พัฒนาการที่น่าตื่นเต้นในการออกแบบสถาปัตยกรรม เริ่มต้นมาตั้งแต่ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคแรกสุด ที่เป็นโครงสร้างเรียบง่ายจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ หิน และโคลน เมื่อเวลาผ่านไป มนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยให้พวกเขาสร้างอาคารที่ซับซ้อนและทนทานได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ในยุคสมัยอียิปต์โบราณมีการใช้หินปูนที่สามารถตัดด้วยเครื่องมือทองแดง เพื่อสร้างพีระมิดและวิหารขนาดใหญ่ ยุคสมัยกรีกโบราณ ก็มีลักษณะการออกแบบผังที่มีความสมมาตร โดยเน้นไปที่สัดส่วนและความกลมกลืน
ในช่วงยุคกลาง มีการออกแบบวิหารขนาดใหญ่ที่มาพร้อมห้องใต้ดิน และฐานหินที่สลับซับซ้อน มาถึงยุค สถาปัตยกรรมคลาสสิก โคลอสเซียม สถาปัตยกรรมสไตล์โกธิค ล้วนต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมและระบบการก่อสร้างที่พัฒนามากยิ่งขึ้น จนมาถึงยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่นำมาซึ่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียุคใหม่ ด้วยนวัตกรรมด้านวัสดุ การผลิต และวิธีการก่อสร้าง การประยุกต์ใช้เหล็ก คอนกรีต และกระจก มาเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ทำให้สามารถออกแบบโครงสร้างที่สูงใหญ่และซับซ้อนได้มากขึ้น
จนมาถึงในช่วงหลังสงคราม ที่เทคโนโลยีใหม่ยังคงสร้างรูปแบบสถาปัตยกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาระบบปรับอากาศ ช่วยให้สามารถออกแบบอาคารที่หุ้มด้วยกระจกทั้งหลัง หรือความก้าวหน้าในการออกแบบโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยให้สามารถสร้างแบบจำลองแบบสามมิติ และการสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคารผ่านระบบ BIM (Building Information Modeling) เพื่อความแม่นยำและรวดเร็ว ช่วยให้สถาปนิก วิศวกร และเจ้าของโครงการ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สถาปัตยกรรมในยุคเทคโนโลยี
เมื่อเรามองไปถึงอนาคตของสถาปัตยกรรม แน่นอนว่าต้องมีเทคโนโลยีเกิดใหม่หลายอย่าง ที่พร้อมจะปฏิวัติวงการนี้ หนึ่งในสิ่งที่มีแนวโน้มมากที่สุดคือปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ซึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการออกแบบ ก่อสร้าง และบำรุงรักษาอาคาร ผ่านการสร้างสรรค์งานออกแบบ (เช่น DALL-E 2 และ Midjourney) หรือการวิเคราะห์ข้อมูลที่ครบทุกด้านมากขึ้น โดยทำงานร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality) ซึ่งช่วยให้สถาปนิกสามารถซ้อนทับข้อมูลดิจิทัลในโลกแห่งความเป็นจริงได้ ผ่านการแสดงภาพจำลองของอาคาร และสร้างประสบการณ์แบบโต้ตอบสำหรับผู้ใช้อาคาร ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ จะถูกพัฒนาควบคู่ไปกับความก้าวหน้าด้านพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ทำให้อาคารต่างๆ สามารถผลิตพลังงานได้เอง ลดการใช้ทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่สถาปัตยกรรมที่มีความยั่งยืน
ส่วนในเรื่องของนวัตกรรมการก่อสร้าง วัสดุ หรืออุปกรณ์ในการออกแบบอาคาร มีการใช้งานเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) หรือการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงและส่งข้อมูลถึงกันได้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และสั่งงานได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งระบบอัตโนมัติสามารถช่วยลดพลังงานที่เกินจำเป็น และยังเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานได้มากขึ้นด้วย สามารถนำไปใช้งานกับพื้นที่สาธารณะ ถนน ชุมชน และเมือง ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกประชากร ประเมินการบำรุงรักษาได้อย่างแม่นยำ ทำให้ทั้งเมืองประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมที่อัจฉริยะ หรือ ‘Smart Architecture’
สถาปัตยกรรมสุดสมาร์ท
