‘Sustainable Materials’ ความสำคัญของการเลือกใช้วัสดุเพื่อความยั่งยืน

อุตสาหกรรมการก่อสร้างนั้น มีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองด้านทรัพยากร และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็แปรผันไปตามความต้องการอาคารอยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ และโครงการจากภาครัฐ ที่ยังคงเติบโตควบคู่ไปกับจำนวนประชากรของโลก และด้วยสาเหตุนี้ ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของอุตสาหกรรมนี้ย่างต่อเนื่อง ซึ่งสวนทางกับการผลักดันเรื่องของอนาคตที่ยั่งยืน ทำให้การก่อสร้างในปัจจุบัน จำเป็นต้องพิจารณาในการเลือกใช้งานวัสดุต่างๆ ให้มากขึ้น โดยต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและแนวทางในการก่อสร้างที่มีความยั่งยืน

ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลายาวนาน ก็คือผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการผลิตและก่อสร้าง ของวัสดุก่อสร้างแบบดั้งเดิม ที่ต้องแลกมาด้วยต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การสกัดวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่ง การบำรุงรักษา ตัวอย่างเช่น การผลิตปูนซีเมนต์ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในคอนกรีต ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานสูง หรือการสกัดหินปูนและแปรรูปเป็นปูนผง ก็เป็นกระบวนการที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากออกสู่ชั้นบรรยากาศ หรือการขนส่งวัสดุจากสถานที่ผลิตไปยังสถานที่ก่อสร้าง ก็มีส่วนในการใช้งานเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมหาศาล และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นในชั้นบรรยากาศ หรือการสกัดไม้ที่นำไปสู่การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ระบบนิเวศเสื่อมโทรม ที่กระทบต่อสภาพภูมิทัศน์และระบบนิเวศในระดับท้องถิ่น ส่งผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต และเมื่อทรัพยากรไม่ยั่งยืนแล้ว ก็ส่งผลต่อการอยู่อาศัยของคนรุ่นต่อๆ ไปที่ไม่ยั่งยืนด้วยเช่นกัน

ดังนั้นการเลือกใช้ ‘วัสดุที่ยั่งยืน’ จึงกลายเป็นรากฐานสำคัญ ของแนวทางเพื่อสร้างอาคารที่มีส่วนในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ที่ต้องช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคาร และส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับเมืองได้ ซึ่งโดยหลักการแล้ว วัสดุที่ยั่งยืนคือวัสดุที่มาจากแหล่งผลิตและก่อสร้าง ด้วยกระบวนการที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด มีวิธีการติดตั้งที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานอาคาร เป็นวัสดุที่มีอายุการใช้งานยาวนาน หรือสามารถนำกลับมาแปรรูปให้ใช้งานใหม่ได้ เพื่อนำไปสู่แนวทางของสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนต่อไป

ประโยชน์ของการเลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืน

แน่นอนว่าปัจจัยต้นน้ำในการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีความยั่งยืน ก็คือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมักมีลักษณะเฉพาะในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลง และลดการใช้พลังงานที่ในระหว่างการผลิตและการขนส่ง

ตัวอย่างเช่น การเลือกใช้วัสดุทดแทนไม้ เพื่อลดการตัดไม้ทำลายป่า และการสูญเสียพื้นที่ของทรัพยากร นอกจากช่วยลดมลพิษ และการปล่อยก๊าซคาร์บอนแล้ว ยังส่งเสริมการจัดการที่ดินและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ หรือประโยชน์ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร ซึ่งวัสดุที่ยั่งยืนสามารถใช้งานร่วมกับวัสดุอื่นๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนให้กับอาคาร อย่างกระจกประหยัดพลังงาน และระบบหลังคาสีเขียว ที่จะช่วยปรับอุณหภูมิภายในอาคาร ลดความต้องการในการทำความร้อนและความเย็น นำไปสู่การลดการใช้พลังงาน ประหยัดค่าใช้จ่ายของอาคารได้ตลอดอายุการใช้งานของวัสดุ

หรือการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีการปล่อยสาร VOC ต่ำ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยลดปัญหาระบบทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ส่งผลให้สภาพแวดล้อมมีความสะดวกสบาย และมีประสิทธิภาพในการอยู่อาศัยมากขึ้น นอกจากนี้ เรื่องของอายุการใช้งานที่ยาวนานของวัสดุ ก็มีผลต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาว

ตัวอย่างเช่น วัสดุอลูมิเนียมเคลือบสี ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ทนทานต่อสภาพอากาศ และมีการบำรุงรักษาต่ำกว่าวัสดุอื่น ก็ช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้เจ้าของโครงการ ในการลดค่าใช้จ่ายสำหรับการปรับปรุงอาคาร ซึ่งส่งผลให้องค์กรมีผลกำไรที่ดียิ่งขึ้น หรือการส่งเสริมให้อาคารมีมูลค่าตลาดสูงขึ้น และเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น ก็เป็นการดึงดูดผู้ซื้อและผู้เช่าที่คำนึงถึงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคม โดยที่การสนับสนุนจากรัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่นหลายแห่ง ก็ได้ออกกฎระเบียบและสิ่งจูงใจเพื่อส่งเสริมแนวทางการก่อสร้างที่ยั่งยืน เช่น การรับรอง LEED (Leadership in Energy & Environmental Design) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถด้านการตลาดของอาคารที่ยั่งยืนได้ โดยที่ไม่เพียงแต่เพิ่มคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ใช้งานในอาคาร แต่ยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบอาคารที่ดีขึ้นด้วย

เลือกวัสดุตกแต่งผนังที่ยั่งยืน ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง

จากคุณประโยชน์ของวัสดุที่ยั่งยืน ก็จะส่งผลต่อพื้นที่ในการใช้งาน ซึ่งพื้นที่อย่างผนังภายนอกที่คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20%-30% (ขึ้นอยู่กับประเภทอาคาร การออกแบบ และการใช้งาน) ก็มีส่วนสำคัญในการออกแบบสถาปัตยกรรมให้มีความยั่งยืน เนื่องจากวัสดุห่อหุ้มอาคาร จะได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมโดยตรง ซึ่งประเภทของวัสดุผนังภายนอกส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร และสะท้อนไปถึงผู้ใช้งานภายในอาคารด้วยเช่นกัน ซึ่งวัสดุสำหรับผนังภายนอกที่ยั่งยืน ต้องมีความทนทาน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่รุนแรง ต้านทานความชื้นและเชื้อรา

ตัวอย่างเช่น วัสดุโลหะอย่างอลูมิเนียมในรูปแบบของ Aluminium Honeycomb Panel (AHP) จาก FAMELINE ซึ่งเป็นนวัตกรรมในกลุ่ม Composite Panel (การนำแผ่นอลูมิเนียมมาประกบกัน) ที่เสริมไส้กลางด้วยโครงสร้างอลูมิเนียมแบบรังผึ้ง ทำให้ตัวแผ่นมีความแข็งแกร่งเรียบเสมอกัน สามารถออกแบบเป็นแผ่นตกแต่งผนังขนาดใหญ่ได้ โดยที่ตัวแผ่นมีน้ำหนักเบากว่า เมื่อเทียบกับวัสดุอื่นในขนาดเดียวกัน ช่วยลดภาระโครงสร้างของอาคาร เป็นการลดการใช้ทรัพยากรในการก่อสร้าง มีคุณสมบัติกันไฟลาม (Fire Rating) ในระดับ Class A2 ที่เสริมสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานอาคาร

ซึ่งแน่นอนว่าวัสดุผนังภายนอก ยังเป็นส่วนสำคัญต่อความสวยงามในการออกแบบอาคาร เนื่องจากสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน ต้องสามารถกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และผสมผสานองค์ประกอบต่างๆ ของงานโครงสร้างให้ดูสวยงามและใช้งานได้จริง ซึ่งรูปแบบของการตกแต่งที่มีรายละเอียด ก็สามารถเลือกใช้งาน แผ่นผนังตกแต่งภายนอกสำเร็จรูป ‘Plank Clad’ ซึ่งมีให้เลือกถึง 4 รูปแบบ ได้แก่ รุ่น ‘Corrugated’ ซึ่งเป็นแผ่นอลูมิเนียมลักษณะลอนเหลี่ยมและลอนคลื่นแบบคลาสสิค รุ่น ‘Shingle’ ที่เป็นแผ่นอลูมิเนียมรูปทรงสี่เหลี่ยมรูปว่าว รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมปียกปูน รุ่น ‘Tongue & Groove’ หรือแผ่นอลูมิเนียมแบบเรียบเส้นยาว และหากต้องการเชื่อมต่อพื้นที่ของผนังและหลังคาเข้าด้วยกัน ก็ต้องเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง ‘Standing Seam Roof & Wall’

หรือการเลือกใช้งานวัสดุอย่างดินเหนียวธรรมชาติแบบ 100% ก็ต้องเป็น แผ่นกระเบื้องดินเผา TERRATEX จาก FAMELINE ที่มีกระบวนการผลิตแบบพิเศษ ได้รับมาตรฐานการผลิต ISO 9001:2015, ISO 14001:2015, ISO 45001:2018 ในการลดการใช้พลังงานด้านการผลิต ทำให้ได้แผ่นดินเผาที่มีความเนียนละเอียด และมีความหนาแน่นสูง ตัวแผ่นมีความแข็งแรงทนทาน มีการบำรุงรักษาต่ำ มีคุณสมบัติในการเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี รวมถึงการติดตั้งด้วยระบบโครงและคลิปล็อค ทำให้มีช่องว่างระหว่างแผ่นและผนัง เพิ่มการระบายอากาศแบบธรรมชาติ จึงช่วยส่งเสริมการลดการใช้พลังงานภายในอาคาร

ซึ่งทั้งวัสดุดินเหนียวและอลูมิเนียม สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้แบบ 100% จึงลดต้นทุนของทรัพยากรในการผลิตใหม่ ลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ ลดขยะและของเสีย ลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนในการผลิต เกิดเป็นระบบการก่อสร้าง ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป

ซึ่งความสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือวิธีการเลือกวัสดุที่ยั่งยืนไปใช้งานกับการออกแบบ ซึ่งต้องประเมินจากสภาพอากาศในพื้นที่สำหรับการก่อสร้าง โดยวิเคราะห์จาก อุณหภูมิ ระดับความชื้น สภาพอากาศที่รุนแรง เช่น พายุเฮอริเคน ฝนตกหนัก หรือหิมะตก เพื่อนำมาพิจารณาวัสดุที่มีค่าการนำความร้อนต่ำ หรือทนทานต่อรังสี UV มาใช้งานในทิศทางของอาคารให้เหมาะสม เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานของอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หรือการประเมินจากอายุการใช้งาน และความยืดหยุ่นของรูปแบบในการใช้งาน ที่มีผลต่อการผลิต ขนส่ง และติดตั้ง ซึ่งเป็นมุมมองแบบองค์รวมของความยั่งยืน วัสดุที่ยั่งยืนเป็นส่วนสำคัญในการบรรลุประสิทธิภาพ ของการใช้พลังงานของอาคารโดยรวม ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในยุคที่มีการตระหนักรู้ เกี่ยวกับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์พลังงาน การออกแบบอาคารก็มีผลให้เกิดการลดการใช้พลังงานและลดต้นทุนลงได้

ยิ่งไปกว่านั้น ยังช่วยเพิ่มคุณภาพอากาศภายในอาคาร ปกป้องสุขภาพของผู้พักอาศัยในอาคาร และท้ายที่สุด ยังรับประกันสภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัยที่ดี และสภาวะการทำงานที่สะดวกสบาย ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องกับความคิดริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก ที่ส่งผลประโยชน์ทางด้านมูลค่าเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับของตลาดในระดับสากล ซึ่งการเลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืนในการก่อสร้างอาคาร ไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกเท่านั้น แต่เป็นสิ่งจำเป็นต่ออนาคตที่ยั่งยืนต่อไปอีกนานแสนนาน


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า