4 ไอเดียการตกแต่งภายนอกอาคาร ด้วยวัสดุ Aluminium Composite Panel ที่คุณไม่ควรพลาด!

แนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เริ่มมีการมุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการออกแบบส่วนหน้าอาคาร (Building Façade) ที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับอาคาร เพิ่มคุณค่าให้กับสภาพแวดล้อม และเพิ่มประสบการณ์ของผู้ที่เข้ามาใช้งานเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธภาพ ผ่านระบบของการระบายอากาศและการเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ซึ่งเกิดจากคุณสมบัติของวัสดุห่อหุ้มผิวอาคารเป็นสำคัญ และหนึ่งในวัสดุที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ ก็คือ Aluminium Composite Panel (ACP)

ที่เป็นการนำแผ่นอลูมิเนียมมาประกบกันแบบแซนวิช โดยมีไส้กลางเป็นวัสดุที่ช่วยเสริมคุณสมบัติในด้านต่างๆ เช่น โพลิเอทิลีน (Polyethylene) ช่วยให้ตัวแผ่นมีความยืดหยุ่น และสารหน่วงไฟ (Fire Retardant) ที่ช่วยเพิ่มคุณสมบัติการกันไฟ ตามระดับมาตรฐานความปลอดภัยของอาคาร มายึดติดกันด้วยกระบวนการเคลือบภายใต้ความดันและอุณหภูมิที่สูง ทำให้ตัวแผ่นมีความความแข็งแกร่งทนทานต่อสภาพอากาศ แต่ก็มีน้ำหนักเบาและทำหน้าที่เป็นฉนวนที่ดี สามารถปรับแต่งตัวแผ่นได้อย่างอิสระ ผ่านความหลากหลายของสีสัน พื้นผิว และการติดตั้ง เพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับการตกแต่งภายนอกอาคาร ทั้งการก่อสร้างใหม่ และการปรับปรุงหน้าตาของอาคารเดิม

ซึ่งการเล่าเรื่องราวของสถาปัตยกรรม ผ่านไอเดียการตกแต่งด้วย Aluminium Composite Panel นั้น สามารถผสมผสานให้เกิดการใช้งานได้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่แนวทางที่เรียบง่าย ความโมเดิร์นทันสมัย การใช้ลวดลายไม้หรือลายหินที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติ ทั้งการติดตั้งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ หรือนำแผ่นขนาดเล็กมาปะติดปะต่อกันแบบผสมผสานเป็นเอฟเฟกต์สามมิติ เพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และการทดลองรูปลักษณ์ที่เหนือจินตนาการ ก้าวข้ามขีดจำกัดของการออกแบบโฉมหน้าของอาคาร เพื่อก่อกำเนิดเป็นภาษาทางสถาปัตยกรรมแนวใหม่ที่อิสระมากกว่าเดิม

ออกแบบรูปทรงที่เรียบง่ายและปลอดภัย

สำหรับแนวทางการใช้ Aluminium Composite Panel กับการตกแต่งผิวภายนอกอาคาร ค่อนข้างมีรูปแบบที่เฉพาะตัว ด้วยพื้นผิวของโลหะที่เหมาะสมต่อการห่อหุ้มอาคารขนาดใหญ่ (นอกจากพื้นที่ของกระจก) เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดภาระโครงสร้างของอาคาร แต่ต้องยังคงความแข็งแรงทนทาน ต้านทานแรงลมและแรงกดดันได้ดี ลดการบำรุงรักษาที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง และมีความสวยงามด้วยรูปแบบที่ทันสมัยอยู่เสมอ ทำให้วัสดุที่เคยใช้ทำเป็นป้ายสัญลักษณ์หรือห่อหุ้มยานพาหนะต่างๆ กลายมาเป็นวัสดุหลักในการออกแบบเพื่อเป็นผิวอาคารในยุคปัจจุบัน

ทั้งในรูปแบบของการตกแต่งผิวอาคารภายนอก กับอาคารสำนักงาน อาคารหอประชุม ชานชาลาของสถานีรถไฟ ห้างสรรพสินค้า หรืออาคารผู้โดยสารของสนามบิน เนื่องจากการติดตั้งที่เป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างความสวยงามแบบเรียบง่ายและดูน่าเชื่อถือ พื้นผิวที่มันวาวแบบโลหะช่วยยกระดับของอาคารให้ดูโดดเด่นแบบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมไปถึงความใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