เทคโนโลยีอัจฉริยะได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคของระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดเล็กลงแต่มีกำลังเพิ่มมากขึ้น จึงกลายเป็นเรื่องง่ายกว่าเคย ในการนำไปประกอบเข้ากับผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค ที่ “ฉลาด” ยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและควบคุมทางออนไลน์ได้ เช่น ระบบทำความร้อน ระบายอากาศ และระบบทำความเย็นอัจฉริยะ, ระบบไฟอัจฉริยะ, ระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ, ระบบในการการตรวจสอบคุณภาพทางอากาศ, ระบบตรวจสอบการเข้าใช้งาน หรือระบบผู้ช่วยเสมือนเพื่ออำนวยความสะดวก
ซึ่งทั้งหมดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จากวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมการก่อสร้างให้มีความยั่งยืนมากขึ้น และลดผลกระทบต่อสภาพอากาศโลก (มีข้อมูลว่า อาคารมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 39%) ซึ่งการทำให้อาคารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการกับพลังงานอย่างคุ้มค่า ก็เป็นหนึ่งในวิธีการสงเสริมความยั่งยืนนี้ เช่นเดียวกับการออกแบบหลังคาเขียวและใช้งานวัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืน ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งก็คือความสะดวกสบายในด้านการดำรงชีวิต ผ่านระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำให้ผู้อยู่อาศัยมีอิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้น ทำให้อาคารอัจฉริยะสามารถประหยัดพลังงานได้มากถึง 20% ซึ่งก็เริ่มต้นจากการเลือกใช้งานวัสดุที่อัจฉริยะนั่นเอง
ระบบแผงบังแดดอัจฉริยะ
‘Moveable Smart Louver Series’ จากแบรนด์ FAMELINE คือ แผงกันแดดอลูมิเนียมอัจฉริยะ ที่สามารถปรับองศาของแผ่น ซึ่งเป็นกลุ่มนวัตกรรมวัสดุตกแต่งอาคารที่เคลื่อนไหวได้ ตามการใช้งาน สร้างความโดดเด่นในงานสถาปัตยกรรม เพื่อช่วยปรับลดปริมาณแสงแดด ช่วยควบคุมอุณหภูมิ และปริมาณแสงสว่างจากภายนอกสู่ภายในอาคาร ด้วยรูปลักษณ์ที่มีความหลากหลายทันสมัย และสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามความต้องการ โดยควบคุมการทำงานด้วย Smart Wifi Switch ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ควบคุม Smart Remote Control หรือสั่งงานผ่านแอพพลิเคชั่นในมือถือ หรือสั่งงานด้วยระบบเสียง เพิ่มความสะดวกสบายในด้านการใช้งาน
โดยประกอบไปด้วยสองรูปแบบหลักๆ คือ ‘Bi-Folding’ หรือระบบโครงบานพับอัตโนมัติแนวตั้ง สำหรับผนังและแผงบังแดดที่ช่วยเพิ่มลูกเล่นให้กับอาคาร ที่ปรับเปลี่ยนองศาได้ด้วยลักษณะการพบขึ้น-ลง โดยช่องหน้าต่างมีขนาดสูงสุด 3.0 เมตร กว้างสูงสุดได้ 1.5 เมตร เปิดกว้างได้สูงสุด 2.5 เมตร และยื่นออกไปสูงสุด 1.5 เมตร ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 220 โวลท์
หรือรุ่น ‘Folding Shutter’ ซึ่งเป็นระบบโครงบานพับอัตโนมัติแนวนอน ที่ปรับเปลี่ยนองศาได้ด้วยลักษณะการพบแบบบานเฟี้ยม เป็นการเพิ่มความโดดเด่นให้กับอาคารในสไตล์ที่แตกต่าง มีขนาดสูงสุด 3 เมตร กว้างได้สูงสุด 4 เมตร ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าชนิด Liner Actuator ที่มีขนาดเล็กควบคุมได้จากภายในอาคาร
ทั้งสองรุ่นติดตั้งบนโครงอลูมิเนียมมาตรฐานจากเฟมไลน์ ที่มีนํ้าหนักเบา มีความทนทาน ไม่เป็นสนิม สามารถติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร เช่น ชานระเบียงบ้าน ฟาซาดคอนโดมิเนียม โถงเข้าอาคาร ช่วยลดการใช้พลังงานภายในอาคาร สามารถเลือกรูปแบบของหน้าบานได้หลากหลาย ทั้งแผงบังแดด แผงบานเกล็ด แผ่นโลหะชนิดต่างๆ หรือแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต และสามารถควบคุมให้ทำงานพร้อมกันเป็นชุด หรือทำงานแยกเป็นอิสระต่อกันได้ตามความต้องการ เป็นการเพิ่มเติมองค์ประกอบของความสมาร์ท ที่มีส่วนช่วยให้การอยู่อาศัยของผู้คนยั่งยืนได้อย่างมีคุณภาพ
อ้างอิงแหล่งที่มา:
https://www.designblendz.com/blog/the-power-of-technology-in-architecture-today
https://www.linkedin.com/pulse/role-technology-architecture-past-present-future-ar-prateek-dubey
https://www.architectmagazine.com/design/five-material-technology-trends-to-watch-in-2023_o
https://onekeyresources.milwaukeetool.com/en/smart-building
http://techsecsol.com/four-attributes-of-smart-architecture/