‘Sun and Ventilation Louver’ กับความสำคัญของระบบระบายอากาศในอาคาร
ภายใต้ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในการออกแบบอาคาร ‘ระบบการระบายอากาศ’ (Ventilation System) ถือเป็นระบบที่ผู้ออกแบบมักให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากมีผลต่อความสะดวกสบาย สุขภาพที่ดี และความยั่งยืนของสภาพแวดล้อมภายในอาคารเป็นอย่างมาก ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA) ระบุไว้ว่า อากาศภายในอาคาร อาจมีการสะสมของมลพิษมากกว่าอากาศภายนอก 2 ถึง 5 เท่า การออกแบบให้อากาศไหลเวียนได้ดี จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการช่วยกำจัดมลพิษ สารก่อภูมิแพ้ และสิ่งปนเปื้อนให้ออกจากพื้นที่ภายในอาคาร หรือมีข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการไว้ว่า มลพิษทางอากาศภายในอาคาร มีส่วนทำให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรทั่วโลกถึง 4.3 ล้านคนต่อปี ซึ่งการระบายอากาศที่เพียงพอจะช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศภายในอาคาร ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาพและประสิทธิผลในการทำงานที่ดีมากขึ้น
การประเมินคุณภาพระบบระบายอากาศ และเทคนิควิธีการระบายอากาศ
คุณภาพของระบบระบายอากาศ สามารถวัดผลได้จากเกณฑ์ที่แตกต่างกันในแต่ละโครงการ ตัวอย่างเช่น คุณสมบัติในการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality) ด้วยการหมุนเวียนอากาศให้มีความสดชื่นอย่างต่อเนื่อง ระบบเหล่านี้จะกำจัดมลพิษ กลิ่น และสิ่งปนเปื้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยปกป้องผู้ใช้งานอาคารจากปัญหาระบบทางเดินหายใจและโรคภูมิแพ้ หรือการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นภายในอาคาร ด้วยการป้องกันการหยุดนิ่งของอากาศ และการสะสมของความร้อนและความชื้น ซึ่งการสัมผัสกับเชื้อราในอาคาร อาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้และอาการของโรคหอบหืดได้ ทำให้การระบายอากาศที่เหมาะสม ถือเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่อาศัย เอื้อประโยชน์ต่อสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะกับอาคารที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก เช่น โรงเรียน สำนักงาน สถานพยาบาล หรือห้างสรรพสินค้า มีส่วนช่วยในการเพิ่มสมาธิและประสิทธิภาพในการทำงาน หรือแม้แต่คุณภาพในการนอนหลับของที่อยู่อาศัย ผ่านการควบคุมความชื้นและความร้อนอย่างเหมาะสม และยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเชื้อราหรือการเสื่อมสภาพของวัสดุตกแต่งหรือโครงสร้างอาคารได้อีกด้วย
โดยหลักการของระบบระบายอากาศ จะมีวิธีการที่นิยมใช้งานอยู่ 2 วิธี คือ การระบายอากาศด้วยเครื่องจักร (Mechanical Ventilation) หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถควบคุมคุณภาพของอากาศผ่านวิธีกล เช่น เครื่อง ERV หรือ Air to Air Heat Exchanger ที่ถูกออกแบบมาเพื่อดึงเอาความเย็นจากลม มาแลกเปลี่ยนกับอากาศบริสุทธิ์ที่เข้ามาเติมในอาคาร เพื่อให้ได้อากาศที่เย็นสดชื่นโดยไม่สูญเสียพลังงานในการทำความเย็น และช่วยประหยัดพลังงานของระบบปรับอากาศ ส่วนอีกหนึ่งวิธีที่นิยมใช้กันตั้งแต่ในกระบวนการออกแบบ ก็คือ การระบายอากาศแบบธรรมชาติ (Natural Ventilation) ที่ใช้วิธีการทางธรรมชาติทำให้เกิดความดันบรรยากาศที่แตกต่างกันในสองพื้นที่ ทำให้อากาศเคลื่อนที่จากที่ซึ่งมีความดันบรรยากาศสูงไปยังที่ซึ่งมีความดันบรรยากาศต่ำ เกิดการไหลเวียนของอากาศอย่างเป็นระบบ
การประยุกต์ใช้ Sun and Ventilation Louver ในการออกแบบอาคาร
