ยกระดับการออกแบบ ด้วยความหลากหลายของ ‘Aluminium Honeycomb Panel’

เมื่อรูปด้านของอาคาร ทำหน้าที่เป็นมากกว่าเกราะป้องกันที่สวยงามและโดดเด่น แต่ต้องแสดงออกถึงแนวคิดในการออกแบบ นวัตกรรม และการใช้งานที่เหมาะสมกับรูปแบบของอาคาร ทำให้การเลือกใช้งานวัสดุสำหรับห่อหุ้มอาคาร ต้องมีความทนทานแข็งแรง ยืดหยุ่นได้ในเรื่องความสวยงาม และต้องกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมความยั่งยืน ทำให้วัสดุอลูมิเนียมกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ สำหรับสถาปนิกและเจ้าของโครงการ ในการเป็นวัสดุอเนกประสงค์ที่สื่อสารความเป็นเอกลักษณ์ของอาคารได้หลากหลายสไตล์ ทั้งความทันสมัย คลาสสิค ล้ำสมัย หรือแนวคิดแบบใกล้ชิดธรรมชาติ

ด้วยความยืดหยุ่นของวัสดุอลูมิเนียม ทำให้สามารถปรับพื้นผิวให้มีความหลากหลายได้ ตั้งแต่ผิวมัน ผิวด้านไปจนถึงผิวโลหะ ทำให้มีอิสระในการสร้างสรรค์ผิวอาคาร เพิ่มมุมมองที่สดใหม่ให้กับภูมิทัศน์ของเมือง และด้วยน้ำหนักที่เบา ทำให้สามารถลดน้ำหนักของโครงสร้างโดยรวมของอาคาร ช่วยให้การก่อสร้างมีประสิทธิภาพและสะดวกมากขึ้น และยังมีความทนทานต่อการกัดกร่อน ทำหน้าที่เป็นฉนวนที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิภายใน ลดการใช้พลังงานที่เกินจำเป็น สร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สู่แนวทางการออกแบบที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของสถาปัตยกรรมในสมัยใหม่

ถ้าหากอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ทุกคนอาจจะกำลังนึกถึงวัสดุ Aluminium Composite Panel หรือ ACP ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยสำหรับสถาปนิก ในการเป็นวัสดุยอดนิยมสำหรับการออกแบบเป็นผิวอาคาร ที่ตอบรับกับรูปทรงในการออกแบบได้ทุกรูปแบบ แต่ถ้าหากอยาก ‘ยกระดับ’ การออกแบบให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้เรากำลังพูดถึง วัสดุ Aluminium Honeycomb Panel หรือ AHP

ทำไม AHP จึงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ด้วยคุณสมบัติของวัสดุ Aluminium Honeycomb Panel หรือ AHP ที่เป็นแผ่นอลูมิเนียมประกบแบบแซนวิช โดยมีโครงสร้างแกนกลางเป็นรังผึ้ง ซึ่งทำให้มีน้ำหนักเบากว่าวัสดุอื่นๆ ในขนาดที่เท่ากัน สามารถออกแบบตัวแผ่นให้มีขนาดใหญ่ โดยไร้ปัญหาเรื่องการโก่งงอของแผ่น ทำให้สามารถรักษารูปทรงที่สวยงาม และความสมบูรณ์ของโครงสร้างภายใต้สภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ช่วยยืดอายุของผิวอาคาร ซึ่งโครงสร้างแบบรังผึ้งยังช่วยสร้างระบบของฉนวนแบบธรรมชาติ สำหรับช่วยป้องกันการส่งผ่านของความร้อนและเสียง ช่วยควบคุมอุณหภูมิและเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารของพื้นที่ภายในอาคาร ส่งผลให้ในปัจจุบัน วัสดุ AHP ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับสากลสำหรับงานออกแบบสถาปัตยกรรม

ตัวอย่างหนึ่ง ของประเทศที่นิยมใช้งานวัสดุ AHP ในการออกแบบเป็นวัสดุผิวอาคาร ก็คือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ๆ อย่างดูไบและอาบูดาบี ซึ่งมีการพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็ว ด้วยการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นนวัตกรรมและมีประสิทธิภาพสูง ด้วยรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ซึ่งน้ำหนักที่เบาลงของ AHP ช่วยอำนวยความสะดวกในการก่อสร้างที่สลับซับซ้อน รวมถึงความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงจากอุณหภูมิที่สูงและลมแรง

