23.11_PHL_Real-Litewood_Nature-Aesthetic_Banner-01

ระแนงอลูมิเนียม ‘Litewood’ ความสวยงามแบบธรรมชาติ ที่อยู่คู่กับสถาปัตยกรรมมาอย่างยาวนาน

การออกแบบทางสถาปัตยกรรม ต้องแสวงหาความกลมกลืนระหว่างสุนทรียศาสตร์และการใช้งาน ซึ่งถือเป็นความท้าทายที่มีมาอย่างยาวนาน ในยุคแรกโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมยุคนั้นแสนเรียบง่าย ด้วยการใช้งานวัสดุจากธรรมชาติอย่างไม้ หิน หรือหนังสัตว์ ในการเป็นองค์ประกอบหลักของงานก่อสร้าง ต่อมาในช่วงการฟื้นฟูองค์ประกอบแบบคลาสสิก มีการเน้นความสมมาตร สัดส่วนที่เหมาะสมกับการใช้งาน และรายละเอียดการออกแบบอันหรูหรา จนมาถึงยุคใหม่ ที่เน้นอาคารรูปทรงเรขาคณิตแบบเรียบง่ายแต่มีความหลากหลาย ซึ่งมีการผสมผสานความยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และอิทธิพลทางวัฒนธรรม

ซึ่งจากรูปแบบของวัสดุธรรมชาติ ที่อยู่คู่กับสถาปัตยกรรมมาได้อย่างกลมกลืนอยู่เสมอ ก็คือวัสดุ “ไม้” ที่มีความโดดเด่นในการสร้างบรรยากาศ ที่ผสมผสานความงามตามธรรมชาติ ให้เข้ากับโครงสร้างและการใช้งานของอาคารได้อย่างลงตัว ตั้งแต่งานโครงสร้างไม้ในยุคโบราณ ไปจนถึงการตกแต่งด้วยระแนง ฝาผนัง บันได หรือหลังคา ซึ่งทำให้วัสดุชนิดนี้มีความอเนกประสงค์ และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ต้องการเพิ่มบรรยากาศของความอบอุ่น ด้วยรูปลักษณ์และพื้นผิวแบบธรรมชาติ

วิวัฒนาการของวัสดุไม้ในสถาปัตยกรรม

การก่อสร้างและตกแต่งด้วยวัสดุไม้ ถูกนำมาใช้ในงานสถาปัตยกรรมมานานหลายศตวรรษ และมีความหลากหลายในการใช้งาน ตั้งแต่คานไม้เพื่อรองรับงานโครงสร้าง เปลือกอาคารที่ทำด้วยไม้ หรือใช้เป็นโครงสร้างเพื่อรองรับวัสดุหลังคามุงจาก กก หรือฟาง เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง เพิ่มความทนทานต่อสภาพอากาศ ต่อมาในช่วงยุคกลาง บ้านเรือนของชาวอเมริกัน มักใช้ระแนงไม้ในการก่อสร้างโรงนา เพิง และบ้านไร่แบบเรียบง่าย จนถึงในช่วงศตวรรษที่ 19 มีการใช้ระแนงไม้ในการฟื้นฟูอาคารในสไตล์วิกตอเรียนและกอทิก โดยเป็นการตกแต่งเพื่อเพิ่มรายละเอียดส่วนหน้าของอาคาร และช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างเดิมได้อีกด้วย

จนมาถึงช่วงสถาปัตยกรรมร่วมสมัยในปัจจุบัน การใช้ไม้เป็นโครงสร้างอาคารเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากมีวัสดุอื่นๆ ที่สามารถทดแทนหน้าที่ส่วนนี้ได้มีประสิทธิภาพมากกว่า การใช้งานวัสดุไม้จึงมีบทบาทสำคัญสำหรับการตกแต่ง เพื่อสร้างบรรยากาศของความอบอุ่นแบบธรรมชาติ เช่น พื้นไม้ ฝาผนัง ฝ้าชายคา หรือนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของเฟอร์นิเจอร์ และรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งโดยส่วนมากแล้วการออกแบบด้วย ‘ระแนงไม้’ จะเป็นรูปแบบที่พบเห็นได้มากที่สุด โดยมักใช้เป็นองค์ประกอบสำหรับการตกแต่งเปลือกอาคาร ม่านบังแดด กันสาดทางเดิน งานตกแต่งฝ้าเพดาน หรือใช้เพื่อแบ่งกั้นพื้นที่ภายใน เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวแต่ก็ดึงดูดทางสายตาได้ดี ด้วยรายละเอียดของพื้นผิวที่ดูมีเสน่ห์ เพิ่มคุณลักษณะที่ส่งเสริมความยั่งยืนของสถาปัตยกรรมในยุคปัจจุบัน

ทำไมสถาปนิกนิยมใช้งานระแนงไม้ ?

สถาปนิกมักนำระแนงไม้มาใช้ในการออกแบบด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป แต่ด้วยเหตุผลหลักๆ แล้ว ก็คงหนีไม่พ้นความสวยงามแบบเป็นธรรมชาติ ด้วยลวดลายและพื้นผิวของไม้ที่ยากต่อการคาดเดา ทำให้เป็นเสน่ห์ที่ช่วยสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นให้กับงานสถาปัตยกรรม ซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานทั้งภายนอกและภายใน โดยทำให้พื้นที่ดูมีมิติมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น การตกแต่งฝ้าเพดานภายในด้วยระแนงไม้ ช่วยเพิ่มมุมมองด้านความลึกให้กับพื้นผิวของฝ้าเพดาน เพื่อสร้างความน่าสนใจทางสายตาของพื้นที่ภายใน หรือหากเป็นพื้นที่ภายนอก ระแนงไม้มักทำหน้าที่เป็นฉากกั้นสำหรับบังแดด เพื่อช่วยควบคุมปริมาณแสงแดดที่เข้ามาในพื้นที่ภายในอาคาร ช่วยลดแสงสะท้อนและความร้อนในอาคาร และด้วยระยะห่างที่สามารถปรับได้ตามสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้ระแนงไม้ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัว ในขณะที่ยังปล่อยให้อากาศ และแสงส่องผ่านได้ด้วยจังหวะที่สวยงาม

ระแนงไม้ยังสามารถทำให้เกิดการระบายอากาศตามธรรมชาติได้ ด้วยช่องว่างระหว่างแผ่นระแนง ที่ส่งเสริมให้อากาศเกิดการไหลเวียน ทำให้มีการปรับสมดุลของอุณหภูมิในพื้นที่นั้นได้ดี เป็นทางเลือกหนึ่งในการช่วยลดการใช้พลังงานภายในอาคาร และปกป้องวัสดุผนังหลักของอาคาร หรือออกแบบระแนงให้ปกปิดองค์ประกอบของโครงสร้าง อย่างเครื่องจักร สายไฟ หรือท่อประปา ทำให้พื้นที่ดูเรียบร้อยสะอาดตา ซึ่งรูปแบบของพื้นผิวและสีสันของระแนงไม้ ก็มีให้เลือกใช้งานหลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการออกแบบ ทั้งงานสร้างใหม่หรืองานปรับปรุงต่อเติม เพื่อความเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม หรือการรักษารูปแบบของอาคารเดิมที่เสื่อมโทรมลงไป

23.11_PHL_Real-Litewood_Nature-Aesthetic_Banner-01

วัสดุทดแทนที่มีคุณสมบัติเหนือกว่า

แม้ว่าในเชิงความสวยงามแล้ว การออกแบบด้วยลวดลายของไม้ จะสามารถผสมผสานกับวัสดุอื่นๆ ได้อย่างหลากหลายทั้ง เหล็ก คอนกรีต หิน หรือกระจก แต่ในด้านการใช้งานและการดูแลรักษา การเลือกใช้งานไม้จริง ก็มีผลกระทบบางอย่างที่อาจเกิดปัญหากับผู้ใช้งานได้ เช่น มีปัญหาเรื่องการทนทานต่อความชื้น ที่อาจทำให้เกิดการบิดเบี้ยวและเน่าเปื่อยได้ ปัญหาเรื่องการลุกลามหากเกิดไฟไหม้ ปัญหาเรื่องสัตว์รบกวน เช่น ปลวก มดช่างไม้ และแมลงด้วงเจาะไม้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก หากไม่ได้รับการควบคุมอย่างเร่งด่วน ทำให้โครงสร้างที่ทำด้วยไม้จริง ต้องมีการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม เนื่องจากมีอายุการใช้งานที่จำกัดเมื่อเทียบกับวัสดุอย่างเหล็กหรือคอนกรีต จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง

ทำให้ในปัจจุบัน มีวัสดุที่ใช้สำหรับทดแทนไม้เป็นจำนวนมาก ทั้งอลูมิเนียม ไฟเบอร์ซีเมนต์ ไวนิล หรือ WPC (Wood Plastic Composite) ซึ่งในพื้นที่ของระแนงตกแต่งก็มักเลือกใช้เป็นวัสดุที่มีความหลากหลาย อย่างระแนงอลูมิเนียม รุ่น Litewood จาก FAMELINE ที่มีลวดลายสวยงามเสมือนไม้จริง มีคุณสมบัติของอลูมิเนียมที่มีความแข็งแรงทนทานทุกสภาพอากาศ มีน้ำหนักเบา ช่วยลดภาระโครงสร้างได้ดี ไม่ลามไฟ มีอายุการใช้งานยาวนาน ผ่านการเคลือบสีแบบพิเศษ ทำให้สีไม่ซีดจาง ใช้งานได้อย่างยาวนานถึง 20 ปี ติดตั้งด้วยระบบ Snap-Lock โดยไม่ต้องใช้สกรู ด้วยอุปกรณ์ติดตั้งที่ได้มาตรฐาน ทำให้สามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็ว หรือหากต้องติดตั้งในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อแรงลม ก็สามารถเสริมความปลอดภัยด้วยการยิงสกรูเพิ่มไปบนตัวแผ่นได้

มาพร้อมขนาดหน้ากว้างแผ่นที่ 12, 25, 50 และ 100 มิลลิเมตร สามารถติดตั้งแบบคละสีและคละไซส์ได้ในขาจับเดียว (Multi-Panel) เพื่อตอบโจทย์ในการสร้างสรรค์งานออกแบบระแนงที่ไม่ซ้ำใคร เพิ่มมิติที่ตื้นลึกให้กับพื้นที่ภายในให้ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถใช้กับงานตกแต่งบริเวณเปลือกอาคาร (Façade) ติดตั้งเป็นระแนงบังแดด ระแนงหลังคากันสาด ระแนงตกแต่งผนัง หรือระแนงตกแต่งฝ้าเพดาน เพื่อบดบังงานระบบด้านบน ด้วยบรรยากาศที่ผ่อนคลายแบบเป็นธรรมชาติ ส่งเสริมแนวคิดของวัสดุที่มีความยั่งยืน และเป็นมิตรกับธรรมชาติอย่างแท้จริง


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

This image depicts a modern architectural detail of a building featuring a roof edge lined with greenery, juxtaposed against a gray textured wall and a section of red paneling. The setting includes lush pine trees that enhance the building's connection to nature, emphasizing eco-friendly design principles. The integration of natural elements within urban architecture highlights a commitment to sustainable and healthy living environments, which is reinforced by the building's use of environmentally friendly materials and designs that promote well-being.
ARTICLE
วัสดุก่อสร้างเพื่อสุขภาพที่ดี กับอนาคตของการออกแบบอาคารที่อยู่อาศัย

การเลือกที่อยู่อาศัยที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ มาจากแนวคิดในการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งนอกเหนือไปจากผลลัพธ์ทางด้านความสวยงาม ความทนทาน และการใช้งานที่ตอบโจทย์แล้ว ยังต้องลดการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัย ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ก็คือการเลือกใช้วัสดุที่มีองค์ประกอบของความเป็นธรรมชาตินั่นเอง

