‘Façade Trends’ ข้ามขีดจำกัดเปลือกอาคารด้วยวัสดุอลูมิเนียม

การข้ามขีดจำกัดของสถาปัตยกรรมในยุคใหม่ มักแสดงออกผ่านพื้นที่ของเปลือกอาคาร ที่สามารถสร้างสรรค์แนวคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ซึ่งในศตวรรษที่ 21 เราได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในด้านหลักการออกแบบภายนอกอาคาร ที่กำลังหลุดพ้นจากบรรทัดฐานเดิม มาสู่การแกะสลักโครงสร้าง ที่ไม่เพียงแต่ใช้งานได้จริงเท่านั้นแต่ยังโดดเด่นในด้านความสวยงาม และที่สำคัญคือสามารถก่อสร้างได้จริงด้วยเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน ผสมผสานกับแนวคิดของการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก่อสร้างอาคารสีเขียว และเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่กลมกลืนระหว่างโครงสร้างอาคารและบริบทโดยรอบ

ส่วนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ก็มีส่วนช่วยในการผลักดันรูปแบบที่แปลกใหม่ของเปลือกอาคาร ให้กลายเป็นองค์ประกอบที่ยืดหยุ่นได้มากขึ้น เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานภายใน เพิ่มความมีชีวิตชีวาและความสดใหม่ให้กับเมือง โดยที่ความสวยงามและความสามารถทางเทคโนโลยี ได้รวมตัวกันเพื่อกำหนดนิยามใหม่ให้กับการออกแบบทางสถาปัตยกรรม

ข้อจำกัดและปัญหาจากวัสดุฟาซาด

การออกแบบเปลือกอาคารนั้นสร้างประโยชน์ได้หลายประการ ทั้งการเป็นเกราะป้องกันพื้นที่ภายในจากลม ฝน แดด และสภาพอากาศอื่นๆ รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานอาคาร อย่างแรงกระแทกและอัคคีภัย การเป็นฉนวนที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิของอาคาร ช่วยเพิ่มแสงธรรมชาติที่ส่องเข้ามายังพื้นที่ภายใน เพิ่มการระบายอากาศตามธรรมชาติ เป็นฉนวนกันเสียงรบกวนจากภายนอก  สร้างความสวยงามที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของธุรกิจ สถาบัน หรือชุมชน สร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่น และมีส่วนช่วยในการจดจำ

ซึ่งวัสดุที่นิยมใช้งานเป็นเปลือกอาคารมาอย่างยาวนาน ก็คงหนีไม่พ้นวัสดุธรรมชาติอย่างหิน ดิน ไม้ หรือปูน ในช่วงยุคแรกวัสดุกลุ่มนี้ตอบโจทย์ทางด้านความสวยงาม และการสร้างภาพลักษณ์ที่สะท้อนถึงอารยธรรมในแต่ละยุคสมัยได้อย่างชัดเจน แต่ในยุคปัจจุบันก็มีข้อจำกัดบางอย่าง ที่ทำให้วัสดุกลุ่มนี้อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดเสมอไป เช่น ปัจจัยเรื่องการเน่าเปื่อย แมลงรบกวน และการติดไฟของไม้ การมีรูพรุนและความสามารถในการดูดซับคราบหรือมลพิษของหิน หรือขั้นตอนการก่อสร้างของดิน ที่ต้องใช้ระยะเวลาและงานฝีมือพอสมควร ทำให้มีทางเลือกของวัสดุใหม่ๆ อย่างอลูมิเนียม ไฟเบอร์ซีเมนต์ ไวนิล เหล็ก หรือกระจก ที่สามารถลดทอนข้อจำกัดบางอย่างลง และสร้างสรรค์จินตนาการของงานออกแบบได้มากกว่า

อย่างไรก็ตามหากเราเลือกใช้งานวัสดุฟาซาดที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน หรือสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ ก็อาจมีผลกระทบทั้งด้านความสวยงามและการใช้งานของโครงสร้าง อย่างเช่น การใช้พลังงานของอาคารที่มากขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือวัสดุปิดผิวผนังอาคารบางชนิด ที่อาจต้องมีการบำรุงรักษาที่มากกว่าวัสดุอื่นๆ อย่างวัสดุที่มีแนวโน้มที่จะเกิดคราบหรือผุกร่อน เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในระยะยาวของอาคาร หรือวัสดุที่ยากต่อการดัดแปลงหรือปรับเปลี่ยน สำหรับการปรับปรุงต่อเติมอาคารในอนาคต ซึ่งอาจต้องมีขั้นตอนการติดตั้งที่ยุ่งยากตามมา ทำให้ต้องเสียทั้งแรงงาน เวลา และต้นทุนที่สูงกว่าผลลัพธ์ที่ควรจะเป็น

ข้ามขีดจำกัดของฟาซาด ด้วยวัสดุอลูมิเนียม

คุณสมบัติอันโดดเด่นของอลูมิเนียม ก็คือน้ำหนักที่เบา แต่ยังคงความแข็งแกร่ง และทนทานต่อสภาพภูมิอากาศได้ดี ทำให้ไม่เป็นภาระต่อโครงสร้างหลักของอาคาร เป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่น มีรูปแบบ รูปทรง ขนาด และลวดลายให้เลือกใช้งานได้หลากหลาย มีคุณสมบัติการเป็นฉนวนกันความร้อนและเสียงได้ดี ไม่ลามไฟ ปลอดภัยต่อการใช้งาน มีกระบวนการขนส่ง ติดตั้ง รื้อถอน ที่สะดวกรวดเร็วกว่า ช่วยลดจำนวนแรงงานและการใช้พลังงานที่เกินจำเป็น ตอบสนองต่อแนวคิดของการก่อสร้างแบบยั่งยืน เป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100% ทำให้นักออกแบบในระดับโลก นิยมใช้งานวัสดุอลูมิเนียม เพื่อข้ามขีดจำกัดในด้านการออกแบบ

โดยในปัจจุบัน มีการนำวัสดุอลูมิเนียม ไปผสมผสานกับองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อเป็นแนวคิดใหม่ๆ ในการออกแบบฟาซาดอาคาร ตัวอย่างเช่น การนำวัสดุ Aluminium Composite Panel (ACP) ที่สามารถยืดหยุ่นไปกับรูปแบบฟาซาดได้หลากหลาย ไปออกแบบในลักษณะของ ‘Biophilic Facade’ โดยคำว่า ‘ไบโอฟีเลีย’ นั้นหมายถึงความสัมพันธ์โดยกำเนิดและความรักต่อธรรมชาติที่มนุษย์ครอบครอง เป็นหลักการออกแบบทางชีวภาพ ที่พยายามผสมผสานองค์ประกอบทางธรรมชาติ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมเพื่อเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดี ประสิทธิภาพการทำงาน และคุณภาพของชีวิตโดยรวม โดยจะแสดงออกผ่านต้นไม้สีเขียว หิน น้ำ หรือช่องเปิด ที่เป็นตัวกำหนดบรรยากาศของธรรมชาติ

หรือการนำวัสดุ Aluminium Honeycomb Panel (AHP) ไปดัดแปลงเพื่อใช้งานกับด้านหน้าอาคารแบบพาราเมตริก หรือ ‘Parametric Facades’ หมายถึงฟาซาดอาคารที่ได้รับการออกแบบแบบพาราเมตริก ผ่านการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับการใช้อัลกอริธึมและพารามิเตอร์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างและจัดการรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่มีความสลับซับซ้อน ให้ตอบรับกับสภาพแวดล้อม การเปิดรับแสงแดด หรือความชอบด้านสุนทรียศาสตร์

หรือการออกแบบอาคารอัจฉริยะ ที่ต้องใช้แนวคิดแบบ ‘Smart Façade’ หรือ ‘Kinetic Facades’ (ฟาซาดที่มีการเคลื่อนไหวแบบจลนศาสตร์) เพื่อสร้างมิติของผิวอาคารที่ดึงดูดทางสายตา ทำให้เปลือกอาคารสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทั้งวัน เกิดรูปลักษณ์ภายนอกที่ดูมีชีวิตชีวา เป็นอาคารที่ผสานเทคโนโลยีและระบบขั้นสูง เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมแบบไดนามิก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ความสะดวกสบาย และประสิทธิภาพโดยรวมของอาคาร ทำให้ผู้คนได้รับประโยชน์จากรูปแบบการอยู่อาศัยใหม่ๆ

อย่างการเลือกใช้งานแผงบานเกล็ดอลูมิเนียม แบบเปิด-ปิดอัตโนมัติ รูปทรงปีกเครื่องบิน รุ่น AF-Moveable จากแบรนด์ FAMELINE ที่ผลิตจากอลูมิเนียมอัลลอยด์ชนิดฉีดขึ้นรูป (Extruded Aluminium) ที่มีมอเตอร์ทำหน้าที่เป็นตัวบังคับตัวแผ่นให้สามารถเปิด-ปิดตัวแผงได้แบบอัตโนมัติ ผ่าน Mobile Application ทำให้สามารถควบคุมปริมาณแสงแดดที่จะเข้าสู่ตัวอาคารได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการใช้เทคโนโลยีในลักษณะนี้ ยังตอบสนองต่อแนวคิดแบบ Zero-Carbon ซึ่งเป็นการออกแบบโดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดหรือชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอน ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุการก่อสร้าง การดำเนินงาน และการบำรุงรักษาให้เหลือน้อยที่สุด จนถึงคำว่า “คาร์บอนเป็นศูนย์” ซึ่งทำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็สะท้อนผ่านการเลือกใช้งานวัสดุอลูมิเนียมนั่นเอง


บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า