ซึ่งตัวอย่างหนึ่งในการท้าทายการก่อสร้างยุคใหม่ ก็คือ อาคาร Burj Khalifa ซึ่งเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลก ในปัจจุบันก็มีการใช้วัสดุ AHP เป็นวัสดุปิดผิวภายนอก นั้นแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในคุณสมบัติของวัสดุ ในการข้ามขีดจำกัดของสถาปัตยกรรม หรืออย่างในสหรัฐอเมริกา ก็มีการใช้งาน AHP กับอาคารพาณิชย์ และอาคารพักอาศัย ในเยอรมนีซึ่งเป็นที่ยอมรับในคุณภาพของวัสดุต่างๆ มีอาคารที่ออกแบบภายใต้แนวคิดของความยั่งยืน สวยงาม และประหยัดพลังงาน รวมถึงในประเทศจีน ที่มีการเติบโตในด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างอย่างรวดเร็ว ก็ได้นำวัสดุ AHP มาก่อสร้างเป็นตึกระฟ้า และโครงสร้างสมัยใหม่ที่ออกแบบไว้อย่างโดดเด่น

Burj Khalifa | The World’s Tallest Building

การประยุกต์ใช้ AHP ในงานออกแบบที่หลากหลาย

แม้ว่าเทคโนโลยีภาพสามมิติ ในด้านการออกแบบงานสถาปัตยกรรมจะล้ำหน้าไปไกล (แบบแทบจะไม่มีข้อจำกัด) ทำให้การสร้างสรรค์รูปทรงที่ล้ำสมัย เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับสถาปนิกในยุคนี้ แต่ข้อจำกัดสำหรับงานก่อสร้างและการใช้วัสดุนั้นยังคงมีอยู่ และเป็นบทบาทสำคัญในการกำหนดรูปแบบและหน้าที่ของโครงสร้างในงานสถาปัตยกรรม ความยืดหยุ่นของวัสดุ AHP ซึ่งเป็นอลูมิเนียมคุณภาพสูง จึงถูกนำไปใช้ในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมต่างๆ และกำลังเดินหน้าขับเคลื่อน ในการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของเมืองและการก่อสร้างในสมัยใหม่

ซึ่งรูปแบบหนึ่งที่ยังคงได้รับความนิยม และเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานภายในอาคาร ก็คือการออกแบบในลักษณะ Double Skin Façade ที่ต้องพึ่งพาคุณสมบัติของวัสดุห่อหุ้ม (Cladding) ซึ่งถือเป็นหน้าตาของอาคารในมุมมองของความสวยงาม และยังต้องมีความทนทานต่อสภาพอากาศ เสมือนเป็นผืนผ้าใบที่ห่อหุ้มอาคารไว้ภายใต้แนวคิดของความสร้างสรรค์ ด้วยน้ำหนักที่เบากว่าของวัสดุ AHP ทำให้สามารถออกแบบรูปทรงที่มีความทันสมัยและซับซ้อนได้ดี สามารถดัดโค้งด้วยพื้นผิวและสีที่หลากหลาย หรือการสร้างจุดสนใจทางสายตาให้กับส่วนหน้าของอาคาร ด้วยโครงสร้างแบบครีบขนาดใหญ่ (Mega Fin Structure) ซึ่งนอกจากความสวยงามของครีบอลูมิเนียมแล้ว การจังวางครีบในตำแหน่งที่เหมาะสม ยังสามารถช่วยบดบังและควบคุมปริมาณแสงแดดที่เข้าสู่พื้นที่ภายในอาคารได้ เพื่อลดการใช้พลังงานภายในอาคาร เป็นการออกแบบอาคารที่ยั่งยืนและประหยัดพลังงานได้มากขึ้น

Mega Fin Structure
Mega Fin Structure

หรือรูปแบบของเปลือกอาคาร ที่ใช้การเชื่อมต่อกันด้วยเส้นสายแบบมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว (Link Form Façade) ช่วยกระตุ้นลักษณะของการเคลื่อนไหว และสร้างจุดดึงดูดทางสายตาได้ดี ซึ่งต้องใช้เทคนิคการก่อสร้างและวัสดุที่เหมาะสมกับสัดส่วนของอาคาร ชิ้นส่วนของ AHP ที่เชื่อมต่อกันช่วยกระจายน้ำหนักของผิวอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้โครงสร้างมีความยืดหยุ่นต่อแรงกระทำจากภายนอก ซึ่งส่งผลไปถึงการก่อสร้างที่เน้นเป็นแบบโมดูลาร์ เพื่อให้ชิ้นส่วนประกอบเข้าด้วยกันอย่างแม่นยำ ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เป็นทางเลือกที่เป็นประโยชน์สำหรับโครงการที่มีระยะเวลาจำกัด

หรือการนำวัสดุ AHP ไปใช้เป็นลักษณะของกันสาดด้านหน้าอาคาร (Cantilever Canopy) หรือทางเดินเชื่อมต่อระหว่างอาคาร (Free-Form Coverd Walk Way) ที่สามารถออกแบบแผ่นได้ใหญ่กว่าและช่วยลดทอนโครงสร้างได้ดีกว่า ความสมดุลระหว่างความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานภายนอกอาคาร สามารถออกแบบเป็นรูปทรงที่ตอบรับกับมุมมองของการใช้งาน ช่วยลดต้นทุนโดยรวมในการบำรุงรักษา และรับประกันรูปลักษณ์ที่สวยงามได้อยู่เสมอ

Link Form Facade
Cantilever Canopy

วัสดุ AHP ที่ผลิตในประเทศไทย

แนวโน้มในการอออกแบบโดยใช้วัสดุ AHP ยังคงมีการเติบโตมากขึ้น ตามการพัฒนาของเทคโนโลยีในการก่อสร้าง และแนวคิดของการเลือกใช้งานวัสดุที่มีความยั่งยืน ซึ่งทาง FAMELINE มีกระบวนการผลิตแผ่น AHP ที่ได้มาตรฐาน และได้ร้บการรับรองว่าเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand: MiT) โดยผ่านมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพของวัสดุทุกครั้งก่อนนำไปใช้งานจริง มีความหนาของแผ่นให้เลือกใช้งานตั้งแต่ 6-50 มิลลิเมตร และยาวสูงสุดได้ถึง 6 เมตร

ผ่านการรับรองมาตรฐานยุโรป EN 13501-1 มีคุณสมบัติไม่ติดไฟ (Non-combustible) ในระดับ Class A2 ที่มีการคายความร้อน ในอุณหภูมิการเผาไหม้ที่ต่ำกว่า และไฟจะดับทันทีหากไฟต้นเพลิงหมด มีความทนทานต่อการกัดกร่อนและทนต่อความชื้น มีระบบเคลือบสี PVDF ที่ได้การรับรองมาตรฐาน AAMA (American Architectural Manufacturers Association) จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผิววัสดุมีความทนทานต่อสภาพอากาศ สภาวะกรด-ด่าง และมลภาวะต่างๆ มีการรับประกันคุณภาพสีนาน 10 – 20 ปี (ขึ้นอยู่กับเฉดสีที่เลือกใช้) เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานกับอาคารขนาดใหญ่และอาคารสูงที่ต้องมีมาตรฐาน ยกระดับในด้านการออกแบบที่สื่อสารถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

This image depicts a modern architectural detail of a building featuring a roof edge lined with greenery, juxtaposed against a gray textured wall and a section of red paneling. The setting includes lush pine trees that enhance the building's connection to nature, emphasizing eco-friendly design principles. The integration of natural elements within urban architecture highlights a commitment to sustainable and healthy living environments, which is reinforced by the building's use of environmentally friendly materials and designs that promote well-being.
ARTICLE
วัสดุก่อสร้างเพื่อสุขภาพที่ดี กับอนาคตของการออกแบบอาคารที่อยู่อาศัย

การเลือกที่อยู่อาศัยที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ มาจากแนวคิดในการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งนอกเหนือไปจากผลลัพธ์ทางด้านความสวยงาม ความทนทาน และการใช้งานที่ตอบโจทย์แล้ว ยังต้องลดการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัย ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ก็คือการเลือกใช้วัสดุที่มีองค์ประกอบของความเป็นธรรมชาตินั่นเอง