This image features a close-up view of a modern building facade equipped with sun and ventilation louvers. The architectural design utilizes a series of metallic louver panels for solar shading and ventilation, enhancing energy efficiency. These adjustable panels are positioned above windows on a building painted in contrasting shades of dark grey and red, with a scenic background hinting at a waterfront location. This setup exemplifies a practical application of sustainable building technologies aimed at improving indoor environmental quality and reducing energy consumption.
ARTICLE
‘Sun and Ventilation Louver’ กับความสำคัญของระบบระบายอากาศในอาคาร

ภายใต้ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในการออกแบบอาคาร ‘ระบบการระบายอากาศ’ (Ventilation System) ถือเป็นระบบที่ผู้ออกแบบมักให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ที่มีผลต่อความสะดวกสบาย สุขภาพที่ดี และความยั่งยืนของสภาพแวดล้อมภายในอาคารเป็นอย่างมา

The image displays an interior scene featuring the 'Mega+ Ceiling' design, likely a product or project by FAMELINE. The ceiling exhibits clean lines with recessed lighting that casts a warm glow, complementing the cool tones of the ceiling panels. The modern design is further enhanced by the sleek glass wall on one side, adding depth and openness to the space. This setting is a fine example of how thoughtful interior design, using products like the 'Mega+ Ceiling,' can create an ambience that is both functional and aesthetically pleasing, contributing to the building's overall energy efficiency and architectural elegance.
ARTICLE
‘Mega+ Ceiling’ แผ่นฝ้าขนาดใหญ่ เพื่อการออกแบบภายในอาคารที่ยั่งยืน

‘การออกแบบภายในที่ยั่งยืน’ เป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่ภายในอาคาร ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร และเพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ใช้งานอาคาร ผ่านคุณสมัติของวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

This image appears to be a promotional or informational banner related to architecture or building materials. The banner shows a section of a modern structure with wooden elements and metal frames, likely part of a sun shading system. There's a contrasting play of light and shadows, showcasing the effectiveness of the sun shading in a building's design. The text, not fully visible in the image, suggests a focus on energy efficiency and flexible design in construction or architecture, possibly associated with a brand or product line named FAMELINE. The aesthetic of the image aligns with contemporary design trends emphasizing functionality and sustainability.
ARTICLE
ใช้พลังงานในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการออกแบบที่ยืดหยุ่นได้

สิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้ามในการออกแบบความสวยงามทางสถาปัตยกรรม นั่นก็คือการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และเป็นภาระค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ

Interior design of a modern building lobby featuring aluminum architectural elements for a sleek, sustainable design aesthetic, highlighted in a FAMELINE article about the innovative use of aluminum in interior design for eco-friendly and contemporary spaces.
ARTICLE
สัมผัสแห่งความทันสมัยและยั่งยืน ผ่านการใช้วัสดุอลูมิเนียมกับงานออกแบบภายใน

การเลือกวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบตกแต่งภายใน เป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างสรรค์พื้นที่ให้สวยงามและตอบสนองต่อประโยชน์ใช้สอย ซึ่งปัจจัยในด้านความทนทานมักเป็นตัวเลือกหนึ่งที่สำคัญ ควบคู่ไปกับจุดประสงค์ในการใช้งาน และความสวยงามแบบไม่ตกยุค

This image features a banner with a modern architectural design. The photograph shows a section of a building façade with a curved shape, overlaid with vertical metal slats that create a rhythmical pattern. The structure of the building appears to utilize 'Aluminium Honeycomb Panels,' as highlighted in large bold text across the image. This architectural solution is likely emphasized for its properties or as the subject of the article indicated in the banner. The image is monochromatic, giving it a sleek and professional appearance.
ARTICLE
‘Aluminium Honeycomb Panel’ วัสดุสำหรับการออกแบบพิเศษ ที่กำหนดความเป็นตัวตนได้มากกว่า

การเปลี่ยนแปลงในโลกของสถาปัตยกรรมยุคใหม่ มุ่งเน้นไปที่การบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้ผสมผสานกับรูปทรงที่แปลกใหม่ ตามการปรับตัวของสังคมวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นความท้าทายของสถาปนิกที่จะต้องมองหาทางเลือกใหม่ๆ ที่ทำให้การออกแบบมีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวมากขึ้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า