนิม มีกระบวนการขนส่ง ติดตั้ง ถอดถอน ที่สะดวกรวดเร็ว และที่สำคัญคือมีรูปแบบของแผ่นที่หลากหลาย ทั้งรูปทรง ขนาด สีสัน ที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของนักออกแบบ และยังตอบโจทย์การใช้งานกับอาคารได้ครบทุกประเภท

ซึ่งมาจากคุณสมบัติเรื่องความยืดหยุ่นของวัสดุอลูมิเนียม ที่ทำให้สามารถพัฒนาวัสดุให้ตอบโจทย์การใช้งานได้หลากหลายกว่าวัสดุอื่นๆ ทั้งในรูปแบบของแผ่นอลูมิเนียมขนาดใหญ่ห่อหุ้มทั้งอาคาร ก็สามารถเลือกใช้เป็น วัสดุ ‘Aluminium Composite Panel (ACP)’ ที่เป็นลักษณะของแผ่นอลูมิเนียมสองแผ่นประกบเข้าด้วยกัน โดยมีไส้กลางเป็นวัสดุโพลีเอทิลีน (PE) เคลือบสีด้วยระบบ Coil Coating ที่ทำให้มีพื้นผิวเรียบเนียนสม่ำเสมอ

ส่วนวัสดุ ‘Aluminium Honeycomb Panel (AHP)’ ซึ่งมีไส้กลางเป็นอลูมิเนียมโครงสร้างแบบรังผึ้ง จึงทำให้ตัวแผ่นมีน้ำหนักเบาลง และได้เสถียรภาพด้านความแข็งแกร่งที่เท่ากันทั่วทั้งผืน

Aluminium Composite Panel
Aluminium Honeycomb Panel (Fin) & Aluminium Perforated

หรือลักษณะของ ‘Aluminium Solid Cladding’ ที่มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบแผ่นเรียบ Aluminium Solid Panel ซึ่งเป็นแผ่นอลูมิเนียมล้วนทั้งแผ่น หรือแบบเจาะรู Aluminium Perforated ที่มีลวดลายรูปแบบฉลุมาตรฐาน ทั้งรูปแบบรูทรงกลม ทรงรี สี่เหลี่ยม หรือออกแบบเป็นรูปภาพ ข้อความ ตราสัญลักษณ์ขององค์กร ที่ทำให้ผิวอาคารมีความโปร่งเบา ช่วยระบายอากาศและกรองความร้อนที่มากระทบกับผิวอาคารได้ดี

หรือวัสดุแผ่นอลูมิเนียมตกแต่งผนังสำเร็จรูปอย่าง ‘Plank Clad’ ซึ่งเป็นตัวเลือกในการออกแบบที่แตกต่างและหลากหลาย มีให้เลือกถึง 3 รูปแบบ ได้แก่ รุ่น ‘Corrugated’ ซึ่งเป็นแผ่นอลูมิเนียมลักษณะลอนคลื่นและลอนเหลี่ยม รุ่น ‘Shingle’ ที่เป็นแผ่นอลูมิเนียมรูปทรงสี่เหลี่ยมรูปจตุรัส หรือสี่เหลี่ยมรูปว่าว และรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรุ่น ‘Tongue & Groove’ ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นอลูมิเนียมแบบเรียบเส้นยาว ที่สามารถติดตั้งแบบผสมขนาดหน้ากว้างได้ในโครงเดียวกัน เพิ่มความหลากหลายในการเลือกใช้งาน ทำให้งานออกแบบมีความโดดเด่นทันสมัย และที่สำคัญ สามารถช่วยป้องกันสภาพอากาศที่รุนแรง และรักษาความทนทานของวัสดุผิวอาคาร ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแกร่งของอลูมิเนียมนั่นเอง

 

Aluminium Perforated
Plank Clad (Corrugated)

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์: http://m.me/famelinegroup

ติดตามข้อมูลผลิตภัณฑ์: https://lin.ee/gXR26yi

ดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม:

บทความที่เกี่ยวข้อง

Article

ความแตกต่างระหว่างไส้กลาง Polyethylene (PE) และไส้กลาง Fire Retardant (FR) กับการเลือกใช้วัสดุ Aluminium Honeycomb Panel

แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต หรือการนำแผ่นอลูมิเนียมมาประกบกันคล้ายแซนวิช โดยมีแกนกลางเป็นวัสดุ โพลิเอทิลีน (Polyethylene – PE) หรือสารหน่วงไฟ (Fire Retardant – FR) ซึ่งวัสดุแกนกลางแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติเฉพาะ ที่ตอบสนองความต้องการในการก่อสร้าง และการพิจารณาด้านความปลอดภัยที่แตกต่างกัน

Article

‘Prefabricated Construction’ ก่อสร้างเสร็จ และสำเร็จ(รูป)ได้มากกว่า

‘Prefabricated Construction’ หรือการก่อสร้างสำเร็จรูป เป็นวิธีการก่อสร้างที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น จากกระบวนการที่ใช้ส่วนประกอบที่ผลิตในโรงงาน จากนั้นจึงขนส่งวัสดุมาประกอบที่หน้าไซต์งาน

Article

ออกแบบ ‘Double Space’ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวัสดุ ‘Mega+ Ceiling’

การเพิ่มพื้นที่เป็นเท่าตัวในระยะแนวตั้ง หรือที่เรียกว่า ‘Double Space’ (หรือ Double Volume) ซึ่งการออกแบบในลักษณะนี้ ก็ต้องมีการเลือกใช้งานวัสดุที่เหมาะสม

Article

‘Smart Architecture’ การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน จากสถาปัตยกรรมสุดสมาร์ท

เมื่อเรามองถึงอนาคตของสถาปัตยกรรม แน่นอนว่าต้องมีเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่พร้อมจะปฏิวัติวงการนี้ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้สถาปนิกทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และนำไปสู่การอยู่อาศัยที่ยั่งยืน

Article

ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ด้วยวัสดุ ‘อลูมิเนียมเจาะรู’

หากต้องการสร้างความแตกต่าง และโดดเด่นยิ่งกว่าเดิม ก็ต้องเป็นลักษณะของการเจาะรูหรือฉลุลวดลาย ลงบนผิวของแผ่นอลูมิเนียม ด้วยรูปแบบของ Aluminium Solid Perforated

Article

‘ถ่อมตนแต่มีบุคลิกที่ชัดเจน’ กับก้าวต่อไปของวัสดุในงานสถาปัตยกรรม

เทรนด์การเลือกใช้วัสดุสำหรับงานออกแบบนั้น จะต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งาน ที่เน้นการสร้างพื้นที่ส่วนบุคคลที่มีบุคลิกชัดเจน แต่ก็ต้องมีพื้นที่สำหรับความรู้สึกเชื่อมโยง และกลับสู่ความเป็นชุมชนอีกครั้ง