This image features a close-up view of a modern building facade equipped with sun and ventilation louvers. The architectural design utilizes a series of metallic louver panels for solar shading and ventilation, enhancing energy efficiency. These adjustable panels are positioned above windows on a building painted in contrasting shades of dark grey and red, with a scenic background hinting at a waterfront location. This setup exemplifies a practical application of sustainable building technologies aimed at improving indoor environmental quality and reducing energy consumption.
ARTICLE
‘Sun and Ventilation Louver’ กับความสำคัญของระบบระบายอากาศในอาคาร

ภายใต้ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในการออกแบบอาคาร ‘ระบบการระบายอากาศ’ (Ventilation System) ถือเป็นระบบที่ผู้ออกแบบมักให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่มีผลต่อความสะดวกสบาย สุขภาพที่ดี และความยั่งยืนของสภาพแวดล้อมภายในอาคารเป็นอย่างมา

The image displays an interior scene featuring the 'Mega+ Ceiling' design, likely a product or project by FAMELINE. The ceiling exhibits clean lines with recessed lighting that casts a warm glow, complementing the cool tones of the ceiling panels. The modern design is further enhanced by the sleek glass wall on one side, adding depth and openness to the space. This setting is a fine example of how thoughtful interior design, using products like the 'Mega+ Ceiling,' can create an ambience that is both functional and aesthetically pleasing, contributing to the building's overall energy efficiency and architectural elegance.
ARTICLE
‘Mega+ Ceiling’ แผ่นฝ้าขนาดใหญ่ เพื่อการออกแบบภายในอาคารที่ยั่งยืน

‘การออกแบบภายในที่ยั่งยืน’ เป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่ภายในอาคาร ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร และเพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร ผ่านคุณสมัติของวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

This image appears to be a promotional or informational banner related to architecture or building materials. The banner shows a section of a modern structure with wooden elements and metal frames, likely part of a sun shading system. There's a contrasting play of light and shadows, showcasing the effectiveness of the sun shading in a building's design. The text, not fully visible in the image, suggests a focus on energy efficiency and flexible design in construction or architecture, possibly associated with a brand or product line named FAMELINE. The aesthetic of the image aligns with contemporary design trends emphasizing functionality and sustainability.
ARTICLE
ใช้พลังงานในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการออกแบบที่ยืดหยุ่นได้

สิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้ามในการออกแบบความสวยงามทางสถาปัตยกรรม นั่นก็คือการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และเป็นภาระค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ

Interior design of a modern building lobby featuring aluminum architectural elements for a sleek, sustainable design aesthetic, highlighted in a FAMELINE article about the innovative use of aluminum in interior design for eco-friendly and contemporary spaces.
ARTICLE
สัมผัสแห่งความทันสมัยและยั่งยืน ผ่านการใช้วัสดุอลูมิเนียมกับงานออกแบบภายใน

การเลือกวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบตกแต่งภายใน เป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างสรรค์พื้นที่ให้สวยงามและตอบสนองต่อประโยชน์ใช้สอย ซึ่งปัจจัยในด้านความทนทานมักเป็นตัวเลือกหนึ่งที่สำคัญ ควบคู่ไปกับจุดประสงค์ในการใช้งาน และความสวยงามแบบไม่ตกยุค

This image features a banner with a modern architectural design. The photograph shows a section of a building façade with a curved shape, overlaid with vertical metal slats that create a rhythmical pattern. The structure of the building appears to utilize 'Aluminium Honeycomb Panels,' as highlighted in large bold text across the image. This architectural solution is likely emphasized for its properties or as the subject of the article indicated in the banner. The image is monochromatic, giving it a sleek and professional appearance.
ARTICLE
‘Aluminium Honeycomb Panel’ วัสดุสำหรับการออกแบบพิเศษ ที่กำหนดความเป็นตัวตนได้มากกว่า

การเปลี่ยนแปลงในโลกของสถาปัตยกรรมยุคใหม่ มุ่งเน้นไปที่การบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้ผสมผสานกับรูปทรงที่แปลกใหม่ ตามการปรับตัวของสังคมวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นความท้าทายของสถาปนิกที่จะต้องมองหาทางเลือกใหม่ๆ ที่ทำให้การออกแบบมีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวมากขึ้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า