Le Corbusier หนึ่งในสถาปนิกผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในศตวรรษที่ 20 ชาวสวิส-ฝรั่งเศสได้กล่าวไว้ว่า

“การเพิ่มขีดความสามารถของพื้นที่ เป็นหนึ่งในพื้นฐานของสถาปัตยกรรมร่วมสมัย สถาปัตยกรรมเป็นแนวคิดหลักในการสร้างบรรยากาศที่น่าเกรงขามอย่างไร้ขีดจำกัด และต้องส่งผลดีต่อวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย”

แนวคิดของเขายังคงมีอยู่จนถึงทุกวันนี้ โดยแสดงออกผ่านการพยายามข้ามขีดจำกัดในด้านงานออกแบบ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งห็คือ การเพิ่มพื้นที่เป็นเท่าตัวในระยะแนวตั้ง หรือที่สถาปนิกเรียกว่า Double Space (หรือ Double Volume ซึ่งมีความหมายเดียวกัน) ซึ่งเป็นการเพิ่มความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดาน เป็นอย่างน้อยสองเท่าจากระยะความสูงของพื้นที่อื่นในบริเวณเดียวกัน

โดยในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านหลายหลังมีฝ้าเพดานสูงโปร่ง พร้อมรายละเอียดงานตกแต่งที่หรูหรา ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัย และเป็นลักษณะที่สร้างความจดจำและดึงดูดสายตาได้ดี จากนั้นในปี 1960 และ 1970 เจ้าของบ้านเริ่มเห็นว่าพื้นที่ที่มากจนเกินไปนั้น ทำให้อากาศภายในอาคารร้อนยิ่งขึ้น จึงนิยมจัดสรรพื้นที่ให้มีความกะทัดรัดมากขึ้น จนในช่วงปี 1980 และ 1990 เทรนด์ของ Double Space กลับมาอีกครั้ง ผู้คนเริ่มใส่ใจกับพื้นที่เปิดโล่งและปริมาตร มีข้อมูลบางส่วนระบุว่า การฟื้นฟูพื้นที่แบบนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการอนุรักษ์อาคารอพาร์ตเมนต์ ในรูปแบบฝ้าเพดานสูงในยุคก่อนสงคราม รวมไปถึงรูปแบบของโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก ที่ถูกปรับปรุงใหม่ให้เป็นสำนักงาน ทำให้มีพื้นที่เปิดโล่งและมีแสงสว่างเพียงพอ จนผู้คนเริ่มชื่นชอบในความโปร่งสบาย และถ่ายทอดความรู้สึกแบบเดียวกันนี้ ไปสู่อาคารที่อยู่อาศัย จนเป็นแนวคิดในการออกแบบที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน

ประโยชน์จากการเพิ่มความสูงฝ้าเพดาน

การออกแบบด้วยลักษณะ Double Space นั้น สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ ตัวอย่างเช่น หากเราออกแบบห้องที่มีขนาดความกว้างไม่มากนัก การออกแบบความสูงของฝ้าในระดับมาตรฐานอาคารทั่วไป (ประมาณ 2.60-2.80 เมตร) จะรู้สึกว่าพื้นที่ค่อนข้างอึดอัด การเพิ่มพื้นที่ฝ้าด้านบนให้ครอบคลุมไปถึงชั้นที่สอง จะเป็นการเพิ่มเติมมิติความลึกเข้ามาสู่พื้นที่ ทำให้รู้สึกว่าห้องมีขนาดใหญ่ขึ้น จากสัดส่วนที่ทำให้รู้สึกสบายและสร้างความรู้สึกดึงดูดทางสายตาได้มากขึ้น หากออกแบบพื้นที่ส่วนนี้ร่วมกับวัสดุโปร่งใสบริเวณผนังด้านข้าง ก็จะทำให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาในพื้นที่ภายใน ช่วยประหยัดพลังงานด้านการส่องสว่างในช่วงเวลากลางวัน สร้างการไหลเวียนของอากาศและระบบการระบายอากาศที่ดี ลดการพึ่งพาระบบระบายอากาศเชิงกล และสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น

จากปริมาณพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นสองเท่า ทำให้มีความยืดหยุ่นในการออกแบบและการปรับตัวที่มากขึ้น พื้นที่โล่งในแนวตั้งสามารถรองรับกิจกรรมต่างๆ ได้ เช่น การแสดงผลงานศิลปะขนาดใหญ่ หรือการแสดงบนเวที ได้สามารถเพิ่มอุปกรณ์ตกแต่งที่ช่วยสร้างบรรยากาศได้อย่างหลากหลาย และยังสามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ได้ตามความต้องการ หรือการใช้พื้นผิวและองค์ประกอบในการตกแต่ง มาสร้างสรรค์ลักษณะและสร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้มากขึ้นเช่นกัน ถ้าเป็นงานออกแบบบ้าน ก็จะเป็นพื้นที่สำหรับการเพิ่มมูลค่าของบ้านได้ ด้วยคุณลักษณะที่ดูสง่างามของพื้นที่แบบ Double Space ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า บ้านที่มีพื้นที่ลักษณะนี้ภายใน จะช่วยเพิ่มโอกาสในการซื้อขายได้ง่ายยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ในทางจิตวิทยา ฝ้าเพดานที่สูงกว่าปกติยังส่งเสริมเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ และเชื่อมโยงกับความรู้สึกปลดปล่อยอย่างอิสระ ลดผลกระทบทางอารมณ์ หากนำไปออกแบบกับอาคารขนาดใหญ่จะทำให้รู้สึกน่าเกรงขามและยิ่งใหญ่ สร้างความรู้สึกโอ่อ่า สร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจน และสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำให้กับผู้มาเยือน รวมถึงยังช่วยเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ ภายในอาคาร ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ การสื่อสาร และความรู้สึกเป็นชุมชนในลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

สถาปัตยกรรมในรูปแบบ ‘Double Space’

การออกแบบพื้นที่แบบ ‘Double Space’ เหมาะสมกับรูปแบบสถาปัตยกรรมทั้งแบบสมัยใหม่และร่วมสมัย เนื่องจากมีเส้นสายที่สะอาดตา มีความสวยงามแบบเรียบง่าย (Minimalist) และการเน้นที่ประโยชน์ใช้สอยโดยผสมผสานเข้ากับแนวคิดของพื้นที่เปิดโล่ง ซึ่งก็มีลักษณะพื้นที่สำหรับการใช้งานได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น พื้นที่เอเทรียม (Atriums) หรือห้องโถงใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลางภายในอาคาร ที่มักจะขยายเพื่อครอบคลุมพื้นที่หลายชั้น สร้างช่องว่างในแนวตั้งที่น่าประทับใจ ช่วยให้แสงธรรมชาติส่องผ่านเข้าไปในอาคารได้ลึกขึ้นและให้การเชื่อมต่อภาพระหว่างระดับชั้นต่างๆ ได้ดี หรือถ้าในสัดส่วนที่กระชับลงมา และนิยมออกแบบกับงานโรงแรม คอนโดมิเนียม หรืออาคารสำนักงาน อย่างพื้นที่ส่วน ‘ล็อบบี้’ (Lobby) เนื่องจากอาคารพักอาศัยบางแห่งอาจมีความสูงของฝ้าเพดานที่น้อย การเพิ่มระยะจากพื้นถึงฝ้าเพดาน จะช่วยทำให้พื้นที่ดูสง่างาม และเพิ่มความสะดวกสบายน่าพักผ่อนมากยิ่งขึ้น

ในอาคารประเภทพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ ก็มักใช้พื้นที่ลักษณะนี้ในการจัดนิทรรศการเพื่อรองรับงานศิลปะหรือการติดตั้งขนาดใหญ่ ทำให้มีระยะห่างในแนวตั้งที่จำเป็น สามารถสร้างบรรยากาศที่น่าทึ่งให้กับผู้เข้าชม เช่นเดียวกันกับการจัดฉาก แสง สี เสียง ในพื้นที่ของโรงละคร ห้องแสดงคอนเสิร์ต หรือโรงละครโอเปร่า เพื่อผลลัพธ์ที่ดีในด้านการรับชม และบางครั้งยังช่วยเพิ่มคุณภาพของแสงและเสียงให้ดียิ่งขึ้นด้วย ในขณะที่อาคารสถานศึกษา ห้องสมุด หรือหอประชุม ก็สามารถใช้ประโยชน์จากการออกแบบ Double Space เพื่อสร้างพื้นที่ที่เปิดกว้าง เป็นการส่งเสริมแรงบันดาลใจด้านการเรียนรู้ ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และเพิ่มความยืดหยุ่นสำหรับกิจกรรมต่างๆ

ทั้งนี้ การออกแบบต้องขึ้นอยู่กับข้อกำหนดเฉพาะของโครงการ ความต้องการด้านการใช้งานของอาคาร และแนวคิดในด้านความสวยงามของสถาปนิก ที่ต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น การเชื่อมโยงการใช้งานภายในอาคาร ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน และการแสดงออกถึงแนวคิดทางสถาปัตยกรรมที่ต้องการ เพื่อกำหนดตำแหน่งและวิธีการ ในการออกแบบ Double Space ให้ผสมผสานพื้นที่ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหนึ่งในองค์ประกอบหลักก็คือการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับพื้นที่ในบริเวณนี้

เมื่อพื้นที่ ‘Double’ วัสดุก็ต้อง ‘Mega+’

การออกแบบพื้นที่ขนาดใหญ่พิเศษ ก็ย่อมต้องการวัสดุที่มีขนาดใหญ่พิเศษเช่นกัน แต่โดยส่วนมากแล้ว วัสดุสำหรับบงานออกแบบพื้นที่ขนาดใหญ่ ก็มักมีข้อจำกัดเรื่องของน้ำหนัก ความทนทาน การติดตั้ง หรือการดูแลรักษา ซึ่งสำหรับงานออกแบบฝ้าเพดานในพื้นที่แบบ ‘Double Space’ นั้น ก็ควรเป็นวัสดุฝ้าแผ่นใหญ่ที่ลดข้อจำกัดต่างๆ ดังที่กล่าวมาทั้งหมด อย่างวัสดุ Mega+ Ceiling จากแบรนด์ FAMELINE ที่ผลิตจากวัสดุอลูมิเนียมคุณภาพสูง ด้วยโครงสร้างของแผ่นแบบรังผึ้ง (Honeycomb) มีความแข็งแรงทนทาน มีความเรียบเนียนเสมอกันตลอดทั้งแผ่นแบบไม่แอ่นตัว มีน้ำหนักเพียง 5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งเบากว่าเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นที่ใช้งานในขนาดเดียวกัน ทำให้ลดภาระของโครงสร้างหลักได้ดี ใช้งานได้ทุกสภาพอากาศ ติดตั้งร่วมกับโครงอลูมิเนียมที่ได้มาตรฐาน สามารถเปิด-ปิดแผ่นฝ้า เพื่อขึ้นไปซ่อมบำรุงงานระบบด้านบนได้อย่างสะดวก สามารถทำความสะอาดตัวแผ่นฝ้าได้อย่างง่ายดาย ลดการสะสมของเชื้อโรคและแบคทีเรียภายในบริเวณอาคาร

และเพื่อการตอบโจทย์งานออกแบบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ฝ้ารุ่นมีจึงมีให้เลือกใช้งานถึง 2 ระบบ ก็คือระบบฝ้าภายใน Interior Clip-In System ที่มีแผ่นฝ้าขนาดกว้าง 1.20 เมตร ยาวสูงสุดได้ถึง 3.6 เมตร เพิ่มความสวยงามหรูหราทันสมัย ลดรอยต่อของงานฝ้าเพดาน ช่วยทำให้พื้นที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากยิ่งขึ้น

หรือสำหรับงานฝ้าภายนอก ก็สามารถเลือกใช้เป็น Exterior F System ที่มีขนาดกว้าง 1.20 เมตร มีความยาวได้ตั้งแต่ 1-6 เมตร เพื่อเป็นทางเลือกในการออกแบบบริเวณโดยรอบอาคาร โดยเฉพาะบริเวณส่วนทางเข้าให้มีความโอ่โถงกว้างใหญ่ เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นให้กับอาคารได้เป็นอย่างดี

มีโทนสีทั้งรูปแบบเรียบง่ายในสไตล์โมเดิร์น หรือโทนสีลายไม้ในสไตล์แบบธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้กับพื้นที่ และกลมกลืนไปกับแนวคิดของงานตกแต่งอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย นอกจากนี้วัสดุอลูมิเนียมยังมีคุณสมบัติด้านการไม่ลามไฟ และเป็นวัสดุที่ใช้ในการดูดซับเสียงที่ดี ทำให้ผู้ใช้งานอาคารเกิดความเชื่อมั่น และส่งเสริมประสิทธิภาพของพื้นที่ ‘Double Space’ ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

Ref.

https://xularchitecture.co.uk/inspiration/double-height-in-architecture/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า