ตัวอย่างเช่น การเลือกตกแต่งผิวอาคารด้วย ‘Aluminium Louver’ หรือการนำวัสดุอลูมิเนียม มาใช้ในรูปแบบของแผงบานเกล็ดเพื่อช่วยบดบังแสงแดด หรือระบายอากาศบริเวณผิวอาคาร อย่างแผงบานเกล็ดอลูมิเนียมในรุ่น Sun & Ventilation Louver จาก FAMELINE ที่มีรูปทรงของของแผ่นให้เลือกหลากหลาย เช่น รุ่น Z-Series หรือบานเกล็ดระบายอากาศอลูมิเนียมรูปตัวแซด, C-Series แผงบังแดดอลูมิเนียมป้องกันแสงแดดรูปตัวซี หรือ Tube-Series แผงบานเกล็ดรูปทรงกล่อง
ซึ่งนอกจากการติดตั้งที่มีช่องว่างเพื่อให้อากาศไหลเวียนแล้ว ยังทำหน้าที่ในการช่วยป้องกันความร้อนและฝนที่เข้าสู่ตัวอาคาร ช่วยควบคุมอุณหภูมิของพื้นที่ภายใน และชะลอการเสื่อมสภาพของวัสดุปิดผิวอาคาร ซึ่งวัสดุอลูมิเนียมนั้นมีความแข็งแรงทนทาน ยืดหยุ่นได้ดี มีน้ำหนักบา ไม่ผุกร่อน ไม่เป็นสนิม ไม่ลามไฟ และเป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้แบบ 100%
นอกจากนี้ ยังสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อลดการใช้พลังงานในอาคาร ผ่านระบบ ‘Smart Living’ ที่สามารถเลือกใช้งานเป็นแผงบานเกล็ดอลูมิเนียม รูปทรงปีกเครื่องบิน แบบเปิด-ปิดได้อัตโนมัติ รุ่น AF-Moveable ที่ผลิตจากอลูมิเนียมอัลลอยด์ชนิดฉีดขึ้นรูป (Extruded Aluminium) มีความแข็งแรงทนทาน ด้วยรูปทรงที่สวยงามทันสมัย มีความยาวมาตรฐานถึง 6 เมตร ใช้มอเตอร์สำหรับบังคับตัวแผ่นให้สามารถเปิด-ปิดตัวได้แบบอัตโนมัติ ผ่าน Mobile Application โดยติดตั้งได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทำให้สามารถปรับตำแหน่งของตัวแผ่นให้เหมาะสมกับการถ่ายเทของอากาศ ช่วยควบคุมแสงแดดที่เข้าสู่พื้นที่ภายในอาคาร ตามช่วงเวลาและการใช้งานที่เหมาะสม
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร และลดการใช้ทรัพยากรด้วยระบบอัตโนมัติ ที่ช่วยส่งเสริมแนวคิดของการออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียว และจากระบบการทำงานของ Moveable Sun Shading ที่ควบคุมได้มากขึ้น ก็ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งจากการดูแลรักษาวัสดุที่เสื่อมสภาพ การใช้แรงงานคนเพื่อปรับปรุงต่อเติม หรือค่าใช้จ่ายในการเพิ่มเติมพลังงานส่องสว่างและระบบปรับอากาศภายในอาคาร ซึ่งบ่งบอกถึงความคุ้มค่าในระยะยาว เป็นแนวทางสำคัญในการเพิ่มมูลค่าให้กับอาคาร ทั้งทางด้านความสวยงามและการใช้งาน ร่วมกับการเลือกใช้วัสดุที่มีความยั่งยืนอย่างอลูมิเนียม ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการออกแบบสถาปัตยกรรม
สิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพผ่านการออกแบบที่ยั่งยืน
ซึ่งจากข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Cleaner Production พบว่า “การใช้วัสดุที่ยั่งยืนในการก่อสร้างอาคาร อาจช่วยลดคาร์บอนที่สะสมอยู่ในบรรยากาศได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับวัสดุแบบดั้งเดิม” และการวิจัยโดยสภาอาคารสีเขียวโลกแสดงให้เห็นว่า อาคารที่ก่อสร้างด้วยวัสดุที่ยั่งยืน สามารถลดการใช้ทรัพยากรได้มากถึง 50% ตลอดวงจรชีวิตของวัสดุเอง ทำให้การออกแบบระบบระบายอากาศร่วมกับการใช้งานวัสดุที่ยั่งยืน กลายเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ที่ดีต่อสุขภาพของผู้ใช้งานมากขึ้น ด้วยวิธีการหมุนเวียนอากาศอากาศดีมาแทนที่อากาศเสีย การควบคุมความชื้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน เมื่อทุกระบบทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณภาพในการใช้ชีวิตก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างเป็นมาตรฐานของการอยู่อาศัยที่ยั่งยืนต่อไป
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง