ใช้พลังงานในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการออกแบบที่ยืดหยุ่นได้
สิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้ามในการออกแบบความสวยงามทางสถาปัตยกรรม นั่นก็คือ ‘การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ’ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและเป็นภาระทางเศรษฐกิจ จากข้อมูลของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) การใช้พลังงานของอาคาร คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 36% ของการใช้พลังงานจากทั่วโลก และคิดเป็น 40% ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยเข้ามาในชั้นบรรยากาศ ซึ่งส่งผลในระยะยาวต่อคุณภาพของอากาศ (ที่เริ่มเห็นได้ชัดเจนขึ้นในประเทศไทย)
นอกจากนี้ อาคารที่ใช้ค่าพลังงานมาก ยังส่งผลให้เจ้าของโครงการต้องเสียค่าใช้จ่ายทางธุรกิจมากขึ้น เช่น อาคารที่พึ่งพาการใช้พลังงานความเย็นมากเกินไป โดยละเลยการเปิดพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการระบายอากาศ ซึ่งสาเหตุหนึ่งอาจมาจากการออกแบบ ที่มุ่งเน้นเพียงความสวยงามและการใช้งานมากไปกว่าความยั่งยืน ทำให้ส่งผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงขึ้น ส่งผลไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นแบบสุดขั้ว และเกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ นั่นเป็นเหตุผลที่อุตสาหกรรมการก่อสร้าง ต้องนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีของวัสดุก่อสร้าง เทคนิคการก่อสร้างใหม่ๆ และระบบพลังงานหมุนเวียนต่างๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
หลักการออกแบบเชิงรับ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ซึ่งการออกแบบให้สถาปัตยกรรมเกิดความยั่งยืนได้นั้น ต้องเกิดจากการจัดลำดับความสำคัญ ของประสิทธิภาพการใช้พลังงานตั้งแต่เริ่มแรก โดยใช้แนวคิดผ่าน ‘การออกแบบเชิงรับ (Passive Design)’ เช่น การจัดวางแนวอาคาร การใช้แสงและเงาจากช่วงเวลาต่างๆ ตามจำเป็น และการระบายอากาศตามธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนไปสู่การเลือกใช้งานวัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืน และต้องส่งเสริมการประหยัดพลังงานในอาคาร ที่ครอบคลุมวงจรชีวิตทั้งหมดของโครงการ ตั้งแต่การออกแบบ การขนส่ง การก่อสร้าง ไปจนถึงแนวคิดในการรื้อถอน หรือปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งานในอนาคต เนื่องจากในแต่ละขั้นตอน พลังงานจะถูกใช้งานอยู่เสมอ และหากไม่มีการวางแผนจะเกิดการใช้พลังงานที่เกินจำเป็น ซึ่งอุปกรณ์ที่สามารถควบคุมการทำงานของพลังงานได้นั้น นอกจากจะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีแล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย
วัสดุก่อสร้างและการปรับปรุงเพื่อความยั่งยืน
ในยุคที่การใช้พลังงานอย่างยั่งยืนกลายเป็นหัวใจหลักของการออกแบบอาคาร FAMELINE นำเสนอผลิตภัณฑ์นวัตกรรม Sun Shading Moveable ที่สร้างความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมพร้อมคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้, อาทิ AF-Moveable, Bi-Folding และ Folding-Shutter ได้รับการออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างความสวยงามให้กับทุกโครงการอาคาร โดยมีคุณสมบัติในการควบคุมปริมาณแสงแดดและอุณหภูมิภายใน ช่วยลดการใช้พลังงานจากแสงสว่างและเครื่องปรับอากาศ
AF-Moveable ด้วยรูปทรงปีกเครื่องบินและการควบคุมปริมาณแสงแดดด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า นำเสนอความสะดวกในการปรับองศาของแผงบังแดดได้ตามต้องการ ในขณะที่ Bi-Folding และ Folding-Shutter เป็นระบบโครงบานพันอัตโนมัติ สามารถปรับเปลี่ยนองศาของผนังหรือแผงบังแดดได้ตามความต้องการ เสริมความสามารถในการควบคุมแสงและความร้อนภายในอาคาร ทั้งยังสามารถติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอก เพิ่มความยืดหยุ่นในการออกแบบ
ทุกผลิตภัณฑ์จาก FAMELINE มาพร้อมกับความสามารถในการควบคุมด้วยระบบ Smart Wifi Switch และ Mobile Application ทำให้การควบคุมการเปิดปิดหรือการปรับองศาสามารถทำได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจาก FAMELINE ไม่เพียงแต่ตอบโจทย์ในด้านความสวยงามและการประหยัดพลังงานเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าสำหรับอนาคต ด้วยการออกแบบที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน สอดคล้องกับแนวทางการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน
อนาคตของสถาปัตยกรรมที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน
การใช้วัสดุก่อสร้างที่มีความยืดหยุ่นสูงเปิดโอกาสให้พื้นที่ใช้สอยในอาคารสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ส่งผลให้สถาปัตยกรรมสามารถตอบสนองความต้องการใช้งานที่หลากหลาย การออกแบบที่มุ่งเน้นความยั่งยืนและความสามารถในการปรับเปลี่ยนนำไปสู่การลดความจำเป็นในการปรับปรุงซ่อมแซมบ่อยครั้ง ประหยัดต้นทุนและทรัพยากร การรีไซเคิลวัสดุเช่นอลูมิเนียม 100% และการติดตั้งด้วยระบบแห้งช่วยให้การปรับเปลี่ยนและการบำรุงรักษาง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารและลดมลภาวะทางเสียง ส่งผลให้อาคารไม่เพียงแต่สวยงาม แต่ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในอนาคตสถาปัตยกรรมที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่นำพาไปสู่การสร้างสรรค์แนวทางใหม่ๆ ในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการเชื่อมต่อกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ ส่งเสริมการใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติและเทคโนโลยีไปพร้อมกัน
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง