Prefabricated Construction’ ก่อสร้างเสร็จ และสำเร็จ(รูป)ได้มากกว่า

‘Prefabricated Construction’ หรือ ‘การก่อสร้างสำเร็จรูป’ (ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Prefab) เป็นวิธีการก่อสร้างที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น จากกระบวนการที่ใช้ส่วนประกอบที่ผลิตในโรงงาน จากนั้นจึงขนส่งวัสดุและชิ้นส่วน เพื่อมาประกอบที่หน้าไซต์งาน ซึ่งเป็นกระบวนการที่คล่องตัว ควบคุมคุณภาพได้ดี และช่วยลดถอนความไม่จำเป็นต่างๆ ในงานก่อสร้าง นับว่าเป็นวิธีการปฏิวัติอุตสาหกรรมการก่อสร้าง เพื่อแสดงออกถึงศักยภาพของวัสดุ เทคโนโลยี นวัตกรรมและความยั่งยืนทางสถาปัตยกรรม

โดยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา กระบวนการก่อสร้างลักษณะนี้ ได้สร้างองค์ประกอบอาคารที่ซับซ้อนได้มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดข้อจำกัดของการก่อสร้าง(ในไซด์งาน)แบบดั้งเดิม ทำให้มีความแม่นยำ ลดการสูญเสียวัสดุที่ไม่จำเป็น และกำหนดระยะเวลาโครงการได้ชัดเจน ช่วยให้สถาปนิกได้ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการกำหนดรูปแบบและการใช้งาน ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีรายละเอียด มีประสิทธิภาพ และมีความประณีตมากกว่าเดิม

จุดเริ่มต้นของการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป

การก่อสร้างสำเร็จรูปเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในศตวรรษที่ 19 ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งการถือกำเนิดของอุตสาหกรรมนำมาซึ่งความก้าวหน้าในเทคนิคการผลิตและวัสดุก่อสร้าง ที่ทำให้สามารถผลิตชิ้นส่วนอาคารจำนวนมากได้ เช่น ประตู หน้าต่าง และส่วนประกอบโครงสร้าง ที่ผลิตไว้ล่วงหน้าแล้วนำมาประกอบที่หน้าไซต์งานได้เลย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ อาคาร ‘The Crystal Palace’ ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับการจัดนิทรรศการในกรุงลอนดอน ที่มีส่วนประกอบหลักเป็นเหล็กและกระจกสำเร็จรูป ซึ่งนำมาประกอบที่หน้างาน จนถึงช่วงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย ให้ก่อสร้างได้รวดเร็วและราคาย่อมเยา วิธีการก่อสร้างสำเร็จรูปจึงได้รับความนิยมในช่วงเวลานี้ โดยรัฐบาลและองค์กรต่างๆ ก็ให้การสนับสนุน โดยการนำส่วนประกอบของอาคารมาสร้างที่อยู่อาศัยขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับทหารที่กลับมาจากสงครามและประชากรที่เพิ่มขึ้น

The Crystal Palace

จนมาถึงช่วงปี 1960 แนวคิดของการก่อสร้างลักษณะนี้ก็ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยผสมผสานความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิศวกรรม และสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกัน รวมถึงการพัฒนาวัสดุใหม่ๆ เช่น วัสดุคอมโพสิตที่มีน้ำหนักเบาและทนทาน และนวัตกรรมอย่างการสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคาร (BIM) และการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ ช่วยให้สามารถออกแบบและผลิตชิ้นส่วนประกอบต่างๆ เพื่อทำให้งานก่อสร้างมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

และมาจนถึงในยุคปัจจุบัน ที่การออกแบบสถาปัตยกรรม ให้ความสำคัญกับแนวทางในการก่อสร้างอย่างยั่งยืน และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการก่อสร้าง ซึ่งการก่อสร้างสำเร็จรูปสอดคล้องกับเป้าหมายเหล่านี้เป็นอย่างดี จึงถูกนำมาปรับใช้ในโครงการต่างๆ มากขึ้น ตั้งแต่อาคารพักอาศัย (เช่น หอพัก อพาร์ทเมนต์ หรือคอนโดมิเนียม) โรงแรม โรงพยาบาล และอาคารสำหรับการศึกษา ซึ่งในอนาคตก็ยังคงมีการค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มเติมประสิทธิภาพให้กับกระบวนการสำเร็จรูปให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์จากความสำเร็จรูป

ถ้าลองพิจารณาตั้งแต่กระบวนการผลิต การก่อสร้างสำเร็จรูปนั้นลดความกังวล ความล่าช้า ผลกระทบจากสภาพอากาศ หรือปัจจัยอื่นๆ ในกระบวนการผลิต เนื่องจากสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการผลิตได้ตามมาตรฐานและสม่ำเสมอ และยังมีการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำไปใช้งานจริง ลดปัญหาการวางแผนที่ผิดพลาด ข้อผิดพลาดในการจัดส่ง และวัสดุที่ชำรุดเสียหาย ทำให้ได้รูปแบบของวัสดุตามคุณภาพและระยะเวลาที่ต้องการ ในขณะเดียวกัน พื้นที่หน้างานก็สามารถจัดเตรียมพื้นที่รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกันได้ ซึ่งกระบวนการทำงานได้แบบคู่ขนานนี้ สามารถช่วยลดระยะเวลาการก่อสร้างลงได้อย่างมาก

ซึ่งในปัจจุบัน ก็มีโครงการก่อสร้างมากมาย ที่แสดงให้เห็นว่าการก่อสร้างสำเร็จรูป สามารถช่วยประหยัดเวลาได้มากกว่า เมื่อเทียบกับการก่อสร้างแบบดั้งเดิม ด้วยการกำหนดระยะเวลาก่อสร้างที่ชัดเจน ลดระยะเวลาและข้อผิดพลาดในการประสานงาน ระหว่างฝ่ายวัสดุและฝ่ายติดตั้ง การขจัดผลกระทบจากสภาพอากาศ กระบวนการก่อสร้างก็มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ลดผลเสียที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่โครงสร้างก็มีความแข็งแรงเทียบเท่ากับโครงสร้างแบบดั้งเดิม มีการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ลดการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บของแรงงานก่อสร้าง โดยชิ้นส่วนประกอบสำเร็จรูปที่ผลิตออกมา สามารถออกแบบให้คำนึงถึงประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงาน ทำหน้าที่เป็นฉนวนให้กับอาคารได้ดีกว่า ซึ่งรูปแบบของการก่อสร้างสำเร็จรูป มีประโยชน์อย่างมากสำหรับโครงการที่มีความซ้ำซ้อน หรือโครงการที่มีรูปแบบของพื้นที่ที่เหมือนกัน

นอกจากนี้ การก่อสร้างแบบดั้งเดิมต้องมีวัสดุเหลือใช้ที่เกินจำเป็น ก่อให้เกิดขยะวัสดุจำนวนมากในไซต์งาน ส่วนการก่อสร้างด้วยวัสดุสำเร็จรูปมักจะถูกนำไปรีไซเคิลได้ ด้วยการผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปสำหรับแต่ละโครงการโดยเฉพาะ ซึ่งช่วยลดของเสียและต้นทุนการผลิต ลดจำนวนแรงงานที่พลุกพล่านในไซต์งาน ลดมลภาวะทางเสียงและฝุ่น ความแออัดจากการจราจร ที่รบกวนสภาพแวดล้อมโดยรอบ ช่วยเพิ่มความสามารถของแรงงาน ที่ต้องทำงานติดตั้งตามตารางเวลาที่ชัดเจน ผ่านการวางแผนและการสื่อสารที่แม่นยำมากขึ้น ทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างลดลง ส่งผลไปถึงเจ้าของโครงการ ที่สามารถได้รับผลตอบแทนเร็วขึ้น ด้วยกระบวนการส่งมอบงานก่อสร้างที่มีความชัดเจนมากขึ้นด้วย

วัสดุเพื่อการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป

มีวัสดุหลากหลายประเภทที่ใช้กันทั่วไปในการก่อสร้างสำเร็จรูป ซึ่งแต่ละชนิดก็มีประโยชน์และการใช้งานที่แตกต่างกันไป การเลือกใช้วัสดุนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทของโครงการ แนวคิดด้านความสวยงามในการออกแบบ รูปแบบของโครงสร้าง และการพิจารณาด้านงบประมาณ ตัวอย่างเช่น การนำคอนกรีตสำเร็จรูปมาหล่อเป็นรูปทรงและขนาดต่างๆ ของพื้นและผนัง การออกแบบโครงเหล็กสำเร็จรูป ในลักษณะแบบโครงถัก (Truss) สำหรับงานหลังคาบ้าน หรือแผ่นผนังตกแต่งลายไม้สำเร็จรูป เพื่อการติดตั้งที่รวดเร็วและสวยงามเสมือนไม้จริง

หรืออย่างวัสดุ Aluminium Honeycomb Panel (AHP) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ในกลุ่มของ Composite Panels ที่เป็นแผ่นอลูมิเนียมประกบไส้กลางโครงสร้างแบบรังผึ้ง ทำให้ตัวแผ่นมีน้ำหนักเบา มีความแข็งแกร่งไม่แอ่นตัว ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ ผิวเรียบเนียนสม่ำเสมอ ซึ่งช่องว่างระหว่างแผ่นยังมีข้อดีในการเป็นฉนวนกันเสียง กันความร้อน และไม่ติดไฟ โดยผ่านการรับรองมาตรฐานยุโรป EN 13501-1 มีคุณสมบัติกันไฟลาม (Fire Rating) ในระดับ Class A2 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับโครงการที่ต้องการความปลอดภัยทางด้านอัคคีภัย

ซึ่งกระบวนการผลิตแผ่น Aluminium Honeycomb Panel จาก FAMELINE ก็ได้ร้บการรับรองมาตรฐานว่าเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand: MiT) ผ่านมาตรฐานการทดสอบในทุกขั้นตอนการผลิต และการตรวจสอบคุณภาพของวัสดุทุกครั้งก่อนนำไปใช้งานจริง ซึ่งสามารถนำไปออกแบบในลักษณะแผ่นปิดผิวอาคารขนาดใหญ่ และติดตั้งประกอบที่หน้างานได้อย่างรวดเร็ว มีความหนาของแผ่นให้เลือกใช้งานตั้งแต่ 6-50 มิลลิเมตร มีเฉดสีให้เลือกหลากหลาย ด้วยระบบการเคลือบสีแบบ PVDF ที่ได้การรับรองมาตรฐาน AAMA (American Architectural Manufacturers Association) ทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน มีการรับประกันคุณภาพสี นาน 10 – 20 ปี (ขึ้นอยู่กับเฉดสีที่เลือกใช้) เหมาะสมกับงานออกแบบ โรงพยาบาล โรงแรม ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ และอาคารพักอาศัย

และเนื่องจากวัสดุทุกชิ้นส่วนถูกผลิตออกจากโรงงาน เพื่อนำมาประกอบติดตั้งที่หน้างานด้วยระบบแห้ง ทำให้กระบวนการก่อสร้างด้วยวัสดุ AHP สามารถทำงานในระบบการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดภาระของโครงสร้าง และวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ และยังเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ทั้งแผ่น ช่วยประหยัดทรัพยากร ลดการใช้พลังงาน และลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้กระบวนการก่อสร้าง ไม่ใช่แค่สร้างเสร็จ แต่สำเร็จ(รูป) ในทุกๆ ด้านได้มากกว่าจริงๆ

อ้างอิงแหล่งที่มา:

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า