ซึ่งวัสดุ ACP จากแบรนด์ FAMELINE ก็มีการผสมผสานคุณสมบัติด้านการทนไฟ ด้วยแกนกลางสารหน่วงไฟ (FR) ซึ่งเป็นส่วนประกอบพิเศษ ที่ใช้สำหรับลดการติดไฟของวัสดุ และชะลอการแพร่กระจายของเปลวไฟ ได้รับมาตรฐานด้านการเป็นวัสดุไม่ติดไฟ (Non-combustible) ในระดับคลาส A2 ที่ผ่านการทดสอบไฟภายใต้มาตรฐาน EN 13501-1 ที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุที่ไม่ติดไฟ มากกว่า 90% เพิ่มความปลอดภัยให้กับโครงสร้างอาคาร เหมาะสมกับการใช้งานกับอาคารสูง และอาคารสาธารณะ ที่มีกฎระเบียบในการป้องกันอัคคีภัยที่ชัดเจน

ออกแบบด้วยสีสันที่โดดเด่นและคงทน

นอกจากเรื่องของความยั่งยืน การใช้พลังงานให้เต็มประสิทธิภาพ และการออกแบบที่ใส่ใจสุขภาวะที่ดีแล้ว เทรนด์การออกแบบสถาปัตยกรรมในปี 2024 ยังเน้นเรื่องของ ‘สีสัน’ ที่จะกลับมาเติมเต็มความมีชีวิตชีวาของการใช้ชีวิตประจำวัน สอดคล้องกับงานวิจัย ที่ระบุว่าสีที่อยู่ตามสิ่งแวดล้อมต่างๆ มีอิทธิพลต่อการตอบสนองทางอารมณ์ของบุคคลมากถึง 60-70% นักออกแบบจึงใช้ประโยชน์จากสี เพื่อสร้างบรรยากาศเฉพาะตัวสำหรับพื้นที่ภายนอกและภายใน เช่น โทนสีที่อบอุ่นอาจให้ความรู้สึกถึงพลังงานและความมีชีวิตชีวา ในขณะที่สีโทนเย็นจะสามารถส่งเสริมความเงียบสงบและผ่อนคลายอารมณ์ได้ดี รวมถึงการใช้สีเพื่อสร้างการรับรู้ของพื้นที่หรือการแบ่งแยกพื้นที่ การใช้สีเพื่อช่วยนำทาง การใช้สีที่แตกต่างกันไปสำหรับป้ายระบุข้อมูลต่างๆ การใช้สีเพื่อแสดงออกถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม เพื่อจุดประสงค์ในการสร้างความรู้สึกคุ้นเคยและเชื่อมโยงกันของพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม

ซึ่งวัสดุ ACP จาก FAMELINE ก็มีกลุ่มเฉดสีที่สามารถเลือกใช้งานได้หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของนักออกแบบได้มากขึ้นถึง 6 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มสี Solid, Metallic, Metal Sense, Anodized Look, Iridium และ Timber ซึ่งนอกจากกลุ่มสีมาตรฐานแล้ว ยังสามารถออกแบบสีพิเศษ ที่เป็นการผสมผสานจากกลุ่มสีหลัก ให้มาเป็นสีสันที่เฉพาะตัวตามแนวคิดของงานออกแบบได้อีกด้วย

ซึ่งสีสันทุกรูปแบบมีการเลือกใช้ระบบเคลือบสี PVDF ที่ได้ชื่อว่าเป็นระบบสีเคลือบที่ดีที่สุด ซึ่งได้การรับรองมาตรฐาน AAMA (American Architectural Manufacturers Association) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้พื้นผิวที่เคลือบมีอายุการใช้งานยาวนาน มีการรับประกันคุณภาพสีนาน 10 – 20 ปี (ขึ้นอยู่กับเฉดสีที่เลือกใช้) ตอบโจทย์ในเรื่องของความคุ้มค่าในการใช้งาน สร้างความมั่นใจให้กับทั้งนักออกแบบและเจ้าของโครงการ ในการเลือกเป็นวัสดุปิดผิวที่คงทนและโดดเด่นไปในเวลาเดียวกัน

ออกแบบด้วยรูปทรงผสมผสานที่ดัดแปลงได้

นอกจากการติดตั้งแบบทั่วไปแล้ว วัสดุ ACP ยังสามารถนำไปดัดแปลงรูปทรงให้มีรูปแบบได้ตามที่ต้องการ เช่น การตัดหรือบิดแผ่นเพื่อเพิ่มมิติการงานออกแบบ และเพื่อความเหมาะสมกับสัดส่วนของอาคาร การดัดโค้งเพื่อให้ตอบรับกับรูปทรงของอาคารที่หลากหลาย หรือการออกแบบเป็นองค์ประกอบของรูปทรงเรขาคณิต (Geometric Design) ทั้งสี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัส และที่นิยมนำมาทำเป็นรูปแบบที่แปลกตาด้วยรูปทรงสามเหลี่ยม ทั้งการบิดแผ่นให้มีความซับซ้อนและขึ้นรูปแบบอิสระ (Free Form) หรือเชื่อมต่อรูปทรงสามเหลี่ยมจนเกิดเป็นทรงกลมขนาดใหญ่ หรือการนำวัสดุ ACP ไปผสมผสานกับวัสดุอื่นๆ อย่าง กระจก เพื่อเพิ่มช่องแสงธรรมชาติ ให้ส่องผ่านเข้ามาในตัวอาคาร

นอกจากงานตกแต่งภายนอกอาคารแล้ว การตกแต่งด้วยวัสดุ ACP ก็ยังสามารถนำมาใช้กับงานภายในอาคารได้ด้วย เพราะนอกจากจะมีน้ำหนักเบา ทำให้ง่ายต่อการติดตั้งแล้ว ยังมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ไม่ติดไฟ ช่วยเพิ่มคุณภาพของเสียงภายในอาคารได้ดี หรือนำมาออกแบบเป็นผนังกั้นห้อง (Partition) ผนังระหว่างพื้นที่ภายในอาคาร ซุ้มทางเข้า ใช้หุ้มเสาทรงกลมและเสาทรงเหลี่ยมภายในอาคาร ใช้เป็นวัสดุตกแต่งฝ้าเพดาน หรือใช้สำหรับงานปรับปรุงภายนอกอาคาร (Renovate) เพื่อการทำงานติดตั้งที่รวดเร็ว สามารถคำนวนจำนวนแรงงานและระยะเวลาการทำงานได้ชัดเจน

ออกแบบมิติของแสงและเงาผ่านการเจาะรูแผ่น

ความยืดหยุ่นของวัสดุ ACP สามารถนำมาเจาะรู (Perforated) ลงบนแผ่น โดยสามารถเลือกใช้งานจากลวดลายมาตรฐาน หรือกำหนดรูปแบบของลวดลายได้เองตามจินตนาการในการออกแบบ โดยสามารถกำหนดขนาดของรู ได้ทั้งรูปวงกลม วงรี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ตามสัดส่วนของขนาดแผ่น (Open Area ไม่ควรเกิน 35% เพื่อความแข็งแรงของวัสดุ) เพื่อสร้างสรรค์ลวดลายทั้งรูปภาพ ตัวอักษร หรือตราสัญลักษณ์องค์กร เพื่อสร้างความโดดเด่นแบบมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างการจดจำให้กับผู้พบเห็น และยังช่วยเพิ่มมิติของแสงเงาให้กับพื้นที่ภายในอาคาร สร้างความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นใช้งานภายใน ช่วยลดระดับของแสงที่ส่องผ่านเข้ามา ช่วยกรองเสียงรบกวนจากภายนอก ทำให้การใช้พลังงานภายในอาคาร สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการระบายอากาศระหว่างผิวอาคาร ส่งเสริมเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีและเพิ่มสภาวะความอยู่สบายให้กับผู้ใช้งานอาคาร

นอกจากสไตล์ที่หลากหลายของวัสดุ ACP แล้ว การเลือกใช้วัสดุอลูมิเนียมสำหรับงานก่อสร้าง ยังเป็นหนึ่งในแนวคิดสำหรับสถาปัตยกรรมที่มีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำและสร้างขึ้นมาใหม่ได้แบบ 100% จากเศษวัสดุที่เหลือใช้จากการเจาะรูบนแผ่น หรือการตัดแต่งเพื่อนำไปก่อสร้าง (ซึ่งในกระบวนการรีไซเคิลจะใช้พลังงานประมาณ 5% ของพลังงานที่จำเป็นในการผลิตอะลูมิเนียมจากวัตถุดิบขึ้นมาใหม่) โดยไม่สูญเสียคุณภาพของวัสดุ และยังเป็นวัสดุที่มีความทนทานในระยะยาว โดยใช้การบำรุงรักษาเพียงเล็กน้อย ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการปรับเปลี่ยนวัสดุ ถือเป็นวัสดุแห่งนวัตกรรมในโลกยุคสถาปัตยกรรมแห่งอนาคต ที่ไม่เพียงแค่เป็นไอเดียด้านความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ต้องช่วยส่งเสริมแนวคิดของความเป็นอยู่ที่ดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ ร่วมไปกับเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า